ผสมเกสรสะละ
“สวนสะละ สามารถดูแลเพียงคนเดียวได้ แต่ไม่ควรปลูกเกิน 50 ต้น ทำเท่านี้ก็แทบไม่ได้หยุด เป็นงานพื้นดินที่ไม่หนัก ไม่เหนื่อย แต่ต้องใส่ใจคอยดูแล อาศัยระวังหนามเพียงอย่างเดียว เมื่อทำจนชำนาญก็ง่ายแล้ว” คุณสุพงษ์ คัมภีรกิจ (คุณแดง) ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 3 ตำบลถ้ำสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร เจ้าของ “สวนสละคุณเก๋” นับเป็นอีกหนึ่งในเกษตรกรที่เลือกปลูกสะละสุมาลี (พันธุ์ต้นบน) ในเนื้อที่กว่า 16 ไร่ เก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้ว จำนวน 750 ต้น โดยนำองค์ความรู้จากแหล่งต่างๆ เข้ามาประยุกต์ใช้กับสวนตนเอง ผลิตสะละพรีเมี่ยมเต็มเปี่ยมด้วยคุณภาพ จนได้รับคำชื่นชมถึงรสชาติอันหอมหวานถูกปาก จนมีลูกค้าทั้งในจังหวัดชุมพรและจังหวัดใกล้เคียงเข้ามาอุดหนุนอย่างไม่ขาดสาย คุณสุพงษ์ เล่าว่า ก่อนปลูกสะละได้ปลูกทุเรียนอยู่ก่อนแล้ว แต่ประสบปัญหาเชื้อราเข้าทำลายต้นทุเรียนต้องตัดทิ้งทั้งหมด ผนวกกับในช่วงเวลานั้น ภรรยา คุณสินีรัตน์ คัมภีรกิจ (คุณเก๋) ได้มีโอกาสไปช่วยเพื่อนบ้านทำสวนสะละแล้วเกิดแรงบันดาลใจว่า เขาปลูกเพียงแค่ 50-100 ต้น ก็สามารถสร้างรายได้ให้วันละไม่ต่ำกว่า 5,000-10,000 บาท นับเป็นการจุดประกายไฟฝันให้เริ่มหันม
คุณครูพนัส ศรีเขาล้าน วัย 62 ปี อยู่บ้านเลขที่ 213 หมู่ที่ 8 ตำบลเขาทะลุ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร เป็นครูเกษียณที่มีความสุขกับงานที่ทำ คือปลูกสะละ พร้อมทั้งเก็บผลผลิตอย่างต่อเนื่อง คุณครูพนัส ศรีเขาล้าน บอกว่า “จุดเริ่มต้นในการปลูกสะละมาจากความชื่นชอบทานระกำหวาน ก็เอาระกำมาปลูกก่อน ทีนี้น้องสาวเขาก็ได้แฟนเป็นคนจันทบุรี อำเภอท่าใหม่ เขาก็เอามาให้ชิม หลังจากได้ชิมในใจก็รู้สึกโอเคเลย ก็เลยไปนำต้นพันธุ์มาปลูกเลยในตอนนั้น ช่วงแรกๆ ต้นพันธุ์แพงมาก ตังค์ก็ไม่ค่อยมี ปลูกเนินวง 100 ต้น เริ่มต้นตั้งแต่นั้น หลังจากนั้นก็ทยอยปลูกมาเรื่อยๆ ปีละ 200-300 ต้น จนในที่สุดก็ประมาณ 1,000 กอ ได้แหละ ประมาณ 5-6 ปี ก็ไปเอาพันธุ์สุมาลีมาจากระยอง อำเภอแกลง เอามาปลูก ปีนั้นต้นพันธุ์ยังแพงมาก 800 บาท เอามา 100 ต้น จ่ายสดหมดเป็นแสนอยู่ตอนนั้น นำรายได้จากเนินวงมาเป็นทุนซื้อพันธุ์สุมาลี จากนั้นก็ขยายพันธุ์สุมาลี” คุณครูพนัส เผย “ช่วงแรกๆ สุมาลีดีมาก แต่ปัจจุบันนี้เนินวงค่อนข้างที่จะกลับมานิยมเนื่องจากผลผลิตมีได้เกือบตลอดทั้งปี ผลผลิตเนินวงกระจายเกือบทั้งปี อย่างสุมาลีนี่หมดก็คือหมด คนในพื้นที่ส่วนใหญ่ปลูกพันธุ์สุมาลีม