ปะการัง
วันที่ 30 มี.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในโซเชียลมีเดียมีการโพสต์ภาพถ่าย และเรื่องราวบรรยายความว่า “ทะเลไทย บรรลัยกันพอดี! แฟนเพจส่งรูปมาให้ช่วยพิจารณาหาทางออกด้วยความห่วงใย บอกว่าเป็นรูปการตรวจค้นของ จนท.ที่สนามบินเชียงใหม่ ที่มักจะเจอเป็นประจำ นั่นก็คือ “ปะการังทะเล” เอาไงล่ะทีนี้ ??? ” ซึ่งเป็นกรณีที่เจ้าหน้าที่ของท่าอากาศยานเชียงใหม่ ตรวจพบว่านักท่องเที่ยวชาวต่างชาติพยายามลักลอบนำปะการังทะเล หรือซากสัตว์น้ำที่เก็บมาระหว่างการท่องเที่ยวในประเทศไทยออกนอกประเทศในช่วงเดินทางกลับ ซึ่งเจ้าหน้าที่ตรวจพบและยึดไว้ได้เป็นประจำ พร้อมแสดงความห่วงใย ทั้งนี้ร้อยโทวศิน พลนาวี รองผู้อำนวยการท่าอากาศยานเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ยอมรับว่าเหตุการณ์ลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้นจริงที่ท่าอากาศยานเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ โดยท่าอากาศยานเชียงใหม่มีหน้าที่ในการตรวจวัตถุอันตรายต่อผู้โดยสารและอากาศยาน ซึ่งในส่วนของปะการังนั้น ปกติเมื่อตรวจพบแล้วจะต้องประสาน และให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มีอำนาจตามกฎหมายมาตรวจสอบ และดำเนินการ เพราะท่าอากาศยานเชียงใหม่ไม่มีอำนาจสามารถยึดไว้ได้ จำเป็นต้องแจ้งให้หน่วยงานดังกล่าวเข้า
นายศุภวัตร กาญจน์อติเรกลาภ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง(ทช.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ศูย์วิจัยฯ ได้ลงพื้นที่สำรวจความสมบูรณ์เพศของปะการัง บริเวณหาดหน้าบ้าน เกาะมันใน จ.ระยอง พบปะการังวงแหวน และปะการังสมอง มีความสมบูรณ์ของเซลล์สืบพันธุ์ จึงนำปะการังดังกล่าวขึ้นมาดูการปล่อยไข่และสเปิร์ม บนโรงเพาะพันธุ์ปะการังแบบอาศัยเพศเกาะมันใน โดยปะการังวงแหวนและปะการังสมองมีการปล่อยไข่และสเปิร์มในช่วงเวลา 19.30 – 21.30 น. จึงทำการผสมพันธุ์ปะการังแบบอาศัยเพศและศึกษาระยะการพัฒนาของตัวอ่อน นายศุภวัตร กล่าวว่า ปะการังส่วนใหญ่ที่เป็นตัวๆ มากมายประกอบกันเป็นโคโลนีนั้น เมื่อโตเต็มที่แล้วก็จะปล่อยไข่หรือสเปิร์มของตัวมันออกมา บางชนิดในโคโลนีเดียวกันจะมีทั้งสองเพศคือ ปล่อย มาทั้งสเปิร์มและไข่ สเปิร์มและไข่ของปะการังเมื่อออกมาแล้ว จะผสมกันเป็นตัวอ่อน เรียกว่า พลานูลา (Planula) เป็นที่น่าสนใจว่าการผสมพันธุ์ของปะการังด้วย วิธีนี้จะเกิดขึ้นพร้อมๆ กันในทะเลสำหรับเมืองไทยอยู่ในระยะเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม ซึ่งตัวอ่
ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เผยแพร่ สภาพของแนวปะการังบริเวณเกาะยูง ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมืองกระบี่ ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า จากการสำรวจล่าสุดเมื่อสัปดาห์ ที่ผ่านมา พบว่าแนวปะการังมีการฟื้นตัว และมีสภาพสมบูรณ์ขึ้น มีปะการังวัยอ่อนเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องโดยพบปะการังโคโลนีเก่าเจริญเติบโตเพิ่มขึ้น และยังพบปะการังเขากวางเกิดใหม่ ที่มีสภาพสมบูรณ์ หลังจากที่กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ประกาศปิดเมื่อกลางปี 2558 ห้ามนักท่องเที่ยวเข้าไปทำกิจกรรมด้านการท่องเที่ยว เพื่อต้องการฟื้นฟูแนวปะการัง มาเป็นระยะเวลากว่า 2 ปี ทำให้แนวปะการังในพื้นที่เริ่มฟื้นตัวจนใกล้เข้าสู่ภาวะปกติ ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระบุ การประกาศเขตสงวนและอนุรักษ์ได้ผลจริง ด้านนายวรพจน์ ล้อมลิ้ม หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ปะการังบริเวณดังกล่าวได้รับเสียหายจากภาวะน้ำทะเลร้อนขึ้น รวมถึงการเข้าไปทำกิจกรรมของนักท่องเที่ยว จึงได้ดำเนินมาตรการฟื้นทะเลกร
เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2561 ที่ชายหาดหน้ากองบัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 อ.เมือง จ.ภูเก็ต พลเรือตรีอาคม แตงอ่อน รองผู้บัญชาการ ทัพเรือภาคที่ 3 เป็นประธานเปิดโครงการอนุรักษ์แนวปะการังและสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลไทย ในพระดำริพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ โดยมีนายสนิท ศรีวิหค รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ข้าราชการพลเรือน ตำรวจ ทหาร ประชาชน กลุ่มพลังมวลชน นักเรียน เข้าร่วมกิจกรรม พลเรือตรีอาคม กล่าวว่า ตามที่ฝ่าพระบาททรงมีพระดำริที่จะอนุรักษ์แนวปะการัง และสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลไทย โดยทรงห่วงใยปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติใต้ทะเล การทำร้ายสัตว์ทะเลด้วยน้ำมือมนุษย์โดยตั้งใจ หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ในการนี้ ทัพเรือภาคที่ 3 หน่วยงานภาครัฐ และเอกชนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต และใกล้เคียง จึงจัดโครงการ “อนุรักษ์แนวปะการังและสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลไทยในพระดำริพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์” เพื่อสนองพระดำริพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ในการอนุรักษ์แนวปะการังและสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลไทยให้มีความอุดมสมบรูณ์ และมีความสมดุลอย่างยั่งยืน รวมทั้งเพื่อเป็นการกระตุ้นและปลูกจิตสำนึ
เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจาก เจ้าหน้าที่มูลนิธิฟื้นฟูทรัพยากรทะเลสยาม ว่า ในช่วงเช้าเกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติ น้ำทะเลได้เริ่มลงตั้งแต่ช่วงกลางดึกที่ผ่านมา จนถึงช่วงเช้า ทำให้ปะการังที่อยู่บริเวณแนวน้ำตื้นทีหน้าอ่าวใหญ่ อ่าวใหญ่ อ่าวเทียนของเกาะทะลุ ต.ทรายทอง อ.บางสะพานน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์ โผล่ขึ้นมาจนสามารถเห็นปะการังชนิดต่างๆได้อย่างชัดเจน อาทิ ปะการังสมองร่องเล็ก ร่องใหญ่ ปะการังก้อน ปะการังโขด ปะการังผักกาด ดอกไม้ทะเล และปะการังอีกหลายชนิด รวมไปถึงหอยมือเสือ นายเผ่าพิพัทธ์ เจริญพักตร์ เลขามูลนิธิฟื้นฟูทรัพยากรทะเลสยาม เปิดเผยว่า บริเวณแนวปะการังดังกล่าวปกติน้ำจะลึกประมาณ 2-2.5 เมตร ซึ่งเป็นจุดดำน้ำของนักท่องเที่ยว และเป็นแหล่งที่มีการปลูกปะการังเขากวางอ่อน วันนี้น้ำทะเลลงต่ำจนเหลือประมาณร้อยละ 50 ในช่วงตั้งแต่เวลา 09.00-10.00 น. ทำให้เห็นปรากฏการณ์ปะการังโผล่ ซึ่งต้องประกาศให้นักท่องเที่ยวที่มาดำน้ำในช่วงเช้าให้รับทราบว่างดให้ดำน้ำชั่วคราวในช่วงเช้า ซึ่งหลังจากเวลา 11.00 น.น้ำทะเลได้เริ่มกลับขึ้นคาดว่าช่วงบ่ายจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ ซึ่งพบว่าช่วงน้ำทะเลลงต่ำสุดใช้เว
เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม รศ.สุชนา ชวนิชย์ นักวิจัยภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า คณะผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยเกี่ยวกับชีววิทยาปะการัง ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จนกระทั่งประสบความสำเร็จในการเพาะขยายพันธุ์ปะการังแบบอาศัยเพศด้วยการผสมเทียม โดยจะนำไข่และสเปิร์มของปะการังที่มีการปล่อยปี 1 ละครั้ง มาผสมในโรงเพาะฟัก หลังจากการทำการผสมเทียมแล้วจะอนุบาลปะการังในระบบเลี้ยงเป็นเวลาประมาณ 2 ปี ก่อนนำกลับคืนสู่ทะเล รศ.สุชนา กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบันชนิดพันธุ์ของปะการังที่นำมาใช้ในการเพาะขยายพันธุ์ด้วยวิธีดังกล่าวมีมากกว่า 10 ชนิด ประกอบด้วย ปะการังกิ่ง และปะการังก้อน ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ปะการังที่ได้จากการเพาะผสมเทียมแบบอาศัยเพศมีความสามารถในการผลิตปะการังรุ่นหลานได้ด้วยตนเอง รวมทั้งพบว่าปะการังสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงได้เป็นอย่างดี “ผลงานวิจัยนี้ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการฟื้นฟูแนวปะการังในประเทศไทย และสามารถนำไปใช้เป็นทางเลือกใหม่ในการวางแผนการจัด
วันที่ 18 พฤษภาคม นายทิฆัมพร ว่องธวัชชัย ผู้ช่วยนักวิจัยศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเล ที่ 3 จ.ตรัง เปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 3 จังหวัดตรัง ได้ร่วมกับอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา หมู่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ ลงพื้นที่ทางทะเลอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี สำรวจปะการัง ในบริเวณ อ่าวปิเละ อ่าวโละซามะ เกาะยูง ด้านทิศตะวันออก อ่าวลิง เกาะไผ่ เกาะไก่ หมู่เกาะพีพี ต.อ่าวนาง อ.เมืองกระบี่ จาการสำรวจพบว่าเกิดปรากฏการณ์ ปะการังฟอกขาวเป็นวงกว้างกระจายอยู่ ทั่วทุกพื้นที่ โดยชนิดปะการังที่ฟอกขาว ที่พบประกอบด้วย ปะการังเขากวาง ปะการังวงแหวน ปะการังช่องเหลี่ยม ปะการังดอกเห็ด ปะการังดอกกะหล่ำ และปะการังโขด โดยปะการังเกิดการฟอกขาวมากที่บริเวณเกาะไก่ ประมาณร้อยละ 80 สาเหตุเกิดจาก อุณหภูมิของน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น อยู่ที่ 31-35 องศา จากปกติจะอยู่ที่ 28-30 องศา สิ่งที่น่าเป็นห่วง ได้แก่ ปะการังโขด ที่พบว่ามีการฟอกขาวเกิดขึ้น ขณะที่เมื่อปี 2553 เกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวครั้งรุนแรง แต่ปะการังชนิดนี้ ไม่มีการฟอกขาวแต่อย่างใด และไม่เคยมีบันทึกการฟอกขาวในปะการั