ปุ๋ยกล้วยไม้
คุณอรทัย บุญยืนเวทวัฒน์ เจ้าของสวนกล้วยไม้ Readyorchid บ้านเลขที่ 273/14 หมู่ที่ 1 ซอยเพชรเกษม 82 แขวงบางแคเหนือ เขตบางแค กรุงเทพฯ 10160 โทร. 089-019-5504 จัดเป็นนักเลี้ยงกล้วยไม้รุ่นใหม่ที่ได้รับถ่ายทอดประสบการณ์การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้มาจาก คุณวีรเดช บุญยืนเวทวัฒน์ ผู้เป็นบิดา ผ่านประสบการณ์ในการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้มากว่า 30 ปี ในยุคของการปลูกกล้วยไม้หวายเพื่อการตัดดอกจำหน่าย แต่ด้วยภาวะตลาดที่มีการแข่งขันสูง จึงปรับเปลี่ยนเป็นการผลิตกล้วยไม้กระถาง ควบคู่ไปกับงานการพัฒนาสายพันธุ์กล้วยไม้ลูกผสม โดยคุณวีรเดชจะพัฒนาสายพันธุ์เพื่อจำหน่ายให้กับผู้ที่สนใจนำไปปั่นตาเพื่อจำหน่ายเป็นลูกผสมสายพันธุ์ใหม่ๆ ตัวอย่างราคาของกล้วยไม้หวายลูกผสมพันธุ์ใหม่จะซื้อ-ขายกัน ราว 5,000-10,000 บาท และกล้วยไม้แคทลียาลูกผสมพันธุ์ใหม่ ซื้อ-ขาย ราว 10,000-50,000 บาท เป็นต้น ผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ ต้องเข้าใจการใช้ปุ๋ย การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ให้งามและพร้อมออกดอกนั้น อาจจะมีปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน แต่สำหรับคุณอรทัยแล้วแนะนำว่า ผู้ปลูกเลี้ยงต้องมีความเข้าใจการใช้ปุ๋ยกับกล้วยไม้เสียก่อน อีกทั้งการใช้ปุ๋ยกับกล้วยไม้นั้นยังต้อง
เป็นที่น่ายินดีและขอบคุณที่หลังจากบทความชุดนี้ตอนแรกได้รับการตีพิมพ์ ผู้เขียนได้รับการประสานงานมาจาก คุณวีระเดช บุญยืนเวทวัฒน์ หรือที่ในวงการกล้วยไม้รู้จักกันในนาม คุณฮั้ว แห่ง Yuannan Orchids อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ผู้ที่อยู่ในวงการกล้วยไม้มาร่วม 40 กว่าปี คุณวีระเดชเห็นด้วยกับการประชาสัมพันธ์และขยายความรู้ในเรื่องธุรกิจการผลิตต้นกล้วยไม้เพื่อติดต้นไม้ใหญ่ตามบ้านและจัดสวน อีกทั้งได้ให้ข้อมูลเสริมเพิ่มเติมในเรื่องการเตรียมต้นกล้วยไม้ในแง่การให้ความสำคัญกับการให้ปุ๋ยที่สร้างความแกร่งของเซลล์ใบกล้วยไม้ให้ทนแดดดีขึ้น และได้แชร์ประสบการณ์ที่ช่วงหนึ่งของชีวิตเมื่อ 20 กว่าปีก่อนได้ไปรับจ้างหรือรับงานการติดกล้วยไม้ในสนามกอล์ฟ พร้อมทั้งการให้คำปรึกษาและแนะนำการดูแลรักษาแก่พนักงานของสนามกอล์ฟเพื่อการดูแลรักษาให้ต้นกล้วยไม้มีการเจริญเติบโตต่อไปนานๆ ผู้เขียนจะขอถ่ายทอดข้อมูลที่คุณวีระเดชส่งมาให้ผมทาง messenger ตรงๆ ก่อน เพื่อไม่ให้ข้อมูลตกหล่นหนึ่ง และเป็นการให้เกียรติคุณวีระเดชที่เต็มใจเปิดเผยเป็นข้อมูลสาธารณะ คุณวีระเดช เปิดมาอย่างนี้ครับ “สวัสดีครับอาจารย์ ผมมีแนวคิดในเรื่อง การใช้ปุ๋ยช่วยต
วิธีการเอาลูกกล้วยไม้สกุลช้างออกขวด หลังจากการนำฝักที่ผสมได้ส่งเข้าห้องแล็บเพาะเมล็ดในอาหารวุ้น ซึ่งเมื่อเมล็ดงอกเป็นต้นเจริญเติบโตในขวดจนพร้อมย้ายออกจากขวด ซึ่งการย้ายกล้วยไม้สกุลช้างที่แนะนำอาจจะแตกต่างจากสวนกล้วยไม้อื่นบ้าง แต่เท่าที่ใช้วิธีนี้มาก็ช่วยให้คนดูแลสวนมือไม่เปื่อย และยังเอาลูกกล้วยไม้ออกขวดได้รวดเร็ว สามารถทำได้ครั้งละหลายๆ ขวดด้วย หลายๆ ท่านจะได้ลองนำไปประยุกต์ใช้ดู ขั้นแรก ให้ใช้หนังสือพิมพ์สัก 3-4 ชั้น นำมารองขวดที่เราจะเอากล้วยไม้ช้างออกจากขวด ต่อมาก็นำหนังสือพิมพ์ห่อขวด เหมือนทำขนมปังโรล แต่อย่าพลิกขวด ยังคงให้ขวดกล้วยไม้ตั้งขึ้นเหมือนเดิม ทุบลงเน้นๆ ที่หัวและท้ายของขวดให้แตก อย่าทุบตรงกลางขวด เพราะเศษแก้วอาจไปทับต้นช้างเผือกน้อยของเราช้ำได้ เปิดกระดาษออก แล้วค่อยๆ เก็บเศษแก้วออกให้หมด นักเลี้ยงกล้วยไม้หลายท่านก็ใช้วิธีเอาลวดมาดัดเป็นตะขอแล้วแหย่ลงทางปากขวด ใช้เกี่ยว กล้วยไม้ออกมาทีละต้น วิธีดังกล่าวก็ใช้ได้แถมขวดยังนำกลับไปขายได้ แต่เมื่อมาคำนวณเทียบกับความรวดเร็วและการช้ำของรากลูกไม้ พบว่าใช้วิธีทุบปลอดภัยต่อลูกกล้วยไม้มากกว่า เมื่อเก็บเศษแก้วออกหมดเราก็จะเหลือลูก