ผักป่า
“ผักสาบ” ผักป่า มากคุณค่าของไทย ผักสาบ เป็นพืชผักในวงศ์เสาวรส หรือ กะทกรก PASSIFLORACEAE มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Adenia viridiflora craib ชื่อเรียกในท้องถิ่นต่างๆ ของไทย เช่น ภาคกลาง เรียก ผักอีนูน ผักอะนูน คนเมืองกาญจน์ เรียก นางนูน ทางภาคเหนือ อีสาน เรียก ผักสาบ เป็นไม้เถาเลื้อย อายุยืนหลายปี เป็นไม้ป่าที่ชาวบ้านป่า หรือพรานป่ารู้จักในชื่อ “เครือน้ำ” เมื่อเวลาเดินป่า ขาดน้ำกิน หาน้ำจากห้วยหนองไม่มี ก็อาศัยตัดเถา หรือเครือผักสาบรองกินน้ำที่หยดออกมาจากเถานั้นได้ เป็นเถาไม้ที่ดูดอมน้ำไว้ในเถา คนที่รู้จักจะอนุรักษ์ไม้เถาชนิดนี้ไว้ ไม่ให้ตัดฟันให้เกิดแผลโดยไม่จำเป็น ต้นผักสาบจะตายได้ เพราะถ้าเกิดแผลตัด น้ำที่สะสมดูดอมไว้จะไหลออกมาหมดจนเถาแห้งต้นตายได้ เถาเล็กๆ ที่ให้ยอดใบที่อ่อนนุ่มเป็นอาหาร เถาใหญ่ให้ดอกผลเป็นอาหารเช่นกัน เถาเล็กสีเขียว ส่วนปลายยอดสีม่วงแดง เมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาล ผิวขรุขระเล็กน้อย เห็นเนื้อไม้ชัดเจน เถาใหญ่ส่วนโคนต้น บางเถาโตมากกว่า 3 เซนติเมตร มีมือเกาะที่แตกแขนงได้ ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ก้านใบสั้น แผ่นใบรูปหัวใจ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ใบสีเขียว เนื้อใบหนา เห็นเส้นใบชั
หนูเป็นสาวใต้ลูกน้ำเค็ม สาวชนบทพื้นบ้านที่ชอบอยู่ในป่าธรรมชาติรอบๆ หมู่บ้าน แต่เด่นดังเพราะเคยมีเรื่องราวของหนูถูกนำไปเขียนไว้ในหนังสือประกอบงานสมัชชาเกษตรกรรมทางเลือก ครั้งที่ 2 ในงานมหกรรมเกษตรและอาหารปลอดสารพิษ จัดที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เกือบ 20 ปีมาแล้ว โดยเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก ได้ให้สมญานามว่า “ผักเหมียง…ราชินีแห่งผักพื้นบ้านภาคใต้” แม้ว่าได้ชื่อเป็นราชินีแห่งผักพื้นบ้าน แต่หนูก็ไม่ได้ใฝ่ฝันที่จะเข้าเป็นสาวเมืองกรุง อาจเป็นเพราะว่าชื่อของหนูเรียกเพี้ยนๆ คล้ายๆ กันแต่ละจังหวัดภาคใต้ และเวลาออกเสียงเป็นภาษาใต้ สำเนียงหนังตะลุง คนกรุงมักจะต้องถามว่า “ผักอะไรนะ?” “ชื่ออะไรนะ?” หนูรำคาญมาก เขาชอบพูดกันว่าชื่อแปลกดี แล้วยังออกเสียงยากอีก ถ้าจะเรียกชื่อหนูว่า “หนูเหมียง” ก็ฟังไม่เพราะ เรียก “ผักเหลียง” ก็ฟังแล้วบ้านน๊อกบ้านนอก คนในเมืองจึงเรียกหนูว่า “ใบเหลียง” หนูว่าน่ารักดี ความจริงหนูมีถิ่นกำเนิดในเอเชียคาบสมุทรมลายู แต่กระจายขึ้นมาอยู่ทางภาคใต้ ที่ กระบี่ พังงา ระนอง สุราษฎร์ธานี ชุมพร และหนูก็มีหลายสายพันธุ์ ในเมืองไทยตระกูลของหนูก็เป็น Var. Tenerum เป็นพืชผักป่าธรรมชาต