ผลิตสุราพื้นบ้าน
ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมที่มีการเพาะปลูกข้าวเป็นหลัก ในแต่ละปีมีการผลิตและส่งออกข้าวจำหน่ายในปริมาณสูงเป็นลำดับต้นๆ ของโลก การอนุรักษ์สายพันธุ์ดั้งเดิมของข้าวพื้นเมืองเอาไว้ โดยนำมาผลิตเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จำพวกสาโทนั่นเอง จากเครื่องดื่มพื้นบ้าน มีปัจจัยอะไรบ้างที่จะประกอบร่างสร้างให้กลายเป็นสินค้าเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่มีดีทั้งคุณภาพและรูปลักษณ์ ยกระดับมูลค่าทางเศรษฐกิจขึ้นสู่ของดีประจำชาติ และยังสร้างรายได้มหาศาลกลับคืนสู่ผู้ประกอบการและวิสาหกิจชุมชน การส่งเสริมแบรนดิ้งให้แข็งแรง ให้คุณค่ากับความเฉพาะตัวของวัตถุดิบพื้นถิ่น ใส่ใจในการออกแบบหน้าตาบรรจุภัณฑ์ให้ทันสมัยเพื่อเพิ่มสุนทรียะในการดื่มชิม คือตัวอย่างองค์ประกอบที่จะพาให้เครื่องดื่มพื้นบ้านไปไกลได้ทั้งในไทยและต่างแดน ความโดดเด่นทางภูมิศาสตร์และสภาพภูมิอากาศร้อนชื้นของประเทศไทยส่งผลให้แต่ละภูมิภาคมีการเพาะปลูกพืชพันธุ์ที่แตกต่างกัน แม้ว่าจะมีจุดร่วมคือภูมิปัญญาหมักดองถนอมอาหารแต่การแปรรูปข้าว พืชผลไม้พื้นถิ่น สมุนไพรเหล่านี้ก็ยังต้องอาศัยภูมิปัญญาของชุมชนปราชญ์ ชาวบ้านที่ศึกษาและลงลึกในการหยิบจับส่วนผสมต่างๆ มาทดลองหมักบ่มผ่
นายสายันต์ ตันพานิช รองผู้ว่าการกลุ่มวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นางปริยะดา วิสุทธิแพทย์ ผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์วิสาหกิจ ดร. พงศธร ประภักรางกูร ผู้อำนวยการศูนย์เชี่ยวชาญความหลากหลายทางชีวภาพ พร้อมคณะนักวิจัยและนักวิชาการ วว. เข้าประชุมหารือความร่วมมือกับผู้บริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ ในการขับเคลื่อนศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปผลผลิตการเกษตรของจังหวัดแพร่ ซึ่งทาง อบจ.แพร่ อยู่ในระหว่างการเตรียมข้อมูลแนวทางการบริหารจัดการและจัดทำกรอบแผนงานในการขับเคลื่อนศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีฯ ดังกล่าว เพื่อนำเสนอพิจารณาในที่ประชุมสภา อบจ. และนำเสนอเรื่องต่อผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ในการขอใช้ประโยชน์ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีฯ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาผู้ประกอบการและกลุ่มวิสาหกิจในพื้นที่ ให้เกิดการสร้าง รายได้และยกระดับคุณภาพชีวิตให้ชุมชน โอกาสนี้ วว. ยังได้ลงพื้นที่ร่วมกับผู้แทน อบจ. ในการตรวจดูสถานที่ผลิตและให้คำแนะนำปรึกษาการดำเนินการผลิตสุราพื้นบ้าน ณ ถ้ำผานางคอย ซึ่งมีความต้องการเข้าร