ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทย
วันที่ 19 เมษายน 2564 นายปราโมทย์ ยาใจ อธิบดีกรมหม่อนไหม ได้ออกประกาศการปรับปรุงรูปแบบและหลักเกณฑ์การติดหรือแสดงดวงตรานกยูงพระราชทาน และ 2D barcode กับผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทย (ตรานกยูงพระราชทาน) เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคในการตรวจสอบย้อนกลับการผลิตผ้าไหมไทยตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทย ทั้งนี้ คณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทย (คมม) ได้เห็นชอบให้กรมหม่อนไหมจัดทำสติ๊กเกอร์ดวงตรานกยูงพระราชทาน และ 2D Barcode ที่มีหมายเลขตรงกันอยู่บนสติ๊กเกอร์ชิ้นเดียวกัน และปรับปรุงรูปแบบป้ายกระดาษสำหรับติดที่ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทย (ตรานกยูงพระราชทาน) ทั้ง 4 ชนิด ได้แก่ ตรานกยูงพระราชทานสีทอง ตรานกยูงพระราชทานสีเงิน ตรานกยูงพระราชทานสีน้ำเงิน และตรานกยูงพระราชทานสีเขียว สำหรับรูปแบบของดวงตรานกยูงพระราชทาน และ 2D Barcode อยู่บนชิ้นเดียวกัน ขนาดกว้าง 2-5 เซนติเมตร ยาว 5 เซนติเมตร โดยดวงตรานกยูงพระราชทานอยู่ด้านบน ตรงกลางเป็นชื่อตรานกยูงพระราชทานภาษาอังกฤษแต่ละชนิด ด้านล่างเป็น 2D Barcode และมีตัวอักษร QSDS ขนาดเล็ก กระจายอยู่ทั่วทั้งแผ่น สอบถามรายละเอียดได้ที่ 02-940-6564 ต่อ 14
คุณเสกสันติ์ รอบรู้ และ คุณอัญชลี พงค์ศิริแสน สองสามีภรรยา จากชีวิตจริงในอดีตจากการไม่รู้สู่การเรียนใฝ่คว้าหาความรู้ ฝึกฝนการทอผ้าไหมจนชำนาญ ผลิตผ้าไหมไทยยกดอกจนเป็นสินค้าโอท็อป ระดับ 5 ดาว ออกสู่สายตาชาวไทยและต่างประเทศจนได้รับรางวัลระดับ Asian ฉบับนี้ ผู้เขียนได้นำสิ่งดีๆ เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทยมานำเสนอท่านผู้อ่านโดยผู้เขียนได้ไปสนทนากับสองสามีภรรยา ณ ศูนย์ท่องเที่ยวเชิงเกษตรด้านหม่อนไหม คุณเสกสันติ์และคุณอัญชลี อยู่บ้านเลขที่ 9 หมู่ที่ 2 บ้านท่อสมาน ตำบลเตาปูน อำเภอสอง จังหวัดแพร่ 54120 ภายในบริเวณบ้านเปิดเป็นศูนย์ท่องเที่ยว โรงทอผ้าไหม ห้องแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทย แต่กว่าจะมาถึงวันนี้คุณเสกสันติ์-คุณอัญชลี เล่าย้อนอดีตให้ฟังว่า เมื่อ 20 กว่าปีก่อนทั้งสองไปทำงานเกี่ยวกับผ้าไหมที่จังหวัดลำพูน และได้ขอรับการฝึกหัดทอผ้าไหม พอได้ทักษะประสบการณ์ก็กลับมาทอผ้าเองที่บ้าน ต้องทำเองทุกอย่างในการทอผ้าไหม ในช่วงเวลาหนึ่งได้รับการสนับสนุนให้ออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทยได้ไปออกงานแสดงนิทรรศการมีผู้หลักผู้ใหญ่เข้ามาดูและชื่นชมในผลงาน จึงเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดความมุ่งมั่นผลิตผ้าไหม และได้รั