ผสมเทียม
ปัจจุบันการทำปศุสัตว์กำลังเป็นสิ่งที่ไม่ได้เกินความคาดฝันอีกต่อไป โดยสามารถใช้พื้นที่น้อยในการเลี้ยงได้ จะเห็นได้จากการใช้พื้นที่น้อยๆ ภายในบริเวณรอบบ้าน ทำการเลี้ยงไก่เพื่อบริโภคไข่ภายในครัวเรือน ตลอดไปจนถึงการเลี้ยงแบบปล่อยธรรมชาติ ก็สามารถเลี้ยงจนประสบผลสำเร็จสร้างเป็นรายได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งจังหวัดบึงกาฬเกษตรกรส่วนใหญ่ มีการทำสวนยางพาราเป็นอาชีพหลักที่สามารถเลี้ยงครอบครัวได้เป็นอย่างดี แต่ในบางช่วงราคาผลผลิตจากยางพารามีราคาตกต่ำ การมีอาชีพเสริมสำรองไว้เพื่อทดแทนจากการทำสวนยางจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ โดยการเลี้ยงปศุสัตว์เป็นอาชีพเสริมหลังกรีดยางก็สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้ด้วยเช่นกัน จึงได้มีการส่งเสริมให้เลี้ยงสัตว์ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นไก่งวงหรือโคเนื้อที่ตลาดยังมีความต้องการมากขึ้น คุณทองพูล สุรทัด อยู่บ้านเลขที่ 20 หมู่ที่ 4 ตำบลบึงกาฬ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ เป็นเกษตรกรต้นแบบของพี่น้องเกษตรกรรายอื่นๆ ในจังหวัดบึงกาฬ ที่สามารถเลี้ยงโคเนื้อแบบประณีตคือเลี้ยงในจำนวนที่ไม่มาก ดูแลได้ทั่วถึง ทำให้โคที่เลี้ยงมีสุขภาพดีเป็นที่ต้องการของตลาด โดยมีพ่อค้ามาจับจองขอซื้อถึงบ้านกัน
ในพื้นที่อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด แม้จะเป็นแหล่งแดนดินถิ่นอีสาน ที่เคยได้ชื่อว่าแห้งแล้งเหลือเกินนั้น ยังมีเรื่องของการเลี้ยงปลา ซึ่งต้องอาศัยแหล่งน้ำ และยึดการเลี้ยงปลาเป็นอาชีพทำกิน สร้างรายได้ให้กับครอบครัวมหาศาล คุณวิลัย แพงคำแสน วัย 56 ปี เจ้าของ “สมโชคพันธุ์ปลา” ตั้งอยู่เลขที่ 65 หมู่ที่ 5 บ้านนิคม ถนนแจ้งสนิท ตำบลนิเวศน์ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด ผู้มีงานประจำทำหน้าที่เป็นพนักงานขับรถยนต์ ของศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดร้อยเอ็ด คุณวิลัย เล่าย้อนให้ฟังว่า งานในหน้าที่คือพนักงานขับรถยนต์ ช่วงว่างช่วยงานด้านการผสมเทียมปลา เลี้ยงปลา จนเกิดความชำนาญระดับผู้เชี่ยวชาญด้านการผสมเทียมปลาน้ำจืดทุกชนิด เช่น ปลาดุกบิ๊กอุย ปลาดุกรัสเซีย ตัวละ 1 บาท ปลานิลจิตรลดา ถุงละ 100 บาท ปลาทับทิมใหญ่ ตัวละ 2 บาท ปลาหมอเทศ 80 ตัว 100 บาท ปลาตะเพียน ถุงละ 100 บาท ปลาแรด ตัวละ 5 บาท ปลากดเหลือง ตัวละ 1 บาท ปลากระโห้ ตัวละ 1 บาท ปลาสวายบิ๊กโพ ตัวละ 2 บาท ปลาจาระเม็ด ตัวละ 2 บาท ปลาไน ถุงละ 100 บาท ปลาบึก ตัวละ 200 บาท ปลานิลหมัน ตัวละ 2 บาท และปลาสลิด 80 ตัว 100 บาท “ผมสามารถเพาะพันธุ์โดยวิธีการ
“การทำฟาร์มนั้น เราต้องพัฒนาตัวเราขึ้นเรื่อยๆ พัฒนาโคพันธุ์ดี พัฒนาเทคโนโลยีการเลี้ยงก็ดี เทคโนโลยีการผสมพันธุ์ก็ดี เจ้าของฟาร์มต้องศึกษาหาความรู้เอาวิทยาการใหม่ๆ เข้ามาเสริมด้วย” หนึ่งในมุมมองของการประกอบอาชีพการทำฟาร์มเลี้ยงโคที่จะทำให้สามารถก้าวไปสู่ความสำเร็จของ คุณสัญญา สุภาพพรชัย กรรมการผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัดพรชัย อินเตอร์เทรด อดีตนายกสมาคมผู้บำรุงพันธุ์โคบราห์มันแห่งประเทศไทย ที่สำคัญ กรรมการผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัดพรชัย อินเตอร์เทรด ผู้นี้ เป็นหนึ่งในผู้นำการใช้เทคโนโลยีน้ำเชื้อที่ผลิตโดยเทคโนโลยีแยกเพศ (Sex Sourcing) ที่สามารถกำหนดเพศของลูกโคได้ผลสำเร็จถึงร้อยละ 90 จากต่างประเทศเข้ามาใช้เป็นเจ้าแรกในประเทศไทย ด้วยคุณสัญญาได้เห็นว่า ปัญหาของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคอย่างหนึ่งคือ การบริหารจัดการขยายตัวของฟาร์ม ไม่ว่าจะเป็นโคเนื้อหรือโคนม เจ้าของฟาร์มต่างตระหนักดีถึงปัญหาสำคัญนี้ ทั้งนี้ ฟาร์มโคเนื้อ โคนม ต่างล้วนมีความต้องการลูกโคตรงตามเพศที่ต้องการเพิ่มประชากรโคให้มีจำนวนที่ต้องการ แม้ว่าการผสมเทียมจะเป็นวิธีการที่สำคัญในการเพิ่มปริมาณโค แต่ก็ยังกำหนดเพศของลูกโคไม่ได้ผลตามเป้า