ปลูกมันแกว
มันแกว เป็นพืชตระกูลถั่ว ไม่ชอบดินชื้นแฉะ เติบโตได้ดีในพื้นที่ดินเหนียวปนทราย ดินร่วนปนทราย ดินทราย ปัจจุบันพบมีการปลูกเกือบทั่วประเทศ มีพื้นที่ปลูกมากที่สุดในภาคกลาง ได้แก่ สระบุรี ชลบุรี สมุทรสาคร รองลงมาคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ มหาสารคาม ขอนแก่น หนองคาย นครพนม ส่วนภาคอื่นมีปลูกน้อย ปัจจุบัน มันแกว เป็นพืชเศรษฐกิจที่นิยมปลูกมากในแผ่นดินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเรียกมันแกวในภาษาอีสานว่า “มันเพา” พืชชนิดนี้เป็นไม้เถาเลื้อยพัน มีหัวใต้ดิน เป็นรากสะสมอาหาร ใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ เรียงสลับ ดอกช่อกระจะ ออกเดี่ยวๆ ที่ซอกใบ มีขนสีน้ำตาล กลีบดอกสีม่วงแกมน้ำเงิน รูปดอกถั่ว ผลเป็นฝัก รูปขอบขนาน แบน มีขน เมล็ดมี 4-9 เมล็ด ชาวอีสานนิยมปลูกมันแกวเป็นพืชเสริมรายได้หลังหมดฤดูทำนา เพราะใช้ระยะเวลาปลูกดูแลสั้นๆ เพียงแค่ 90 วัน ก็เก็บผลผลิตออกขายได้แล้ว กล่าวกันว่า เป็นมันแกวที่ให้รสชาติหวาน กรอบ อร่อยที่สุด คือ มันแกว ที่ปลูกในพื้นที่อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม เรียกกันติดปากว่า “มันแกวบรบือ” เนื่องจากเป็นมันแกวที่ปลูกได้จากอำเภอบรบือ ที่ผ่านมา กลุ่ม OTOP ของจังหวัดมหาสารคาม ได้แปรรูปมั
ย้อนไปในยุคเก่าก่อน ช่วงที่ตระเวนสอบเรียนต่อ และหางานทำ เดือนมีนาคม-เมษายน การเดินทางส่วนใหญ่มักได้นั่งรถแดง หมายถึงรถบัสสีแดง สีส้ม ไม่มีแอร์ อากาศร้อนอบอ้าว เหงื่อไหลไคลย้อย ดื่มน้ำเท่าไหร่ก็ไม่รู้จักอิ่มจักเต็ม แต่มีอยู่ช่วงหนึ่ง ผ่านอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม นอกจากข้าวเหนียวและไก่ย่าง ที่แม่ค้ามานำเสนอให้ซื้อริมหน้าต่างรถแล้ว ยังมีมันแกว ลองซื้อชิม ปรากฏว่า อิ่มท้อง แถมความหิวกระหายเบาบางลง เวลาผ่านไป พบว่า มันแกวบรบือยังมีขายอยู่ แต่เขานำมาขายตามแผง ริมถนนบ้านไผ่-บรบือ มีบางส่วนที่นำมาขายริมถนนขอนแก่น-นครราชสีมา ไม่ได้มีการบันทึกไว้ว่าใครคือคนแรกที่นำมันแกวเข้าไปปลูกในเขตบรบือ แต่คนเฒ่าคนแก่ ตำบลหนองสิม อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม บอกว่า มีการปลูกมันแกวมานานกว่า 40 ปีแล้ว เดิมทีเขาปลูกอยู่รอยต่อระหว่างอำเภอกุดรังกับอำเภอบรบือ แต่ทุกวันนี้ บรบือปลูกมากที่สุด รวมแล้วราว 2,500 ไร่ วิธีการปลูกมันแกวของชาวบ้านที่นี่ คล้ายกับการปลูกผัก คือยกร่อง แล้วนำเมล็ดมันแกว ปักหรือเหน็บลงไปที่ดิน ระหว่างแถว 15 เซนติเมตร ระหว่างต้น 5 เซนติเมตร พื้นที่ 1 ไร่ ใช้เมล็ดพันธุ์ 14 กิโลกรัม ราคากิโลกรัม
“มันแกว” เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของอำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม มานานกว่า 40 ปี สร้างอาชีพและรายได้ให้เกษตรกรชาวจังหวัดมหาสารคาม มากกว่าปีละ 30 ล้านบาท โดยแหล่งปลูกสำคัญอยู่ในพื้นที่อำเภอบรบือ และอำเภอกุดรัง ทั้งนี้ มันแกวบรบือได้รับการยกย่องว่าเป็นมันแกวคุณภาพดีที่สุดพันธุ์หนึ่งของเมืองไทย เนื่องจากมีรสชาติอร่อย หวานกรอบ เพราะปลูกในพื้นที่ดินร่วนปนทราย มันแกวหัวสดที่ปลูกในจังหวัดมหาสารคามมี รสชาติหวานกรอบกว่าแหล่งอื่นแล้ว เปลือกมันแกวยังมีสีขาวนวลเด่นสะดุดตาผู้ซื้ออีกต่างหาก ที่ผ่านมา สำนักงานเกษตรอำเภอบรบือ และอำเภอกุดรัง ตลอดจนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ร่วมกันสนับสนุนให้เกษตรกรร่วมปลูกมันแกว เพื่อคงเอกลักษณ์พืชเศรษฐกิจประจำท้องถิ่นไว้อย่างต่อเนื่อง เกษตรกรชาวมหาสารคามสนใจเข้าร่วมโครงการปลูกมันแกวกว่า 2,000 ไร่ โดยปีหนึ่งสามารถปลูกมันแกวได้ 3 รุ่นต่อปี รุ่นแรก ปลูกช่วงต้นฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน จะได้ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 10 ตัน รุ่น 2 ปลูกช่วงปลายฤดูฝน ระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคม จะได้ผลผลิต 5-6 ตันต่อไร่ และรุ่น 3 ปลูกช่วงฤดูแล้ง ระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ จะได้ผลผลิตเฉลี่ยไ
จากประสบการณ์ที่เขียนเรื่องราวการเกษตรมาสิบปีพบว่า คนที่ทำการเกษตรในปัจจุบัน ไม่ได้หมายถึงชาวไร่ชาวนาโดยอาชีพนะครับ แต่หมายถึงคนที่ทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือนหรืออาชีพอื่นแล้วหันกลับมาทำเกษตรในปัจจุบัน แต่กลายเป็นคนที่ไม่ได้เรียนด้านการเกษตรในระบบการศึกษา เช่น วิทยาลัยการเกษตรหรือมหาวิทยาลัยที่สอนวิชาเกษตรกรรมหรือวิชาที่เกี่ยวข้องมาทำอาชีพการเกษตรกรรม 9 ใน 10 คนทีเดียว ส่วนคนที่ร่ำเรียนมาทางการเกษตรไปไหนไม่รู้ ความรู้ทางด้านการเกษตรสามารถหาได้ง่ายมากในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ วารสาร หรือทางสื่อออนไลน์มีมากมาย และยิ่งเป็นคลิปภาพเคลื่อนไหวยิ่งชัดเจนกว่า แต่ความจริงเราไม่สามารถเลียนแบบตามที่เห็นได้ 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะเราเห็นเพียงด้านเดียว ปัจจัยต่างๆ ของแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน วิธีการทำงานของแต่ละคนก็เช่นกัน เราต้องการปลูกอะไรเพียงแค่คลิกก็ได้ความรู้เกี่ยวกับพืชที่ต้องการปลูกทันที ประเทศเราเหมาะกับการปลูกพืชมากชนิด บางทีแค่โยนเมล็ดไว้ก็ได้ผลผลิต ประกอบกับคนส่วนใหญ่มีพื้นฐานจากการเกษตรกรรม จึงไม่ยากที่จะปลูกพืช แต่เรื่องความรู้ด้านการตลาดเรากลับด้อย เพราะปลูกออกมาแล้วไม่รู้จะขายใคร ผู้
ว่าที่ร้อยตรีสันธาน แก้วสุวรรณ หรือ ครูเอ ข้าราชการหนุ่ม และเกษตรกรผู้ปลูกมันแกวในพื้นที่บ้านน้อยลำภู ตำบลขอนยูง อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี ที่ใช้ช่วงเวลาว่างของการทำงานประจำ ผันตัวเป็นเกษตรกรในการสานต่อธุรกิจของครอบครัว หลังครอบครัวประสบปัญหาขาดทุนจากมันสำปะหลังและอ้อยที่ปลูกไว้ ก่อนจะมองเห็นโอกาสและช่องทางการปลูกมันแกวจากพื้นที่ใกล้เคียงและชาวบ้านในหมู่บ้านเดียวกัน จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการทำธุรกิจการปลูกมันแกวส่งขาย ครูเอ เล่าว่า การปลูกมันแกว เกิดขึ้นเมื่อปี 2559 ในขณะนั้นทางครอบครัวปลูกมันสำปะหลังกับอ้อย แต่ต้องเจอกับปัญหาราคาขาดทุน จึงต้องหาทางออกที่จะประคับประคองให้ธุรกิจเดินหน้าและอยู่รอดได้ ก่อนจะเห็นโอกาสใหม่ๆ จากการปลูกมันแกวในพื้นที่อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเป็นพื้นที่ใกล้เคียงกับที่อยู่อาศัย จากนั้นจึงเริ่มศึกษาหาข้อมูลอย่างจริงจัง อีกทั้งชาวบ้านในหมู่บ้านเดียวกันนั้นปลูกมันแกวแบบระยะสั้นอยู่แล้ว ในเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม จนในปี 2560 หลังครูเอเรียนจบ จึงลงมือทดลองปลูกมาเรื่อยๆ และมองหาตลาดในการส่งออกผลผลิต จนสามารถกลายเป็นธุรกิจภายในครอบครัวมาจนถึงปัจจุบัน “หลัง