ผักพื้นถิ่นภาคใต้
หนูเป็นสาวใต้ลูกน้ำเค็ม สาวชนบทพื้นบ้านที่ชอบอยู่ในป่าธรรมชาติรอบๆ หมู่บ้าน แต่เด่นดังเพราะเคยมีเรื่องราวของหนูถูกนำไปเขียนไว้ในหนังสือประกอบงานสมัชชาเกษตรกรรมทางเลือก ครั้งที่ 2 ในงานมหกรรมเกษตรและอาหารปลอดสารพิษ จัดที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เกือบ 20 ปีมาแล้ว โดยเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก ได้ให้สมญานามว่า “ผักเหมียง…ราชินีแห่งผักพื้นบ้านภาคใต้” แม้ว่าได้ชื่อเป็นราชินีแห่งผักพื้นบ้าน แต่หนูก็ไม่ได้ใฝ่ฝันที่จะเข้าเป็นสาวเมืองกรุง อาจเป็นเพราะว่าชื่อของหนูเรียกเพี้ยนๆ คล้ายๆ กันแต่ละจังหวัดภาคใต้ และเวลาออกเสียงเป็นภาษาใต้ สำเนียงหนังตะลุง คนกรุงมักจะต้องถามว่า “ผักอะไรนะ?” “ชื่ออะไรนะ?” หนูรำคาญมาก เขาชอบพูดกันว่าชื่อแปลกดี แล้วยังออกเสียงยากอีก ถ้าจะเรียกชื่อหนูว่า “หนูเหมียง” ก็ฟังไม่เพราะ เรียก “ผักเหลียง” ก็ฟังแล้วบ้านน๊อกบ้านนอก คนในเมืองจึงเรียกหนูว่า “ใบเหลียง” หนูว่าน่ารักดี ความจริงหนูมีถิ่นกำเนิดในเอเชียคาบสมุทรมลายู แต่กระจายขึ้นมาอยู่ทางภาคใต้ ที่ กระบี่ พังงา ระนอง สุราษฎร์ธานี ชุมพร และหนูก็มีหลายสายพันธุ์ ในเมืองไทยตระกูลของหนูก็เป็น Var. Tenerum เป็นพืชผักป่าธรรมชาต