ปัจจัยการผลิต
เมื่อพูดถึงการทำการเกษตร หลายๆ คนจะนึกถึงชาวไร่ ชาวนา หรือชาวสวน แต่มีใครบ้างที่จะรู้ว่า กลุ่มพี่น้องเกษตรกรในหลายๆ พื้นที่ของประเทศไทย มีการรวมตัวกันตั้งกลุ่ม รวบรวมสมาชิกเพื่อทำการเกษตรแบบผสมผสาน “ฟาร์มอิ่มบุญ” ก็เป็นอีกหนึ่งของแหล่งเรียนรู้ เพราะว่ามีการรวมตัวชาวบ้านกว่า 30 คนตั้งเป็นกลุ่ม โดยใช้ชื่อกลุ่มว่า “วิสาหกิจชุมชน สบบงเกษตรผสมผสานและแปรรูปทางการเกษตร” ซึ่งตั้งอยู่เลขที่ 100 หมู่ที่ 10 บ้านสบบง ซอยที่ 7 ตำบลสบบง อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา ระบบเกษตรผสมผสาน (Integrated Farming System) เป็นระบบการเกษตรที่มีการเพาะปลูกพืชหรือการเลี้ยงสัตว์ต่างๆ ชนิดอยู่ในพื้นที่เดียวกันภายใต้การเกื้อกูล ประโยชน์ต่อกันและกันอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยอาศัยหลักการอยู่รวมกันระหว่างพืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อม การอยู่รวมกันอาจจะอยู่ในรูปความสัมพันธ์ระหว่างพืชกับพืช พืชกับสัตว์ หรือสัตว์กับสัตว์ก็ได้ ระบบเกษตรผสมผสานจะประสบผลสำเร็จได้จะต้องมีการวางรูปแบบและดำเนินการ โดยให้ความสำคัญต่อกิจกรรมแต่ละชนิดอย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม มีการใช้แรงงาน เงินทุน ที่ดิน ปัจจัย การผลิตและทรัพยากรธร
สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่เคารพทุกท่าน ตลอดระยะเวลาในช่วงชีวิตของเกษตรกรแต่ละยุคสมัย พวกเราเหล่าเกษตรกรล้วนแล้วแต่ต้องพึ่งพาอาศัยตนเองเป็นหลัก และพึ่งพารัฐบาลเป็นหน่วยงานสนับสนุน แต่ปรากฏว่าทิศทางของรัฐบาลมักมีการเปลี่ยนแปลงแนวนโยบายไปตามยุค เปลี่ยนไปตามนักการเมืองที่เข้ามาบริหารประเทศในช่วงนั้นๆ จนการบริหารทิศทางอาจจะทำให้ไม่มีความต่อเนื่อง เกษตรกรปรับตัวไม่ทันกับแนวนโยบายดังกล่าว และทำให้ไม่สามารถวางแผนการผลิตระยะยาวได้ ถ้าจะยกตัวอย่างให้เห็นง่ายๆ สำหรับเกษตรกรกลุ่มใหญ่ของประเทศไทย นั่นคือเกษตรกรชาวนาที่มีอยู่ประมาณเกือบ 5 ล้านครอบครัว บางช่วงเกษตรกรก็อยู่ภายใต้กลไกตลาดเสรีปกติ ปลูกข้าวขายให้พ่อค้า และโรงสีไปตามกลไก บางช่วงก็มีนโยบายใหม่ๆ มาดำเนินการอย่างเช่นให้ชาวนาจำนำข้าวเปลือกไว้ก่อน เอาเงินจากรัฐบาลผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรหรือ ธ.ก.ส. ไปใช้ก่อน เมื่อถึงเวลาหนึ่งก็ให้มาไถ่ถอนไปขาย แต่ต่อมาก็ยกเลิกนโยบายนี้ เปลี่ยนเป็นประกันราคาให้เกษตรกร ประกาศราคาประกันไว้ แล้วกำหนดราคากลาง ถ้าราคากลางต่ำกว่าราคาประกัน รัฐก็เอาเงินอุดหนุนให้บางส่วน ต่อๆ มารัฐบาลบางคณะก็เปลี่ยนเป็นจำ
สวัสดีครับทุกท่าน ตอนที่แล้วเราได้คุยกันถึงการขายหรือการตลาดก่อนที่จะผลิตอะไร ซึ่งบางคนอาจจะมองว่าเป็นเรื่องหลักการหรือเปล่า หรือบางคนบอกอาจจะสรุปปิดประตูไปว่าเกษตรกรขายไม่เก่ง ขายไม่เป็น ขายไม่ได้หรอก…ต่างๆ นานา สารพัดความคิดเห็น แต่เราจงอย่าเพิ่งเชื่อใคร ให้เชื่อมั่นตัวเองก่อน พิสูจน์ก่อนแล้วค่อยสรุป อย่าด่วนสรุปในขณะที่ยังไม่ได้ลงมือทำเลย เพราะถ้ายังคิดเช่นนั้น นั่นคงจะยังไม่เห็นแสงแห่งทางรอดแน่ๆ คราวนี้เราลองมาดูในเบื้องต้นว่าปัจจุบันนี้คนซื้อหรือพ่อค้าหรือผู้บริโภคต้องการสินค้าแบบไหนกันบ้าง ซึ่งก็คงจะไม่พ้น 2 เรื่องหลักๆ นั่นคือ ปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอกของผลผลิต นั่นเอง เมื่ออ่านมาถึงจุดนี้ หลายท่านอาจจะสงสัยบ้างว่า อะไรล่ะมันคือปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอกที่ว่านั่น ดังนั้น จึงขอนำเสนอให้เข้าใจง่ายๆ เพื่อเตรียมตัวกัน เพราะเราจะผลิตกันแบบเดิมๆ เก่าๆ ถนัดอะไรปลูกอันนั้น ชอบอะไรก็ผลิตชนิดนั้น คนอื่นทำอะไรก็ทำตามเขาไป คงจะไม่ได้แล้ว ถ้าอยากจะอยู่บนทางรอดต่อไปครับ ปัจจัยภายนอกของผลผลิต 1.1 สีสัน เรื่องสีสันของผลผลิตทางการเกษตรนี่ก็เป็นเรื่องไม่น่าเชื่อว่าผู้บริโภคสนใจและให้ความ
สวัสดีครับ ยินดีที่ได้พบกันผ่านคอลัมน์ “คิดใหญ่แบบรายย่อย” กับผมธนากร เที่ยงน้อย กันเป็นประจำ ฉบับนี้ผมอาจจะมาด้วยเรื่องที่แปลกตาสักหน่อย กับ คำว่า “ระบบการผลิตทางการเกษตรแบบบูติค” ซึ่งเป็นคำที่ผมคิดขึ้นและนำมาใช้เรียกธุรกิจการเกษตรรูปแบบหนึ่ง เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2553 เมื่อมีโอกาสไปเยี่ยมชมบ้านไร่วิมานดินฟาร์มสเตย์ แอนด์ รีสอร์ท ของ พ.ต.ท. กฤชญาณ อภิกุลชา ที่อำเภอทองผาภูมิ ซึ่งท่าน พ.ต.ท. กฤชญาณ บอกว่า ถูกใจคำว่า ระบบการเกษตรแบบบูติคนี้มาก และผมก็ใช้คำๆ นี้เรื่อยมา เพราะเห็นว่าเป็นธุรกิจการเกษตรอีกรูปแบบหนึ่งที่มีความแตกต่างไปจากธุรกิจการเกษตรแบบอื่นๆ แต่ก็มีคนทักท้วงว่าเมื่อเห็นว่ามันต่าง ทำไมไม่อธิบายให้คนส่วนใหญ่รับรู้และเข้าใจให้ตรงกันเสียที ปล่อยผ่านมาจนเวลาล่วงเลยเป็น 10 ปี ดังนั้น ผมจึงขอใช้พื้นที่ในฉบับนี้อธิบายขยายความ คำว่า “ระบบการเกษตรแบบบูติค” เสียทีครับ ระบบการผลิตทางการเกษตร คืออะไร? ในการผลิตโดยทั่วไปจะประกอบไปด้วย 3 ส่วน ด้วยกันคือ ปัจจัยการผลิต (Input) ส่วนกระบวนการผลิต (Process) และส่วนที่เป็นผลผลิต (Output) ซึ่งรวมเรียกว่า ระบบการผลิต ระบบการผลิต (Production System)
การทำเกษตรบนพื้นที่สูงในจังหวัดน่าน แต่เดิมเกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูกพืชเชิงเดี่ยว โดยเฉพาะการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ แต่ระยะเวลาที่ผ่านมาได้พิสูจน์แล้วว่า การทำเกษตรเชิงเดี่ยวไม่ได้ช่วยให้รายได้ของเกษตรกรดีขึ้น ในวันนี้ เกษตรกรจึงเริ่มปรับเปลี่ยนจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยวหันมาพืชผสมผสานและหลากหลายมากขึ้น ทำให้มีรายได้เพิ่ม จากการขายพืชผักผลไม้เมืองหนาว ซึ่งนอกจากจะช่วยทำให้เกษตรกรมีโอกาสในการพัฒนาอาชีพและรายได้ที่มั่นคงแล้ว แปลงผักและผลไม้เมืองหนาวยังช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชน โดยมีสหกรณ์ในพื้นที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการดูแลเรื่องปัจจัยการผลิต การดูแลพื้นที่เพาะปลูกของเกษตรกร เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพตามที่ตลาดต้องการ และเชื่อมโยงกับมูลนิธิโครงการหลวง ในการรวบรวมผลผลิตและส่งจำหน่ายสู่ผู้บริโภค นายเชี่ยวชาญ เลาย่า หัวหน้าศูนย์โครงการพัฒนาที่สูงแบบโครงการหลวงขุนสถาน และในฐานะที่ปรึกษาของสหกรณ์การเกษตรขยายผลโครงการหลวงขุนสถานบ้านแสนสุข จำกัด อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน เปิดเผยว่า สหกรณ์แห่งนี้มีสมาชิกเป็นชาวเขาเผ่าม้ง ประมาณ 74 ครัวเรือน ส่วนใหญ่ปลูกกะหล่ำปลี ฟักทอง อะโวกาโด ข้าวไร่ พร