ผลิตภัณฑ์อาหาร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โดย ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา ในส่วนของ ห้องปฏิบัติการชีวเคมีและจุลชีววิทยาและห้องปฏิบัติการเคมีวิเคราะห์ ซึ่งเปิดให้บริการวิเคราะห์ทดสอบกัญชา ผลิตภัณฑ์กัญชา สารสกัดแคนนาบินอยด์ (Cannabidiol ; CBD) และผลิตภัณฑ์อาหารที่มีกัญชา/กัญชง เป็นส่วนประกอบ ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025 จาก สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม ครอบคลุมรายการวิเคราะห์ทดสอบ ได้แก่ 1. โลหะหนักในพืชกัญชา 2. สารสำคัญ THC/CBD ในสารสกัด 3. สารสำคัญ THC/CBD ในซอสและในนม และ 4. จำนวนแบคทีเรีย ยีสต์และราทั้งหมดที่เจริญเติบโตโดยใช้อากาศ (TAMC) ในพืชกัญชา ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบให้เป็นที่ยอมรับทั้งภายในและต่างประเทศ สร้างความมั่นใจ และความน่าเชื่อถือในรายงานผลการทดสอบ รวมทั้งส่งเสริมการผลิต การจำหน่ายและส่งออกสินค้า ยกระดับมาตรฐานสินค้า เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ช่วยลดการกีดกันทางการค้า ศ. (วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า ศูนย์ทดสอบและม
วันที่ 16 พฤศจิกายน 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม สำนักเทคโนโลยีชุมชน โดย นางปฏิญญา จิยิพงศ์ นางสาวจันทร์ฉาย ยศศักดิ์ศรี นางสาวเจนจิรา จันทร์มี และ นางสาวการ์ตูน เพ็งพรม นักวิทยาศาสตร์กรมวิทยาศาสตร์บริการ ได้ลงพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรีเพื่อให้คำปรึกษาเชิงลึกและร่วมปรึกษาหารือกับผู้ประกอบการอาหารในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปในปีงบประมาณ 2564 วศ. ได้จัดทำโครงการส่งเสริมวิสาหกิจรายย่อยเพื่อยกระดับสินค้า OTOP ให้ได้มาตรฐานในพื้นที่ภูมิภาค มีแผนลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ รวมทั้งส่งเสริมผู้ประกอบการให้เข้าสู่กระบวนการรับรองมาตรฐาน จำนวน 2 ราย คือ บริษัท ซองเดอร์ ไทยออร์กานิคฟูด จำกัด และวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ทุ่งทองยั่งยืน ณ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จากการลงพื้นที่ ณ บริษัท ซองเดอร์ ไทยออร์กานิคฟูด จำกัด คณะทำงานของ วศ. ได้หารือแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ จากนั้นได้เยี่ยมชมโรงงาน ซึ่งบริษัทเป็นผู้ผลิตอาหารแปรรูป เช่น เครื่องดื่มธัญญาหารสำเร็จรูป สแน็คข้าว โจ๊กซีเรียลอาหาร
จังหวัดปทุมธานี โดย สำนักงานพาณิชย์จังหวัดปทุมธานี ยกขบวนสินค้าผลิตภัณฑ์อาหารนับ 100 รายการ โชว์ศักยภาพเมืองนวัตกรรมอาหาร ยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหารของจังหวัดปทุมธานี ผ่านการสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี พร้อมจัดแสดงนวัตกรรมอาหารต้นแบบ 10 รายการ และประกาศผลพร้อมมอบรางวัลแก่ผู้ชนะการประกวดนวัตกรรมอาหารปทุมธานี 2562 จำนวน 5 ผลิตภัณฑ์ ดร.พินิจ บุญเลิศ ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี กล่าวภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดงาน “ปทุมธานี เมืองนวัตกรรมอาหาร” เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 ณ ชั้น G เมืองสุขสยาม ไอคอนสยาม กรุงเทพฯ ว่าจังหวัดปทุมธานีในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตค่อนข้างมากจากหัวเมืองเกษตรกรรม และอุตสาหกรรมที่โดดเด่น สู่เมืองแห่งการค้าและการลงทุนในอุตสาหกรรมสะอาด และการตลาดของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ และยังเป็นเมืองศูนย์กลางการศึกษา วิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีของภูมิภาคด้วย ปัจจุบันปทุมธานีเป็นทั้งแหล่งผลิตสินค้าเกษตร และแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารที่หลากหลาย มีโรงงานอุตสาหกรรมด้านอาหารอยู่มากกว่า 300 แห่ง และมีผู้ประกอบการรายย่อยอีกมากกว่า 100 ราย ซึ่งทางจังหวัดพร้อมให้การส่งเสริ
วช.ร่วมมรภ.สงขลา นำวิจัยเสริมสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานรากชุมชนสงขลา และสตูล สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนพื้นที่ ในการส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้ โดยนำงานวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ แบบพึ่งพาตนเองให้กับชุมชนวิสาหกิจบ้านควนโดน จังหวัดสตูล และชุมชนวิสาหกิจบ้านสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา โดยวางระบบการจัดการและพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปพืชเกษตรท้องถิ่น:จำปาดะ เพื่อสร้างรายได้เสริมแก่ชุมชนให้เข้มแข็ง โดยดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ พร้อมด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงาน ณ กลุ่มแปรรูปจำปาดะเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร จ.สงขลา เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2562 โดยมีดร.สุวรรณี พรหมศิริ หัวหน้าโครงการ นำเสนอผลการดำเนินงานภายใต้แผนงานจัดการความรู้การวิจัยเพื่อการใช้ประโยชน์จากจำปาดะ เพื่อสร้างให้เป็นพืชเศรษฐกิจอัตลักษณ์ประจำท้องถิ่นชุมชนอย่างยั่งยืน
โดยปกติแล้ว เวลานำเห็ดหอมมาประกอบอาหาร จะนิยมเอาส่วนที่เป็น หมวกของเห็ดมาทำอาหาร โดยตัดส่วนที่เป็นก้านเห็ดออก เพราะไม่เป็นที่นิยมนำมาประกอบอาหารรับประทาน ทำให้ มีก้านเห็ดหอมที่ถูกตัดทิ้งอย่างน่าเสียดาย นั่นเพราะก้านเห็ดหอมล้วนอุดมไปด้วยโปรตีนและสารอาหารมากมาย ด้วยเหตุนี้เองทำให้ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้นำเอาก้านเห็ดหอมที่เหลือทิ้งมา ประกอบเป็นอาหารสำหรับเป็นอาหารว่างขบเคี้ยว ที่ทั้งถูกปากและอุดมไปด้วยสารอาหารทางโภชนาการ ก่อนหน้านี้พบว่าแผนกที่ทำอาหารของโรงพยาบาลในแต่ละวัน จะมีก้านเห็ดหอมที่ต้องทิ้งมากมาย จึงคิดว่า ถ้าหากสามารถนำก้านเห็ดหอมเหลานี้มาทำประโยชน์ได้ก็คงจะดีไม่น้อย จากนั้นเป็นต้นมาจึงได้ทำการคิดค้นสูตรอาหารที่จะนำเอาก้านเห็ดหอมมาทำอาหาร จนสุดท้าย สามารถคิดค้นสูตรการทำ ขนมขบเคี้ยว (สแน็ก) ได้เป็นผลสำหรับ ซึ่งสแน็กจากก้านเห็ดหอมนี้นอกจากจะให้รสชาติที่ถูกปาก เหมาะจะเป็นของว่างแล้วยังอุดมไปด้วยสาอาหารจากเห็ด ซึ่งเป็นที่ทราบดีว่าเห็ดเป็นแหล่งโปรตีนชั้นดี อีกทั้งยังประกอบไปด้วยเส้นใย คาร์โบไฮเดรต อีกด้วย หลายคนอาจเคยพบว่า ในท้องตลาดหรือก่อนห
“วันนักประดิษฐ์” จัดขึ้นในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เพื่อระลึกถึงวันประวัติศาสตร์ของการจดทะเบียนและทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรการประดิษฐ์ “เครื่องกลเติมอากาศที่มีผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย” หรือ “กังหันน้ำชัยพัฒนา” แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) ซึ่งเป็นสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของประเทศไทยและเป็นครั้งแรกของโลก ซึ่งต่อมาได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายพระราชสมัญญาว่า “พระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย” ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวว่า วช. ได้จัดกิจกรรมงาน “วันนักประดิษฐ์” ขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ ปี 2538 ตามมติคณะรัฐมนตรี และจัดต่อเนื่องทุกปีจนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลากว่า 2 ทศวรรษ สำหรับปีนี้ วช. ได้จัดงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2561 ระหว่าง วันที่ 2-6 กุมภาพันธ์ 2561 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร ภายใต้ แนวคิด “ขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วยสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม” ภายในงานได้นำเสนอผลงานประดิษฐ์และนวัตกรรมจากทั้งในและต่างประเทศกว่า 2,000 ผลงาน แสดงความก้าวหน้าของสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที