ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม
กรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ดำเนินการคัดเลือกเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เป็นประจำทุกปี เพื่อประกาศเกียรติคุณและเผยแพร่ผลงานให้ปรากฏต่อสาธารณะ โดยปีนี้ ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกคือ นายพินิจ แก้วพิมาย ซึ่งจะเข้ารับพระราชทานโล่รางวัลในงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญประจำปี พ.ศ. 2567 ในวันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ณ พลับพลาที่ประทับมณฑลพิธีท้องสนามหลวง สืบสานอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหมจากบรรพบุรุษชาวไทคอนสาร นายพินิจสนใจอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเพราะต้องการสืบทอดภูมิปัญญาคนไทคอนสาร และสืบทอดอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหมมาจากบรรพบุรุษ และมีแนวคิดว่าการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมทำให้ครอบครัวไม่ต้องไปทำงานที่อื่น และเป็นการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง นายพินิจช่วยมารดาเลี้ยงไหมตั้งแต่เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จนกระทั่งอายุ 20 ปี หลังแต่งงานก็หันมาปลูกหม่อนเลี้ยงไหม สาวไหม ทอผ้าเองมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยเป็นคนชอบงานลักษณะนี้ จึงหาวิธีการสาวไหมให้ได้เส้นไหมสวยที่มีขนาดสม่ำเสมอ เรียบ สะอาด มีสีสดใส เพื่อพัฒนาต่อยอดในการผลิตผ้าไหมที่มีคุณภาพ ผลิตผ้าไหมด้วยไหมพันธุ์ไทยพื้น
วันที่ 1 สิงหาคม 2567 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงเปิดงาน “ตรานกยูงพระราชทาน สืบสานตำนานไหมไทย” ครั้งที่ 19 ประจำปี 2567 โดยมีผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้บริหารกรมหม่อนไหม ข้าราชการและเจ้าหน้าที่กรมหม่อนไหม ส่วนราชการและเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเฝ้าฯ รับเสด็จ ณ ฮอลล์ 6-7 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย อธิบดีกรมหม่อนไหม เปิดเผยว่า กรมหม่อนไหมมีภารกิจเกี่ยวกับหม่อนไหมทั้งระบบ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ และมีเป้าหมายในการส่งเสริมอาชีพเกษตรกรด้านการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ตามพระราชปณิธานที่ทรงมุ่งมั่นสืบสานวัฒนธรรมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมให้คงอยู่กับปวงชนชาวไทย และเพื่อให้ผ้าไหมไทยได้รับการยอมรับในตลาดโลก สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชน
วันที่ 26 กรกฎาคม 2567 นายวัชรพงษ์ แก้วหอม รองอธิบดีกรมหม่อนไหม ร่วมเป็นเกียรติในงานโครงการผลักดันไหมอุตสาหกรรมรังเหลือง (พะเยาโมเดล) ภายใต้แนวคิด (ไหมเหลืองภาคเหนือ : ทางเลือกใหม่ รายได้ดี มีตลาดนำ) โดยมี ว่าที่ร้อยตรี กรกฎ ประเสริฐวงษ์ ปลัดจังหวัดพะเยา เป็นประธานในพิธี โดยมี นายพิชัย เชื้องาม ผู้อำนวยการสำนักงานหม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติ เขต 1 เป็นผู้กล่าวรายงาน พร้อมด้วย นางสาวลำแพน สารทึก ผู้อำนวยการสำนักบริหารกลาง ผู้อำนวยการศูนย์หม่อนไหมฯ เครือข่ายในพื้นที่ เขต 1 หัวหน้าส่วนราชการหรือผู้แทนในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภาคเอกชน ตลอดจนเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เข้าร่วม ณ บ้านภูเงิน ตำบลแม่ปืม อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา การจัดงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์อาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมให้แก่เกษตรกรหน่วยงานและผู้สนใจทั่วไปตลอดจนถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีด้านหม่อนไหม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้ตรงตามความต้องการของตลาด ตลอดจนเป็นช่องทางในการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพของเกษตรกร กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย การซื้อขายรังไหม โดยกิจกรรมภายในงานประกอบด้วย การซื้อขายรัง
“กลุ่มจุลไหมไทย” ดำเนินธุรกิจผลิตเส้นไหมเพื่อใช้สำหรับอุตสาหกรรมสิ่งทอครบวงจร พร้อมทั้งส่งเสริมอาชีพเกษตรกรปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและผลิตเส้นไหมคุณภาพภายในประเทศเพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศจนปัจจุบันขึ้นแท่นเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมเดียวกันของอาเซียน พร้อมทั้งยังมีกลุ่มธุรกิจสินค้าเกษตรโดยมุ่งส่งมอบคุณค่าจากธรรมชาติไปยังผู้บริโภค คุณจงสฤษดิ์ คุ้นวงศ์ กรรมการผู้จัดการ เปิดเผยถึงเส้นทางแห่งความสำเร็จว่า “กลุ่มจุลไหมไทย” เป็นธุรกิจครอบครัวที่ก่อตั้งโดย คุณปู่ “กำนันจุล คุ้นวงศ์” เมื่อ 85 ปีที่ผ่านมา โดยมีวิสัยทัศน์ที่ต้องการอยากทำธุรกิจการเกษตรเพื่อสร้างโอกาสให้กับเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์มีรายได้เพิ่มมากขึ้น พร้อมกับทำประโยชน์ให้กับสังคมและส่งต่อสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าโดยเริ่มจากการทำสวนปลูกส้มเขียวหวานที่ใหญ่ที่สุดในประเทศขณะนั้น จนแนวคิดดังกล่าวถูกส่งต่อมายังตนเองในฐานะทายาทธุรกิจรุ่นที่ 3 ได้นำไปเป็นพันธกิจขับเคลื่อนองค์กรปัจจุบัน ทั้งนี้ “กลุ่มจุลไหมไทย” มี 2 กลุ่มธุรกิจหลัก ดังนี้ กลุ่มธุรกิจสินค้าเกษตรที่เป็นธุรกิจดั้งเดิม กว่า 80 ปี ภายใต้แบรนด์ “ไร่กำนันจุล” กลุ่มธุรกิจไหม
ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมทอมือ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับว่าเป็นผ้าไหมทอมือคุณภาพดี มีเอกลักษณ์ภูมิปัญญา ช่วยส่งเสริมสินค้าชุมชน และจังหวัด โดยปัจจุบัน พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผ้าไหมของผู้บริโภค มักเลือกจากลวดลายและสีสันที่หลากหลาย ตรงกับความต้องการมากขึ้น ดังนั้น กลุ่มผู้ผลิตควรคำนึงถึงปัจจัยความต้องการของผู้บริโภค และเร่งพัฒนาให้สอดรับกับตลาด รองศาสตราจารย์สมบัติ ประจญศานต์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ และคณะ ได้ศึกษาวิจัยและดำเนินโครงการถ่ายทอดความรู้เทคนิคออกแบบโครงสีในผ้าไหมมัดหมี่ร่วมสมัยเพื่อเป็นสินค้าทางวัฒนธรรมสร้างสรรค์ จังหวัดบุรีรัมย์ จนเกิดเป็นเทคนิคที่นำไปสู่การปฏิบัติได้จริง ในหลายรูปแบบ โดยมีการอบรมถ่ายทอด พร้อมส่งเสริมให้เกิดการผลิตและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ให้แก่กลุ่มผู้ผลิตผ้าไหมมัดหมี่ในหมู่บ้านเขตชนบทของจังหวัดบุรีรัมย์ รวมกว่า 6 กลุ่ม อาทิ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านนาโพธิ์ และ กลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและทอผ้าไหม ตำบลถาวร อำเภอเฉลิมพระเกียรติ เป็นต้น เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความร่วมสมัยมากขึ้น
สวัสดีครับ ยินดีที่ได้พบกันผ่านคอลัมน์ “คิดใหญ่แบบรายย่อย” กับผม ธนากร เที่ยงน้อย อีกครั้ง ย้อนไปสมัยที่ผมยังเด็ก ย้ายตามคุณพ่อไปอยู่ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เวลาผมมีโอกาสได้ตามคุณพ่อออกไปตรวจงานตามชุมชนในชนบท เคยเห็นหลายบ้านหลายชุมชนที่ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมกันเป็นอาชีพหลายชุมชนในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตัดภาพมาเมื่อผมโตเป็นหนุ่มเรียนระดับปริญญาตรี เรื่องราวหรือข่าวคราวการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมดูซาไปจากข่าวสารต่างๆ ในภาพความทรงจำของผมรู้สึกว่าอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหมอาจจะไม่ใช่อาชีพส่งเสริมสำหรับเกษตรกรในประเทศไทยแล้ว แต่เมื่อไม่นานมานี้ ผมมีโอกาสได้คุยกับรุ่นน้องสมัยเรียนคนหนึ่ง ทำให้ได้รู้ว่าอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหมได้กลับมาเป็นอาชีพสร้างงานสร้างเงินให้กับเกษตรกรไทยอีกครั้ง จะเป็นอย่างไร จะน่าสนใจแค่ไหนตามผมไปพบกับผู้ประกอบการรายใหญ่ด้านหม่อนไหมของไทย ตามไปดูรายละเอียดกันครับ ทำความรู้จัก บริษัท จุลไหมไทย จำกัด บริษัท จุลไหมไทย จำกัด ตั้งอยู่ที่ 443 หมู่ที่ 3 ถนนสามัคคีชัย ตำบลวังชมภู อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นหนึ่งในงานด้านการเกษตรที่ กำนันจุล คุ้นวงศ์ ส่งเสริมให้เข้มแข็งขึ้น โดยเห็นว่าอาชีพการ
กรมหม่อนไหม ร่วมกับ บริษัท เอ็นทีจีเอส คอร์ปอเรชั่น จำกัด (NTGS) บริษัทชั้นนำผู้ผลิตแผ่นใยไหมและผลิตภัณฑ์ ด้วยการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมภูมิปัญญา และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและนวัตกรรม ขานรับนโยบายโมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG Model ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางชีวภาพไหมพันธุ์ไทย เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ที่ผ่านมา บริษัท NTGS ร่วมกับ กรมหม่อนไหม ดำเนินโครงการส่งเสริมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมในเขตพื้นที่ภาคเหนือ ภายใต้โครงการไทยนิยมยั่งยืนของรัฐบาล สร้างอาชีพให้กับเกษตรกรในพื้นที่ภาคเหนือ 600 ราย สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 10,000 บาท/เดือน แต่ปัจจุบัน ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อการส่งออกแผ่นใยไหม บริษัท NTGS จึงได้ปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ยุค New Normal โดยใช้นวัตกรรมในการผลิตหน้ากากอนามัยแผ่นใยไหม (Natural Medisilk Premium) ซึ่งมีคุณสมบัติระบายอากาศได้ดี และยังสามารถป้องกัน PM 2.5 และเชื้อโรคต่างๆ และได้รับสิทธิบัตรการออกแบบหน้ากากแผ่นใยไหม ปี 2564 ประเทศเกาหลี และอยู่ระหว่างขอสิทธิบัตรในประเทศไทย นอกจากนี้ บริษัทยังค้นคว้าวิจัยเพื่อ
โดยวัฒนธรรมของชาวไทยไม่ว่าภาคใด การทอเครื่องนุ่งห่มไว้ใช้ภายในครัวเรือน เป็นสิ่งที่แม่บ้านปฏิบัติสืบมา ไม่จำเป็นต้องควักกระเป๋าซื้อให้เสียเงิน ต่อมาความเจริญและการพัฒนารุกเข้าสู่ตัวเมือง อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน ชุมชนและครัวเรือน ทำให้การทอเครื่องนุ่งห่มซึ่งเป็นวัฒนธรรมการดำรงชีพในอดีต แปรเปลี่ยนเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่แต่ละภูมิภาคดำรงไว้เท่านั้น หรือหากจะยังหลงเหลืออยู่ก็ปรับปรุงกระบวนการเป็นเชิงพาณิชย์ไปเสียเกือบทั้งหมด มหาสารคาม ยังคงได้ชื่อว่าเป็นถิ่นผ้าไหมล้ำเลอค่า ตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น จึงขอหยิบยกฝีมือการทอผ้าไหมของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านห้วยทราย ตำบลนาเชือก อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม มาให้ชม เนื่องจากผ้าไหมของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรกลุ่มนี้ มีความประณีตงดงาม ถึงขึ้นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ระดับ 5 ดาว กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านห้วยทรายแห่งนี้ ไม่เฉพาะฝีมือการทอผ้าไหมที่เป็นเลิศ แต่ไหมที่นำมาทอ ยังได้จากตัวไหมที่เลี้ยงเองแต่ละครัวเรือนด้วย คุณบุญเที่ยง คำยอดแก้ว ประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านห้วยทราย เล่าให้ฟังว่า การรวมกลุ่มของแม่บ้านเกษตรกรบ้านห้วยทราย เกิดจากการว่างเว้นจากอาชีพป
วิสาหกิจชุมชน อําเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น วิสาหกิจชุมชนผ้าไหมมัดหมี่ บ้านหัวฝาย จัดตั้งเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2554 สมาชิกแรกตั้ง 40 คน สมาชิกปัจจุบัน 55 คน และสมาชิกสมทบ 85 คน ประธานกลุ่ม คุณสุภาณี ภูแล่นที่ ที่ทําการกลุ่ม เลขที่ 46 หมู่ที่ 3 ตําบลปอแดง อําเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น ผลงานดีเด่น ความคิดริเริ่ม เดิมเกษตรกรมีอาชีพทําการเกษตรหลากหลาย เช่น ทํานา ทําไร่ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและการทอผ้า มีรายได้น้อยและเจอวิกฤตภัยแล้ง เกษตรกรบางส่วนอพยพแรงงานย้ายออกจากบ้านเพื่อไปทํางานรับจ้างก่อสร้างที่กรุงเทพมหานคร และเกษตรกรต่างคนต่างทํา ยังไม่มีการรวมกลุ่มทํากิจกรรม ส่วนมากจะทําไว้ใช้ในครัวเรือนเท่านั้น ต่อมาได้มีการรวมตัวกันและจัดตั้งกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในปี 2527 เพื่อร่วมคิด ร่วมกันทํา ร่วมกันจําหน่าย และร่วมรับผลประโยชน์ และเป็นการแก้ไขปัญหาเรื่องการอพยพแรงงานจากชนบทสู่เมือง ทําให้ครอบครัวอบอุ่นขึ้น สามารถแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจของครอบครัว และเสริมสร้างความรัก ความสามัคคีในชุมชนได้ โดยได้รับคําแนะนําจากเจ้าพนักงานเคหกิจเกษตร สํานักงานเกษตรอําเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น ในปี 2527 ได้มีการรวมกลุ่มก
เนื่องในโอกาสที่ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระชนมพรรษาครบ 84 พรรษา ในวันที่ 12 สิงหาคม 2559 กรมหม่อนไหม ได้จัดทำโครงการสำคัญหลายโครงการเพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ได้ทรงทุ่มเทพระวรกายในการพัฒนางานศิลปาชีพและส่งเสริมอาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและทอผ้าไหมแก่พสกนิกรไทยมายาวนานกว่า 40 ปี และทรงเป็น “พระมารดาแห่งไหมไทย” ซึ่ง “โครงการหมู่บ้านอนุรักษ์ไหมไทยพื้นบ้าน เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา วันที่ 12 สิงหาคม 2559” เป็นหนึ่งโครงการที่กรมหม่อนไหมได้สนองพระราชดำริและสืบสานพระราชปณิธานของ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในการอนุรักษ์อาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม รวมทั้งอนุรักษ์ไหมพันธุ์ไทยพื้นบ้าน วิธีการเลี้ยงไหม และการผลิตเส้นไหมไทยพื้นบ้านให้คงอยู่เป็นมรดกทางภูมิปัญญาของประเทศสืบไป คุณอภัย สุทธิสังข์ อธิบดีกรมหม่อนไหม กล่าวว่า กรมหม่อนไหมได้ดำเนินโครงการหมู่บ้านอนุรักษ์ไหมไทยพื้นบ้าน เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จำนวน 84 หมู่บ้าน ในพื้นที