ปุ๋ยหมักอินทรีย์
การเลี้ยงวัวก็เหมือนกับกระปุกออมสินมีชีวิต ได้ใช้ชีวิตอยู่อย่างพอเพียง เวลาเดือดร้อนก็สามารถเป็นเงินเก็บไว้คอยช่วยเหลือ นอกจากนี้ ยังได้ขี้วัวหรือปุ๋ยคอกเอาไว้เป็นปุ๋ยในไร่นาและจำหน่ายเป็นรายได้อีกด้วย คุณขจร แสงศรีเรือง หรือ คุณสีโก อายุ 45 ปี เรียนจบปริญญาตรี สาขาสัตวบาล จากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งทางภาคตะวันออก และอดีตผู้จัดการฟาร์ม ปัจจุบันอยู่บ้านเลขที่ 110 หมู่ที่ 2 บ้านกงกลาง ตำบลบ้านกง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น โทร. 081-407-8882 คุณขจร กล่าวว่า การทำปุ๋ยหมักอินทรีย์นั้นในตอนแรกต้องขนขี้วัวออกจากคอกเอามาเทกองไว้ให้ผสมกับใบไม้ทิ้งไว้ประมาณ 1 ปี ขี้วัว ใบฉำฉาจะนำมากองไว้ เราเอามาเทลง ความชื้นดูดลงดิน เราใช้เวลา 1 ปี แบบภูมิปัญญาชาวบ้าน เดือน 3 คนจะเอาขี้วัวขี้ควายไปใส่นาแล้วจะไถกลบทำนาเดือน 6 อีก 3 เดือน ช่วงเดือนสิงหาคมข้าวก็จะตั้งต้นงาม แต่ละวันจะได้ปุ๋ยเท่าไหร่ วัว 1 ตัวจะกินหญ้า 10 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว หากวัวหนัก 400 กิโลกรัมจะกินหญ้า 40 กิโลกรัมต่อวัน วัว 8 ตัวจะได้ขี้วัว 200 กิโลกรัม (เปียก) ต่อวัน จะเหลือครึ่งต่อครึ่งขายมวลแห้ง แต่จะเหลือจริงๆ ประมาณ 80 กิโลกรัม (ผสมกับใ
ประเทศไทยใช้ปุ๋ยทุกวันนี้ปีหนึ่ง 4-5 หมื่นล้าน ถ้าเราลดปุ๋ยในนาข้าวได้เมื่อไหร่ ก็คือการลดใช้ปุ๋ยในประเทศได้มาก นอกจากนี้พบว่า ในฟางข้าว ประมาณ 60 ล้านไร่ ที่ทำนาอยู่ ปุ๋ยที่อยู่กับฟางข้าวมีมูลค่า 3-4 หมื่นล้าน แต่เราเผาทำลายไปเกือบครึ่งหนึ่ง คิดง่ายคร่าวๆ ว่า ในฟางข้าว 1 ไร่ เป็นมูลค่าปุ๋ย NPK เป็นพันบาท ถ้าเราไม่เผาก็ต้องหาทางเลือกให้ชาวบ้าน จริงๆ สาเหตุที่ชาวบ้านเผา หนึ่ง ไม่รู้จะจัดการฟางยังไงให้มันไว เพราะทุกวันนี้ปลูกข้าว 2 ปี 5 รอบ และจากการพัฒนาพันธุ์ที่ดีเกินไป ปลูกยังไงก็ออกดอก นี่เป็นข้อดี แต่ข้อเสียคือสภาพแวดล้อมในประเทศเสียหายมาก ศัตรูพืชก็ระบาด สอง ถ้าใช้วิธีปกติ คือ ไถกลบ อย่างน้อยต้องใช้เวลา 40-60 วัน ถ้าใช้วิธีไถกลบแล้วปลูกเลย ตอซังจะถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ที่มีอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ ซึ่งไม่สามารถจะย่อยสลายได้ในระยะเวลาอันสั้น ปลูกข้าวไปก็จะเหลือง ไม่โต แคระแกร็น อาการนี้เรียกว่า อาการข้าวเมา เมาตอซัง ดร.กฤษณพงศ์ ศรีพงษ์พันธุ์กุล รองอธิบดีกรมการข้าว ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการนำฟางข้าวมาใช้ให้เกิดประโยชน์ว่า ประเทศไทยมีพื้นที่การปลูกข้าว ทั้งฤดูนาปีและนาปรังคร่าวๆ กว่า 66