ปลูกมังคุด
วิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่มังคุดตำบลแสลง เกิดจากการรวมกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมังคุด จำนวน 53 ราย เมื่อปี 2561 มีพื้นที่ปลูกมังคุดรวม 663 ไร่ มีพื้นที่ปลูกมังคุดเฉลี่ย 13 ไร่ต่อครัวเรือน โดยมี นายเด่น หลิวอ๋ง เป็นประธานแปลงใหญ่ จากการดำเนินงานของกลุ่มในระยะที่ผ่านมาประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายการพัฒนาแปลงใหญ่ 5 ด้าน ได้แก่ 1. กลุ่มนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้บริหารจัดการภายในสวน ประหยัดเวลาและลดต้นทุนจากการจ้างแรงงาน รวมถึงผสมปุ๋ยใช้เองตามค่าวิเคราะห์ดิน สามารถลดต้นทุนการผลิตได้ร้อยละ 5 คือ 11,980 บาทต่อไร่ต่อปี จากเดิมที่มีต้นทุนเฉลี่ย 12,650 บาทต่อไร่ต่อปี 2. ทางกลุ่มได้นำองค์ความรู้และประสบการณ์มาบริหารจัดการน้ำอย่างเหมาะสมกับพื้นที่ปลูก สามารถเพิ่มผลผลิตได้ร้อยละ 6 คือ 478 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี จากเดิมที่มีผลผลิตเฉลี่ย 450 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี 3. ยกระดับคุณภาพสินค้า สมาชิกกลุ่มทุกคนผ่านการรับรองมาตรฐาน GAP และต่ออายุใบรับรองเพื่อเป็นมาตรฐานรับรองผลผลิตของแปลงใหญ่ยกระดับ โดยกลุ่มได้ให้ความสำคัญและปฏิบัติเพื่อรักษามาตรฐานผลผลิตตามความต้องการของตลาด 4. ด้านการตลาด กลุ่มเป็นผู้รวบรวมผลผลิตจากสมาชิกและเ
ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า มังคุด 1 ใน 10 ผลไม้ที่คณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (ฟรุ๊ตบอร์ด) สั่งให้เพิ่มศักยภาพเพื่อผลักดันส่งออก โดยตลาดหลักที่ไทยส่งออกมังคุดอันดับ 1 คือจีน มีสัดส่วน 94%ของการส่งออกทั้งหมด ปี 2567 คาดผลผลิตมังคุดจะมีประมาณ 281,000 ตัน เพิ่มขึ้นกว่าปีก่อนหน้า นายอนุสรณ์ เทียนศิริฤกษ์ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา กรมวิชาการเกษตร(กวก.) กล่าวว่า มังคุดส่วนใหญ่ปลูกในภาคใต้ มีพื้นที่ปลูกรวม 209,452 ไร่ ส่วนภาคตะวันออกและภาคกลาง มีพื้นที่ปลูกรวม 198,303 ไร่ ดินที่เหมาะสมมีเนื้อดินร่วนปนทราย ที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง มีความสูงจากระดับทะเลปานกลางไม่เกิน 650 เมตร ความลาดเอียงของพื้นที่ในระดับ 1-3 % แต่ไม่ควรเกิน 15% หน้าดินมีความลึกมากกว่า 50 เซนติเมตร ส่วนระดับน้ำใต้ดินลึกมากกว่า 1.5 เมตร ดินมีความสามารถในการระบายน้ำและอากาศดี ความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของดินประมาณ 5.5-6.5 ค่าการนำไฟฟ้าของดิน 0-2 เดซิซีเมนส์ต่อเมตร มีปริมาณอินทรียวัตถุสูง 3% ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์15-45 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ 50-100 มิลล
“ดวงพร เวชสิทธิ์ (คุณปุ้ย)” วัย 44 ปี นับเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ หรือ Young Smart Farmer (YSF) ที่เป็นความหวังของภาคเกษตรไทย ในฐานะกำลังหลักที่จะผลิตอาหารที่มีคุณภาพป้อนครัวไทยและครัวโลก อีกทั้งเป็นพลังขับเคลื่อนความมั่นคงด้านเศรษฐกิจไทยในอนาคต คุณปุ้ย เกิดและเติบโตในครอบครัวเกษตรกร ในพื้นที่อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี เธอเรียนจบปริญญาตรี สาขาการจัดการคอมพิวเตอร์ เคยทำ e-commerce ค้าขายในอีเบย์ เมื่อ 8 ปีที่แล้ว เธอยอมลาออกจากอาชีพมนุษย์เงินเดือน เพื่อกลับมาสานต่อกิจการ “สวนบุษรา” ซึ่งเป็นรายได้หลักของครอบครัว ในฐานะทายาท รุ่นที่ 3 แม้คุณปุ้ยไม่เคยทำการเกษตรมาก่อน แต่เธอพยายามเรียนรู้ฝึกฝนทักษะต่างๆ จากการขอความช่วยเหลือจากสำนักงานเกษตรจังหวัด และสมัครเข้าร่วมโครงการ Young Smart Farmer (YSF)ของกรมส่งเสริมการเกษตร เธอมีโอกาสรวมกลุ่มพูดคุยกับเกษตรกรรุ่นใหม่ๆ ช่วยกันวิเคราะห์วิธีการและหาแนวทางการพัฒนาร่วมกันอย่างต่อเนื่อง ทำให้เธอได้รับการคัดเลือกให้เป็น ประธานกลุ่ม young smart farmer จังหวัดจันทบุรี และเป็นประธานคณะกรรมการเครือข่าย YSF เขต 3 (ภาคตะวันออก) ได้รับการฝึกอบรมความรู้ด้านเกษตร
มนุษย์เงินเดือนส่วนใหญ่ เมื่ออายุครบ 60 ปี จะกลายเป็นพนักงานวัยเกษียณทันที หลายคนตัดสินใจหยุดพักผ่อน หลังจากทำงานหนักมาตลอดชีวิต แต่ผู้สูงอายุกลุ่มหนึ่ง ตัดสินใจใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ในเส้นทางอาชีพเป็น “เกษตรกร” วิธีนี้นอกจากใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์สูงสุดแล้ว การทำงานท่ามกลางธรรมชาติอันแสนบริสุทธิ์ ช่วยให้พวกเขามีสุขภาพแข็งแรงมากขึ้น สุขใจที่ได้บริโภคผักผลไม้ที่ปลูกด้วยมือตัวเอง ผลผลิตที่เหลือจากการบริโภคก็ขายสร้างรายได้เข้ากระเป๋าได้อีกทางหนึ่ง อาจารย์ธงเทพ ตันเจริญ เจ้าของสวน “ตันเจริญ” บ้านเลขที่ 3 หมู่ที่ 5 ตำบลโคกปี่ฆ้อง อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว 27000 โทร. 089-233-7586 เป็นหนึ่งในกลุ่มพนักงานวัยเกษียณที่มีความสุขในเส้นทางอาชีพเป็นเกษตรกรมานานกว่า 10 ปี เขาไม่ได้ทำเกษตรแบบเล่นๆ อาจารย์ธงเทพ มีความขยัน และตั้งใจจริงในการทำงานภาคเกษตร แม้เจอปัญหาอุปสรรคต่างๆ มากมายในช่วงที่ผ่านมา อาจารย์ก็สู้ไม่ถอย ใส่ใจเรียนรู้เทคโนโลยีการเกษตรใหม่ๆ อย่างไม่หยุดนิ่ง จนได้รับรางวัลชนะเลิศ สาขาอาชีพไร่นาสวนผสม จากการประกวดเกษตรกรดีเด่นระดับจังหวัด ประจำปี 2557 ของกรมส่งเสริมการเกษตร และ