ปัญหาราคายาง
ปัญหายางพาราตกต่ำ ยังสะท้อนบ่งบอกให้รับรู้กันว่า ที่ผ่านมานโยบายการแก้ปัญหายางพาราให้กับเกษตรกรชาวสวนยางพาราทั้งระบบยังประสบความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง แม้ว่าที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานระดับพื้นที่จนถึงระดับประเทศ จะมีความพยายามแก้ปัญหาก็ตาม แต่ดูเหมือนว่าเส้นทางแก้ปัญหาจะเจอภาวะตีบตัน ไม่เห็นปลายทางแห่งแสงสว่างของปลายอุโมงค์แต่อย่างใด ภาพที่สะท้อนให้เห็นความจริงของการออกมาเคลื่อนไหวของบรรดาเกษตรกรชาวสวนยาง รวมถึงเครือข่ายองค์กรชาวสวนยางพารา ออกมาเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงมาช่วยเหลือ ผลักดันราคายางพาราให้สูงขึ้น เพื่อสร้างหลักประกันให้กับเกษตรกรชาวสวนยาง และอาชีพอย่างมั่นคงและยั่งยืน แต่จนบัดนี้ราคายางพาราก็ยังอยู่ในเหวลึก ยากที่จะฉุดดึงให้รอดพ้นห้วงเหวดังกล่าวได้ ทุกๆ ปี เรามักจะเห็นปรากฏการณ์เช่นนี้เป็นประจำ หากเปรียบเสมือนภัยก็เป็นภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นเป็นประจำ ซากซ้ำ จำเจ แก้แล้วแก้เล่า ขายผ้าเอาหน้ารอดเป็นครั้งๆ ไปเท่านั้นจังหวัดตรัง ซึ่งเป็นเมืองหลวงของยางพารา ด้วยเหตุผลที่มียางพาราต้นแรกของประเทศไทย และมีเกษตรกรประกอบอาชีพทำสวนยางพาราเป็นหลัก ดังนั้นเมื่อเกิดภาวะเดือดร
สำหรับความคืบหน้าเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางการเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาราคายางผันผวนและตกต่ำอย่างต่อเนื่อง ที่ห้องประชุมชั้น 2 สำนักงานการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) จังหวัดสุราษฎร์ธานี นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานสภาเครือข่ายสถาบันเกษตรกรยางพาราแห่งประเทศไทย (สยยท.) ประชุมคณะกรรมการ สยยท.และผู้เกี่ยวข้องด้านยางพารา เพื่อแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำ ได้ข้อสรุปแนวทางแก้ไขปัญหายางพาราทั้งระบบต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยมีมติเป็นเอกฉันท์ให้นายกรัฐมนตรีใช้ มาตรา 44 ปลดผู้ว่าการ กยท.และคณะกรรมการ กยท.เนื่องจากบริหารงานผิดพลาด พร้อมให้สรรหาผู้ว่าการคนใหม่ที่เป็นมืออาชีพ มีความรอบรู้ยางพารามาแก้ปัญหา นายอุทัย กล่าวว่า นอกจากนั้นในแนวทางแก้ไขปัญหาเป็นกรณีเร่งด่วน นายกฯ ควรสั่งให้ กยท.ลดอัตราจัดเก็บเงินค่าธรรมเนียมการส่งออก (เซส) เป็นการชั่วคราว จาก 2 บาท ต่อกิโลกรัม (กก.) เป็น 1.40 บาท เท่ากับมาเลเซีย นอกจากนี้ ขอให้รัฐบาลสนับสนุนหน่วยงานราชการใช้ยาง อาทิ สร้างสนามฟุตบอล สนามเด็กเล่น และอื่นๆ แต่กระทรวงคมนาคมยังดำเนินการอย่างไม่เป็นรูปธรรม ควรสั่งให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำการสำรวจพื้นที่ปลูกยางทั
ยะลา – นายนันตชาติ จัยห้าว ประธานเครือข่ายชาวสวนยาง อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เผยว่า ตอนนี้ประสบปัญหาราคายางตกต่ำกว่าต้นทุน ต้นทุนยางประมาณ 62 บาท แต่มาขายได้แค่ราคา 45-46 บาท เกษตรกรเดือดร้อน โรงรมก็ขาดทุน เดินทางมาขายยาง ที่ตลาดกลางยะลาเพราะมีบริษัทร่วมทุนของการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เข้ามารับซื้อ ในขณะที่ตลาดกลางอื่นๆ มีบริษัทร่วมทุนเข้าไปน้อย บริษัทร่วมทุนเข้ามาซื้อราคาจะสูงกว่า อยู่จังหวัดนครศรีธรรมราช ยังนำยางมาขายที่จังหวัดยะลา ค่ารถ ค่าเดินทางก็ยังคุ้มค่า ยางที่นำมาขายเป็นทั้งสหกรณ์ กลุ่มรัฐวิสาหกิจ กลุ่มเอกชนประมาณ 20 กว่าสหกรณ์ รวมกลุ่มกันมาสองเที่ยวแรกไม่มีปัญหาขายได้ปกติ แต่พอมาเที่ยวที่สามที่สี่ตลาดกลางยางยะลาล้น แต่ทางตลาดกลางจังหวัดยะลาก็รับฝากไว้ ที่ผ่านมามีบริษัทมาประมูลแล้ว แต่ประมูลราคาต่ำกว่าราคากลางที่กำหนด ทำให้ไม่สามารถระบายยางได้ ก็ต้องรอเพื่อบริษัทเข้ามาประมูล แก้ปัญหาระยะยาว พูดกันมานานแล้วคือให้นำมาใช้ในประเทศให้มากที่สุด อย่าหวังตลาดต่างประเทศ ทำถนนลาดยางแต่ทำไมรัฐบาลทำไม่ได้ ไม่ได้จริงจัง นอกจากนี้หากรัฐบาลทำโรงอัดก้อนเก็บไว้ให้แต่ละสหกรณ์ รั