ปูทะเล
ปูทะเลเป็นอีกหนึ่งสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญ เพราะเกษตรกรผู้เลี้ยงนำมาทำตลาดได้หลากหลายขึ้นอยู่ที่ลูกค้าต้องการนำไปประกอบอาหารประเภทใด จึงทำให้อาหารที่ทำขึ้นจากปูทะเลได้รับความนิยมและตลาดมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันการทำเกษตรให้ได้คุณภาพและจำหน่ายได้ราคาสูง ถือเป็นอีกหนึ่งการผลิตที่เกษตรกรให้ความสนใจมากขึ้น เพราะความต้องการของตลาดเป็นตัวแปรสำคัญ ช่วยให้สินค้าที่ผลิตออกมาขายได้ราคาสูง คุณโอม-ธนกฤต พลอยงาม ผู้คิดค้นและริเริ่มเรื่องของการเลี้ยงปูทะเลในภาคเหนือ โดยทำน้ำเค็มให้คล้ายกับน้ำทะเลไว้ใช้เองจนประสบผลสำเร็จ ทดลองเลี้ยงตั้งแต่กุ้งไปจนถึงปูทะเล พร้อมกับทำตลาดปูทะเลให้เป็นสินค้าปูนิ่ม จนสามารถจำหน่ายได้ราคาสูงเป็นที่ต้องการของตลาด เรียกได้ว่าในช่วงนี้ผลิตไม่ทันขายกันเลยทีเดียว อดีตช่างแอร์ ผู้มีใจมุ่งมั่น เลี้ยงปูทะเลคุณภาพสูง คุณโอม เล่าให้ฟังว่า เดิมนั้นทำอาชีพเป็นช่างแอร์มาประมาณ 15 ปี ซึ่งช่วงหลังๆ จำนวนช่างมีมากขึ้นทำให้รู้สึกต้องมองหาอาชีพใหม่ เพื่อให้มีรายได้จากจำนวนงานช่างแอร์ที่ลดน้อยลง เริ่มแรกได้นำกุ้งแม่น้ำมาทดลองเลี้ยง หลังจากนั้นนำปูทะเลมาเลี้ยงด้วยเช่นกัน คุณโอม บ
คุณโอม-ธนกฤต พลอยงาม อดีตช่างแอร์มีความคิดนอกกรอบ ศึกษาทดลองการเลี้ยงปูทะเลในพื้นที่ภาคเหนือจนประสบความสำเร็จ และขยายพื้นที่รอบบ้านเพิ่มสำหรับเลี้ยงรองรับออร์เดอร์จากลูกค้า การเลี้ยงจะเน้นขายเป็นปูนิ่ม เพราะใช้เวลา 20-25 วัน เมื่อปูลอกคราบ สามารถขายได้ทันที โดยไม่ต้องเลี้ยงให้กระดองเเข็ง และตลาดปูนิ่มยังไปได้ไกล ราคาที่ขายจะอยู่ที่ 3 ตัว 500 บาท ไซซ์ 2-3 ตัวต่อกิโลกรัม อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง เลี้ยงปูดำทะเลออร์แกนิกในบ้าน!!! เน้นขายเป็นปูนิ่ม รายได้ดี ราคาสูง
ปูดำหรือปูทะเล สัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญ เกษตรกรผู้เลี้ยงสามารถนำมาทำตลาดได้ ทั้งจำหน่ายเป็นปูไข่และปูเนื้อ ขึ้นอยู่ที่ว่าร้านอาหารจะนำไปปรุงเป็นเมนูอะไร ทำให้อาหารที่ทำขึ้นจากปูดำได้รับความนิยมและตลาดมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง การเลี้ยงให้ได้คุณภาพตรงตามความต้องการของตลาดทำอย่างไร วันนี้มาไขเคล็ดลับเรื่องนี้กัน คุณนันทิยา เพ็ชรเกตุ เกษตรกรจังหวัดนครศรีธรรมราช หันมาเลี้ยงปูดำหลังจากที่ปลดเกษียณจากงานประจำที่ทำ โดยใช้บ่อที่เป็นพื้นที่ว่างของครอบครัวที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์มาปรับเปลี่ยนเลี้ยงปูดำ เพื่อเป็นอาชีพสร้างรายได้หลังเกษียณ คุณนันทิยา เล่าให้ฟังว่า หลังจากได้กลับมายังบ้านเกิดจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งในขณะนั้นคิดอยู่เสมอว่าแม้เกษียณแล้วก็ต้องหาอาชีพทำเพื่อให้เกิดรายได้ จึงเห็นบ่อที่เคยเลี้ยงกุ้งของครอบครัวยังว่างอยู่ และยังไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์หลังจากที่เลิกเลี้ยงกุ้งไปแล้ว จึงทำให้เธอตัดสินใจที่อยากจะใช้พื้นที่บ่อนั้นมาเลี้ยงปูดำ “ช่วงที่เราลงไปดูพื้นที่แรกๆ ก็ดูก่อนว่าคนในพื้นที่นี้เขาทำอะไรกัน ซึ่งการทำประมงของพื้นที่นี้ค่อนข้างหลากหลายมาก มีทั้งเลี้ยงกุ้งกุลาดำและเลี้ยงปูดำ แต่เราเห็
ปูทะเล นับเป็นสัตว์นํ้าชนิดหนึ่งที่มีความสําคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย เป็นที่นิยมบริโภคโดยทั่วไปเนื่องจากมีรสชาติดี และมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ผลผลิตปูทะเลส่วนใหญ่ได้จากการจับปูในธรรมชาติ ซึ่งนับวันจะมีปริมาณลดลงไปทุกที เนื่องจากความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้นทุกๆ ปี ปูทะเลพบกระจายอยู่ทั่วไปในแหล่งนํ้ากร่อย ป่าชายเลน และปากแม่นํ้าที่มีนํ้าทะเลท่วมถึง โดยขุดรูอยู่ตามใต้รากไม้หรือเนินดิน บริเวณชายฝั่งทะเลทั้งอ่าวไทยและอันดามัน โดยเฉพาะที่ชุกชุมในบริเวณที่เป็นหาดโคลน หรือเลนที่มีป่าแสม และโกงกาง ตั้งแต่อ่าวไทยฝั่งตะวันออก อ่าวไทยตอนใน อ่าวไทยฝั่งตะวันตก ฝั่งอันดามัน ปูทะเลเป็นสัตว์ออกหากินในเวลากลางคืน จะออกจากที่หลบซ่อนหลังจากดวงอาทิตย์ตกไปแล้วประมาณ 1 ชั่วโมง และเข้าที่หลบซ่อนก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นเพียงเล็กน้อย ดังนั้น แสงและอาหารจึงมีอิทธิพลต่อการปรากฏตัวอยู่ภายนอกที่หลบซ่อน ปูทะเลกินพืชน้ำและสัตว์ทะเลขนาดเล็กเป็นอาหาร เช่น หอยฝาเดียว หอยสองฝา กุ้ง ปู ปลา และเศษพืช ซึ่งปูจะชอบกินปูด้วยกันเองมากที่สุด ปูทะเลเจริญเติบโตโดยอาศัยการลอกคราบ เนื่องจากกระดองของปูเป็นสารประกอบพวกหินปูนที่มีความแข็งแ
กรมประมงนำร่องดัน “ปลากะพงทอง ปลิงทะเล ปูทะเล” ขึ้นแท่นสัตว์น้ำเศรษฐกิจชนิดใหม่ ตั้งเป้าสร้างแหล่งผลิตวัตถุดิบคุณภาพด้วยมาตรฐานระดับสากล เสริมรายได้ให้เกษตรกรไทยด้วยการผลิตสินค้าสัตว์น้ำมูลค่าสูง เล็งเจาะตลาดอุตสาหกรรมท่องเที่ยวโดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจร้านอาหาร – โรงแรม ด้วยการป้อนวัตถุดิบคุณภาพด้วยกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมนำไปเสิร์ฟเป็นเมนูที่เพิ่มมูลค่าด้วยรสชาติที่โดดเด่น ช่วยยกระดับสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวในธุรกิจร้านอาหารไทย นายประพันธ์ ลีปายะคุณ รองอธิบดีกรมประมง กล่าวว่า กรมประมงหนึ่งในหน่วยงานที่มีภารกิจหลักในการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำควบคู่ไปกับการส่งเสริมอาชีพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เกษตรกรไทย มีความมุ่งมั่นดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างอาชีพเสริมรายได้ให้กับพี่น้องเกษตรกรชาวประมง โดยเฉพาะการยกระดับมาตรฐานสินค้าประมงด้วยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาปรับใช้ในผลงานวิจัยเพื่อพัฒนาสัตว์น้ำเศรษฐกิจชนิดใหม่ที่สามารถจำหน่ายได้ราคาสูงเข้าสู่ตลาดที่เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ อีกทั้งภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในปี 2567 การท่องเที่
ยุคนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่าอาหารที่ปรุงจากปูทะเลกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จะเห็นได้จากหลายเมนูที่อยู่ตามร้านอาหารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปูผัดผงกะหรี่ ปูนึ่งรับประทานกับน้ำจิ้มซีฟู้ดรสเด็ดก็ชวนน้ำลายสอไม่น้อย และอีกเมนูที่ผู้บริโภคยุคนี้มีความชื่นชอบเป็นอย่างมากนั้นก็คือปูไข่ดองน้ำปลา โดยใช้ปูทะเลที่มีความสดมาดองตามสูตรของตนเอง ทำให้เวลานี้ปูทะเลที่นำมาดองนั้นเป็นสินค้าที่ตลาดมีความต้องการ สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงได้ไม่น้อยทีเดียว ปูดำหรือปูทะเลจึงเป็นอีกหนึ่งสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญอยู่ในเวลานี้ เพราะเกษตรกรผู้เลี้ยงสามารถนำมาทำตลาดได้ทั้งจำหน่ายเป็นปูไข่และปูเนื้อ ขึ้นอยู่ที่ว่าร้านอาหารนั้นๆ จะนำไปปรุงเป็นเมนูอะไร ทำให้อาหารที่ทำขึ้นจากปูดำจึงได้รับความนิยมและตลาดมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกษตรกรเกิดรายได้และผลิตสินค้าที่ตรงตามความต้องการของตลาดมากขึ้น อย่างเช่นการเลี้ยงปูดำ คุณนันทิยา เพ็ชรเกตุ อยู่บ้านเลขที่ 91 หมู่ที่ 6 ตำบลเกาะเพชร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นเกษตรกรที่หันมาเลี้ยงปูดำหลังจากที่ปลดเกษียณจากงานประจำที่ทำ โดยใช้บ่อที่เป็นพื้นที่ว่างของครอบครัว
ณ คลองเขาแดง ตำบลเขาแดง อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้เกียรติเป็นประธานเปิดกิจกรรมปล่อยพันธุ์ปูทะเล จำนวน 1.3 ล้านตัว คืนสู่ป่าชายเลนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ภายใต้โครงการ “ฟื้นฟูทรัพยากรประมงบริเวณแหล่งก่อเกิดทรัพยากรสัตว์น้ำชายฝั่ง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์” เพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรให้สอดคล้องกับการประกอบอาชีพของเกษตรกรชาวประมงมุ่งสู่ความสมดุลและยั่งยืน โดยมีนายบัญชา สุขแก้ว รองอธิบดีกรมประมง นายถาวร ทันใจ รองอธิบดีกรมประมง นายประพันธ์ ลีปายะคุณ รองอธิบดีกรมประมง นายมานพ หนูสอน รองอธิบดีกรมประมง นายกิติพงษ์ สุขภาคกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกรมประมง และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เกษตรกร ชาวประมง และประชาชนในพื้นที่ร่วมกิจกรรมจำนวนมาก
ปูนิ่ม ที่เรารู้จักและรับประทานกันเป็นอาหาร หลายคนเข้าใจกันว่าแหล่งผลิตส่วนใหญ่จะอยู่ติดกับทะเลหรือในท้องทะเลที่กว้างใหญ่ ต้องบอกว่า ทำความเข้าใจกันใหม่เถอะครับ ปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาคิดค้นวิธีการเลี้ยงปูนิ่มจากที่เลี้ยงบริเวณริ่มทะเลหรือในท้องทะเลมาเป็นบ่อเพาะเลี้ยงแบบพัฒนาในหลายพื้นที่ ซึ่งมีการเลี้ยงทั้งแบบตัดก้ามและแบบธรรมชาติ มีอาชีพที่ไม่คาดคิดว่าจะมีอยู่ในพื้นที่ซึ่งอยู่ห่างจากรุงเทพมหานครเพียง 100 กว่ากิโลเมตร คือ อาชีพเพาะเลี้ยงปูนิ่ม เมื่อรถของทีมงาม กว่า 20 ชีวิต มาถึง พี่พิธาน ลิปิสุนทร เจ้าของฟาร์ม ก็เข้ามาตอนรับและอธิบายเล่าถึงที่มาที่ไปของอาชีพเพาะเลี้ยงปูนิ่มให้กับทีมงานได้ฟังอย่างลวงลึก ในทุกขั้นตอนการเลี้ยง พี่พิธาน เล่าให้ฟังว่า ที่ดินผืนนี้เป็นของป้าและย่า ซึ่งเดิมจะปล่อยให้เช่าทำฟาร์มเลี้ยงกุ้ง แต่หลังจากสัญญาเช่าหมดลง ตนก็มาขอเช่าต่อ เพื่อจะใช้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ซึ่งหวังจะสร้างเป็นอาชีพให้กับตนเอง “ตอนนั้นเองผมยังไม่ได้คิดว่าจะเลี้ยงอะไร ไปปรึกษากับเพื่อนที่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องสัตว์น้ำ เขาก็บอกว่า อย่างเรานี่ ประสบการณ์เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำก็ยังมีน้อย