ปลูกมะละกอ
กระแสรักสุขภาพยังคงมาแรงอย่างต่อเนื่อง หากเกษตรกรท่านใดอยากจะสร้างรายได้และช่องทางการตลาดเพิ่ม การทำเกษตรอินทรีย์ หรือเกษตรปลอดสารพิษ ถือเป็นเรื่องที่ตอบโจทย์ เพราะไม่เพียงแต่ดีต่อสุขภาพของตัวเอง แต่ยังดีต่อสุขภาพของผู้บริโภค และที่สำคัญคือ สินค้าที่เป็นเกษตรอินทรีย์จะขายได้ราคาดี และเป็นที่ต้องการของตลาด สามารถกำหนดราคาขายได้เอง ซึ่งการเกษตรที่ใช้สารเคมีไม่สามารถทำได้ โดยครั้งนี้จะพาทุกท่านมาทำปุ๋ยอินทรีย์ไว้ใช้เองสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกมะละกอฮอลแลนด์ เป็นสูตรของ คุณสำราญ แคยิหวา เกษตรกรจังหวัดสตูล เกษตรกรตัวอย่าง ปลูกมะละกอฮอลแลนด์อินทรีย์ ส่งขายกลุ่มคนรักสุขภาพ ผลผลิตมีเท่าไหร่ก็ไม่พอขาย ด้วยเคล็ดลับน้ำหมักจากมะละกอที่เสียหายจากการโดนแมลงกัดกิน คุณสำราญ บอกว่า สาเหตุที่ทำให้ผลผลิตดก เก็บขายได้ทุก 4 วัน ส่วนหนึ่งมาจากการใช้ปุ๋ยน้ำหมักที่ทำเอง ส่วนผสมมีดังนี้ 1. มะละกอที่ช้ำเสียหายจากการโดนแมลงกัดกิน 20 กิโลกรัม 2. พด.2 ที่ขอจากกรมพัฒนาที่ดิน 1 ห่อ 3. กากน้ำตาล 5 ลิตร 4. น้ำเปล่า ใส่ไม่มาก ปุ๋ยหมักต้องมีความข้น วิธีทำ ผสมส่วนผสมทั้งหมดเข้าด้วยกัน ใส่ถังหมักปิดฝา หมักทิ้งไว้ 45 วัน น้ำหมั
เชื่อว่าหลายคนที่มีโอกาสเดินเลือกซื้อสินค้าเกษตรในร้านโครงการหลวง อาจจะเคยเห็นมะละกอผลเล็ก ขนาดอ้วนๆ ป้อมๆ วางขายอยู่บนชั้นวางสินค้า มะละกอลูกผสมพันธุ์ดีนี้ เรียกว่า “มะละกอปากช่อง 2” ซึ่งโครงการหลวงได้ส่งเสริมให้เกษตรกรที่เป็นสมาชิกได้ปลูกในเชิงการค้ามานานหลายปีแล้ว เพราะมะละกอพันธุ์นี้ปลูกดูแลง่าย ค่อนข้างทนต่อโรคใบจุดวงแหวน ที่สำคัญ ให้ผลผลิตสูงและมีรสชาติอร่อยถูกใจผู้บริโภคอีกต่างหาก สายพันธุ์มะละกอโดยทั่วไป หากไม่มีการรักษาสายพันธุ์ที่ดี มักมีการผสมข้ามพันธุ์ ทำให้เกิดปัญหาการกลายพันธุ์ได้ แต่มะละกอปากช่อง 2 ทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ใช้เวลาเกือบ 10 ปี ในการวิจัยปรับปรุงพันธุ์มะละกอชนิดนี้ ก่อนแนะนำเข้าสู่ตลาดเมื่อ 10 กว่าปีก่อน จนถึงทุกวันนี้ มะละกอลูกผสมปากช่อง 2 ยังคงให้ผลผลิตที่ดีเป็นที่นิยมปลูกของเกษตรกรและผู้บริโภค นักวิจัย มก. พัฒนาสายพันธุ์มะละกอลูกผสม มะละกอเป็นไม้ผลที่นิยมรับประทานผลสุกอย่างแพร่หลายทั่วโลก แต่ในต่างประเทศนิยมรับประทานมะละกอที่มีผลขนาดเล็ก มีน้ำหนักต่อผลไม่เกิน 600 กรัม ซึ่งแหล่งผลิตและส่งออกมะละกอรายใหญ่ของโลก ได้แก่ เม็กซิโก มาเลเซีย บราซิล และอ
“บ้าหรือเปล่า ทิ้งเงินเดือนหลักแสนมาทำเกษตร” คำพูดเหล่านี้มักจะได้ยินติดหูเป็นประจำ ถ้าหากผู้ใดมีความคิดไม่ตรงกับคนหมู่มาก ก็จะต้องถูกถามก่อนเลยว่า บ้าหรือเปล่า ซึ่งจริงๆ แล้วเงินเดือนหลักแสนอาจจะไม่ได้ตอบโจทย์ชีวิตของใครหลายคน เพราะเป้าหมายชีวิตของคนเราไม่เหมือนกัน บางคนทำงานเพื่อเงิน บางคนทำงานเพื่อความสุข หรือบางคนมองทรัพย์สินเงินทองเป็นเรื่องรอง ครอบครัวต้องมาก่อน ก็สุดแล้วแต่เป้าหมายของแต่ละคน เพียงแค่ในทุกวันได้ทำงานที่รักและมีความสุขก็พอแล้ว คุณอาคม มากทรัพย์ ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์อุทัยธานี อยู่บ้านเลขที่ 78 หมู่ที่ 4 ตำบลหูช้าง อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี อดีตนายช่างกลเรือ ทิ้งเงินเดือนเรือนแสน เล่าให้ฟังว่า หลังจากลาออกจากงานประจำก็เบนเข็มชีวิตมาเป็นเกษตรกร และก็มีหลายคนสงสัยว่ามีวิธีการปรับตัวอย่างไรกับความคิดและคำพูดเสียดสีจากชาวบ้าน ซึ่งหนทางไม่ง่ายเลย ในหัวจะมีความคิดตลอดว่าตนเองคิดถูกแล้วใช่ไหมที่เลือกทางนี้ จากที่เคยทำงานได้เงินเดือนดีๆ มีลูกน้องคอยช่วยอยู่ข้างๆ ไปไหนมาไหนมีผู้คนต้อนรับนับหน้าถือตา กลับต้องมาทำงานหลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน แต่ก็กลับมาคิดว่าไม่มีใครคว้าของทั้งสอ
คุณสหรัฐและคุณเจษฏาภรณ์ เกษสกุล ปัจจุบัน อยู่บ้านเลขที่ 57/1 หมู่3 ตำบลบางกระจะ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี แต่เดิมคุณสหรัฐ ทำงานอยู่ที่กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง จังหวัดจันทบุรี ต่อมาได้ลาออก มาทำอาชีพค้าขายยางพารา จากนั้นเปลี่ยนมาเป็นค้าขายมะละกอ โดยซื้อผลผลิตจากเกษตรกรไปจำหน่ายที่ตลาดสี่มุมเมืองและตลาดไท ระหว่างที่ซื้อมะละกอไปขายนั้น คุณสหรัฐพบว่า เกษตรกรมักประสบปัญหามีโรคระบาดในแปลง ผลผลิตมีน้อย บางช่วงของไม่พอส่ง เพื่อให้มีผลผลิตส่งอย่างต่อเนื่อง เขาจึงลงมือปลูกมะละกอเองส่วนหนึ่ง โดยการเช่าที่ปลูก เมื่อปลูกไปได้สักพัก ราว 2-3 ปี ก็ย้ายที่ปลูก ทั้งนี้เพื่อลดการระบาดของโรคและแมลงนั่นเอง ตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงปัจจุบัน ย้ายมาหลายแปลงแล้ว พื้นที่จะหมุนเวียนอยู่ระหว่างจันทบุรี ปราจีนบุรี และสระแก้ว พื้นที่ปลูก แปลงปลูกมะละกอของคุณสหรัฐ มีพื้นที่ระหว่าง 20-30 ไร่ สายพันธุ์มะละกอที่ปลูกคือพันธุ์”แขกดำหนองแหวน” เป็นพันธุ์ที่เก็บเป็นมะละกอดิบได้ แต่ทางคุณสหรัฐและภรรยา เก็บสุกอย่างเดียว เนื่องจากได้น้ำหนักและราคาเพิ่มขึ้น คุณสหรัฐและภรรยาแนะนำการปลูกว่า ใช้ระยะระหว่างต้น 2.5 คูณ 2.5 เมตร ปลูกไ