ปุ๋ยคอก
ปุ๋ยคอก คือ ปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากมูลสัตว์ต่างๆ ที่อยู่ในรูปของเหลวและของแข็ง ส่วนใหญ่จะเป็นมูลสัตว์เลี้ยง เช่น มูลวัว ไก่ เป็ด สุกร ประกอบด้วยอุจจาระและปัสสาวะของสัตว์ ซึ่งเป็นส่วนของซากพืชและสัตว์จากอาหารที่สัตว์ผ่านกระบวนการย่อยสลายจากระบบย่อยอาหาร ธาตุอาหารในปุ๋ยคอกจะมีปริมาณมากน้อยแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น วิธีการเลี้ยง การเก็บรักษา แหล่งที่อยู่ของสัตว์ นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อพืชผักแล้ว ยังช่วยป้องกันรักษาหน้าดินและบำรุงดินให้เหมาะสมกับการปลูกพืชด้วย ในปุ๋ยคอกมีการหมักหมมของเชื้อรา หากเราใส่ให้ต้นไม้ทุกวันจะส่งผลทำให้ดินเค็ม นอกจากนี้ มันจะยังทำให้ต้นไม้เราได้รับสารอาหารเยอะเกินจำเป็น และในช่วงหน้าฝนจะมีไนโตรเจนในอากาศเยอะอยู่แล้ว เราไม่จำเป็นต้องให้ปุ๋ยต้นไม้เยอะในช่วงนั้น พืชพรรณ พืชผัก พืชไม้ยืนต้น อาจมีความต้องการปริมาณปุ๋ยคอกแตกต่างกันไป รวมถึงลักษณะการปลูกที่แตกต่างกันด้วย จึงควรรู้วิธีใช้ปุ๋ยคอกให้มีประสิทธิภาพ ตามชนิดของพืชและลักษณะการปลูก เพื่อบำรุงพืชให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ชนิดของพืช – ข้าว จะใช้ปุ๋ยคอก 2 ตันต่อไร่ โดยหว่านให้ทั่ว แล้วไถกลบ ก่อนเริ่
ปุ๋ยเคมีก็แพงหันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์กันดีกว่า สัตว์บางตัวที่เลี้ยงไว้ในฟาร์มมีประโยชน์กว่าที่คิด โดยเฉพาะ “ขี้” เป็นธาตุอาหารและยาบำรุงชั้นดีของพืชผัก ที่เกษตรกรบางคนสามารถสร้างรายได้เสริมได้จากการเลี้ยงไส้เดือน วัว หมู และสัตว์ชนิดอื่นๆ สามารถนำมาทำเป็นปุ๋ยคอกได้ ช่วยลดต้นทุนการซื้อปุ๋ยไปได้เยอะ ปุ๋ยคอก เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้มาจากมูลสัตว์ ที่ถูกเลี้ยงเอาไว้ในวงจรของเกษตรผสมผสาน ปุ๋ยคอกที่ใช้อาจเป็นมูลของสัตว์ชนิดไหนก็ได้ ปุ๋ยคอกที่นำมาใช้ประโยชน์ได้ ต้องเป็นมูลสัตว์ที่ผ่านกระบวนการหมักเพื่อย่อยสลายก่อน ถึงจะทำให้พืชสามารดูดซึมธาตุอาหารที่มีไปใช้ประโยชน์ได้ วันนี้เทคโนโลยีชาวบ้านได้รวบรวมมูลสัตว์ต่างๆ ที่นำมาใช้เป็นปุ๋ยคอก ใช้ยังไงให้ถูกเหมาะสมกับพืชที่ปลูกไปดูกันเลย 🐷มูลหมู มูลหมูเป็นมูลสัตว์ที่มีปริมาณธาตุอาหารสูง โดยเฉพาะฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช มูลหมูเป็นปุ๋ยคอกที่ดีสำหรับพืชทุกชนิด โดยเฉพาะพืชที่ต้องการฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมสูง การใส่มูลหมูควรพิจารณาจากปริมาณธาตุอาหารที่ต้องการของพืชและสภาพดิน โดยควรใส่มูลหมูที่แห้งสนิทเพื่อป้องกันปัญหาเชื้อโรคแล
การเลี้ยงวัวก็เหมือนกับกระปุกออมสินมีชีวิต ได้ใช้ชีวิตอยู่อย่างพอเพียง เวลาเดือดร้อนก็สามารถเป็นเงินเก็บไว้คอยช่วยเหลือ นอกจากนี้ ยังได้ขี้วัวหรือปุ๋ยคอกเอาไว้เป็นปุ๋ยในไร่นาและจำหน่ายเป็นรายได้อีกด้วย คุณขจร แสงศรีเรือง หรือ คุณสีโก อายุ 45 ปี เรียนจบปริญญาตรี สาขาสัตวบาล จากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งทางภาคตะวันออก และอดีตผู้จัดการฟาร์ม ปัจจุบันอยู่บ้านเลขที่ 110 หมู่ที่ 2 บ้านกงกลาง ตำบลบ้านกง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น โทร. 081-407-8882 คุณขจร กล่าวว่า การทำปุ๋ยหมักอินทรีย์นั้นในตอนแรกต้องขนขี้วัวออกจากคอกเอามาเทกองไว้ให้ผสมกับใบไม้ทิ้งไว้ประมาณ 1 ปี ขี้วัว ใบฉำฉาจะนำมากองไว้ เราเอามาเทลง ความชื้นดูดลงดิน เราใช้เวลา 1 ปี แบบภูมิปัญญาชาวบ้าน เดือน 3 คนจะเอาขี้วัวขี้ควายไปใส่นาแล้วจะไถกลบทำนาเดือน 6 อีก 3 เดือน ช่วงเดือนสิงหาคมข้าวก็จะตั้งต้นงาม แต่ละวันจะได้ปุ๋ยเท่าไหร่ วัว 1 ตัวจะกินหญ้า 10 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว หากวัวหนัก 400 กิโลกรัมจะกินหญ้า 40 กิโลกรัมต่อวัน วัว 8 ตัวจะได้ขี้วัว 200 กิโลกรัม (เปียก) ต่อวัน จะเหลือครึ่งต่อครึ่งขายมวลแห้ง แต่จะเหลือจริงๆ ประมาณ 80 กิโลกรัม (ผสมกับใ
ธรรมชาติ มีความหลากหลายของพืชพรรณที่ขึ้นปะปนกันไป อยู่ร่วมกันอย่างพึ่งพาอาศัยกันไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ร่วมกันใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด แต่ก็สามารถดำรงอยู่ได้ตลอดฤดูที่ผ่านไป การเลียนแบบธรรมชาติในการทำไร่นาสวนผสม ด้วยการปลูกพืชหลายชนิดปะปนกัน โดยคำนึงถึงชนิดของพืชแต่ละชนิดว่ามีจะเจริญโตได้ดีในสภาพเช่นใด ซึ่งการวางแผนและระบบนั้นจะมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการตลอดไปทุกระยะตั้งแต่การปลูก การดูแลบริหารจัดการน้ำ ปุ๋ย การป้องกันกำจัดศัตรูพืช การเก็บเกี่ยว และการขนส่ง การจัดทำไร่นาสวนผสมแต่คนจะมีความแตกต่างกัน เช่น “สวนธรรมพอดี” เป็นสวนที่อยู่ท่ามกลางกลางทุ่งนามีพืชหลากหลายปลูกปะปนกัน หลายคนมองเห็นแล้วนึกเสียดายพื้นที่และตำหนิในเริ่มแรกที่พบเห็นสวนที่รกรุงรัง คิดว่าเจ้าของสวน “ขี้เกียจ” ไม่ดูแล แต่พบว่า เจ้าของสวนนี้ มีผลผลิตพืชหลายชนิดวางจำหน่ายในตลาดนัดเป็นประจำ คุณนิตยา บุญจันทร์ เกษตรกรต้นแบบการบริหารจัดการศัตรูพืช ประจำศูนย์เรียนรู้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าการเกษตรอำเภอหันคา (ศพก.) บ้านเลขที่ 146 หมู่ที่ 6 ตำบลห้วยงู อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท กล่าวว่า หลังจากจบก
ผู้สื่อข่าวของเราประจำจังหวัดอุบลราชธานี ได้มีโอกาสพูดคุยกับ ส.ส. คนดัง แห่งเมืองดอกบัว ที่ครองแชมป์มา 9 สมัย ไม่ว่าจะเลือกตั้งกี่ครั้งๆ คนดังที่ชื่อ คุณชูวิทย์ พิทักษ์พรพัลลภ หรือที่ชาวบ้านเรียกกันจนติดปากว่า ส.ส.กุ่ย ก็ผ่านตลอด เพราะเป็นคนที่พูดจาฉะฉาน จริงจังและจริงใจต่อผู้อื่น มีมนุษยสัมพันธ์ยอดเยี่ยม ยิ้มแย้ม แจ่มใส มาตั้งแต่วัยเด็ก และยังเป็นคนติดดิน กินง่าย นอนง่าย สบายๆ กับเพื่อนพ้องและพี่น้องประชาชนทุกชนชั้น ถึงวันเลือกตั้งคราใด จึงไม่มีใครลืม คุณชูวิทย์ (กุ่ย) พิทักษ์พรพัลลภ อีกมุมหนึ่ง ของ คุณชูวิทย์ (กุ่ย) พิทักษ์พรพัลลภ ส.ส.คนดัง ปัจจุบันอยู่ในวัย 50 ปีเศษ เป็นคนชอบเลี้ยงสัตว์เป็นชีวิตจิตใจ เลี้ยงทั้งโค กระบือ และเสือ รวมทั้งสัตว์อื่นๆ อีกมากมาย แต่ที่ชอบเลี้ยงที่สุดน่าจะเป็นโคหรือวัว เพราะคุณชูวิทย์ได้เลี้ยงมาตั้งแต่วัยหนุ่ม สมัยยังไม่ได้ลงเล่นการเมือง ขนาดเคยประกอบอาชีพรับราชการครู ยังลาออกมาประกอบอาชีพค้าขายและเลี้ยงสัตว์และทำธุรกิจอื่นๆ และยังได้สวมบทเป็นนายฮ้อย หรือพ่อค้าวัว ออกตระเวนซื้อขายวัว-ควาย ตามตลาดนัดโค-กระบือในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี และตามต่างจังหวัดอี
ในปัจจุบัน วัว ควาย เริ่มมีบทบาทน้อยลงในการทำการเกษตรของคนไทย โดยเฉพาะการใช้วัว ควาย เพื่อเป็นแรงงานในการลากเกวียนและไถนา เนื่องมาจากเทคโนโลยีในปัจจุบันที่ก้าวนำล้ำสมัยไปกว่าในอดีต ทำให้คนส่วนใหญ่หันมาใช้เครื่องจักรทดแทน เช่น รถไถนา แทนการใช้แรงงานวัว ควาย เพื่อประหยัดเวลาในการทำงาน และมีความสะดวกในการใช้งานที่มากกว่า ทำให้ในทุกวันนี้เราเห็นเกษตรกรเลี้ยงวัว ควาย กันน้อยลง แต่ยังคงมีเกษตรกรไทยอีกจำนวนหนึ่งในหมู่บ้านกุรุคุ จังหวัดนครพนม ที่ยังคงดำเนินชีวิตโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมทั้งแปรเปลี่ยนสิ่งไร้ค่า “ขี้วัว ขี้ควาย” ที่คนทั่วไปมองว่าเป็นสิ่งสกปรก มีกลิ่นเหม็น ให้กลับมาเป็น “ทองคำ” บนผืนแผ่นดินไทย เป็นปุ๋ยคอกที่ช่วยสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ผืนดิน เป็นเงินตราที่ช่วยให้ชาวบ้านได้มีกินมีใช้ ไม่อดอยาก ช่วยให้ชาวบ้านสามารถดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง “พอมี พอกิน พอใช้” และตามพระราชดํารัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช รัชกาลที่ 9 ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ที่ว่า “…ความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่าทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัว จ