ผักริมรั้ว
ในบรรดาพืชผักที่เป็นที่นิยมและรู้จักของคนไทย เชื่อแน่ว่าคงมีไม่กี่คนที่ไม่รู้จัก “ผักตำลึง” โดยเฉพาะชาวชนบททั่วทุกภาคของไทยเรา มีผักชนิดนี้ขึ้นประดับผืนไร่ สวนข้างรั้วหลังบ้าน หน้าบ้าน เป็นไม้เถาที่มากประโยชน์ ขึ้นง่ายกับที่ดินทุกชนิด โดยเฉพาะย่างเข้าหน้าฝน จะอวดยอดอวบอ้วนพร้อมมือจับที่ม้วนงอ แกว่งไหวกระดุกกระดิกคล้ายส่ายเสาะ หาที่เกาะปีนป่ายขึ้นอวดโฉมชูยอด จริงหรือที่มีคนเล่าว่า ถ้ากินผักตำลึงหน้าฝนจะเป็นไข้ ปวดท้อง คนเก่าแก่ในชนบทเล่าให้ฟังเหมือนกันว่า หน้าฝนยิ่งมีฝนตกหนักๆ ไปเก็บยอดตำลึงมาต้มแกงกินจะมีอาการไข้ไม่สบาย ปวดท้อง เห็นกันมาบ่อยๆ ก็เล่าต่อกันมา จริงเท็จอย่างไรมาช่วยกันไขปริศนานี้กันให้ที จากทฤษฎีร้อนเย็น ซึ่งเป็นความเชื่อมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณแพร่หลายมาสู่พ่อค้าชาวอาหรับ ชาวสเปนและกลายเป็นความเชื่อขั้นพื้นฐานของการแพทย์แบบดั้งเดิม และในปัจจุบันทฤษฎีร้อนเย็นยังมีแพร่หลายอยู่ทั่วไป จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย และแถบละตินอเมริกา ในทฤษฎีร้อนเย็นกล่าวถึงอาหารคือ อาหารร้อน จะมีฤทธิ์กระตุ้น เช่น อาหารรสเผ็ด รสหวาน อาหารทอด ส่วนอาหารเย็น จะมีฤทธิ์ยับยั้งทำให้ร่างกายรู้สึกเย็นจนกลาย
เดินผ่านรั้วสังกะสีแถวออฟฟิศสายตาไปปะทะกับ “มะอึก” ผักเคียงที่เด็กรุ่นใหม่ไม่ค่อยรู้จัก ยกเว้นคอน้ำพริก แค่ฝานเป็นแว่น โขลกกับน้ำพริก ช่วยเพิ่มรสชาติได้อย่างวิเศษ ไม่เพียงแค่นั้น ความเริ่ดของมะอึกยังมีบทบาทสำคัญในการรักษาสุขภาพ เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย นอกจากมีเบต้าแคโรทีนสูง (สารตั้งต้นของวิตามินเอ) มะอึก 100 กรัม จะให้พลังงานต่อร่างกาย 53 กิโลแคลอรี แบ่งเป็นเส้นใย 3.6 กรัม แคลเซียม 26 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 41 มิลลิกรัม เหล็ก 0.8 มิลลิกรัม วิตามินบี 1-0.07 มิลลิกรัม วิตามินบี 2-0.05 มิลลิกรัม ไนอะซิน 4.9 มิลลิกรัม วิตามินซี 3 มิลลิกรัม “ผลสด” ช่วยบรรเทาอาการไอ ละลายเสมหะ “ดอก” ช่วยรักษาอาการคัน “ราก” ซึ่งมีรสเย็นและเปรี้ยวเล็กน้อยมาปรุงเป็นยาแก้ปวด ลดไข้ แก้ไขที่มีอาการชักกระตุก แก้ไขสันนิบาต แก้น้ำลายเหนียว กัดฟอกเสมหะ ดับพิษร้อนภายใน ช่วยกระทุ้งพิษไข้ให้ออกตุ่มอย่างอีสุกอีใส เหือด หรือหัดเยอรมัน หัด และอื่นๆ อีกมากมาย แม้กระทั่ง “ขน” มะอึก ขูดรวมกันผสมกับไข่ นำไปทอดเป็นไข่เจียวแก้พยาธิได้ดี ฉะนั้น ขอแนะนำให้หามาปลูกไว้ข้างรั้วสักต้น แค่มีดินปนทราย น้ำไม่ต้องมาก แมลงก็ไม่ค่อยกวน
ดอกขจร หรือ ดอกสลิด (Cowslip creeper) ชื่อวิทยาศาสตร์ Telosma minor Craib. วงศ์ ASCLEPIADACEAE หน้าร้อนปีนี้กว่าจะคืบคลานผ่านไปได้ สิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดเกือบโดนแดดแผดเผา…โชคดีที่หยาดน้ำจากฟากฟ้าได้รินรดพรมให้โลกคลายร้อนทันท่วงที พร้อมกันนั้นดอกไม้ป่าก็ผุดดอกออกมาชูช่อกันสลอน สิ่งกลิ่นหอมฟุ้งไปทั่วดินแดนอันเงียบสงบ …เจ้าช่อดอกไม้เอย เจ้าดอกขจร นกขมิ้นเหลืองอ่อน ค่ำแล้วจะนอนที่ไหนเอย เจ้าช่อดอกไม้เอ๋ย เจ้าดอกขจร ฉันร่อนเร่พเนจร ไม่รู้จะนอนไหนเอย… (บทเพลงนกขมิ้น) ดอกขจร หรือ ดอกสลิด เป็นพืชที่คุ้นเคยที่เกิดขึ้นตามป่า เป็นพืชพื้นบ้านดั้งเดิมของไทยเราอีกชนิดหนึ่ง และเป็นพืชทางเลือกใหม่ของเกษตรกร “สลิด” เป็นชื่อที่คนไทยใช้เรียกกันทั่วไป แต่ชื่อ “ขจร” เป็นชื่อทางการ หรือชื่อใช้ในการเขียน เพราะถือว่าเป็นคำสุภาพ ยอดอ่อนและผลอ่อนของดอกขจร ใช้กินเป็นผักได้ ทั้งเป็นผักจิ้ม ผัด หรือแกง ปัจจุบัน ยังพบว่ามีการขายในตลาดผักทั่วไป แสดงว่าคนไทยยังนิยมกินดอกขจรกันอยู่เช่นในอดีต ดอกขจรปลูกง่าย แข็งแรง ขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิด ชอบแดดจัด จึงใช้ปลูกเลื้อยคลุมนั่งร้าน หรือตามรั้ว มักออกดอกช
ไม่ชอบเดินตามซุปเปอร์มาร์เก็ต แต่ถ้าตามตลาดนัดหรือตลาดน้ำ หากมีเวลาหรือวันไหนที่ไม่ร้อนมากนัก เป็นต้องไปทุกครั้ง ตามตลาดน้ำ ตลาดนัดมีของให้ดูให้ชม โดยเฉพาะตลาดน้ำ มีของให้ชิมมากมาย ส่วนมากก็เป็นพืชผลผลิตของชาวบ้าน พืชผักพื้นถิ่นบางชนิด ไม่คุ้นตา ไม่รู้จัก ก็ได้แต่ทายทัก ไถ่ถามแม่ค้าอารมณ์ดีที่เป็นชาวบ้านแถวนั้น แม่ค้าบางคนถ้าพูดจาถูกปากถูกคอ ทั้งแจกทั้งแถมกันเลยทีเดียว ตลาดน้ำจึงเป็นตลาดของชาวบ้าน เพื่อชาวบ้านและชาวเราโดยแท้ เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาได้แวะเวียนไปตลาดน้ำวัดลำพญา ซึ่งอยู่ในจังหวัดนครปฐม ไปถึงแทบจะหาที่จอดรถไม่ได้ แน่นไปหมด ผู้คนมาจากสารทิศ ซึ่งดูได้จากป้ายทะเบียนรถของแต่ละคัน ลงจากรถเดินดุ่มสู่ตลาด ของกินของใช้ ของสด ของแห้ง ดูละลานตา หันไปเห็นยอดฟักข้าวและเสาวรส เลยซื้อติดมือมาอย่างละกำ ด้วยแม่ค้าหน้าตาดี อายุน่าจะเจ็ดสิบ พูดจาฉอเลาะ ริมฝีปากแดงเปรอะไปด้วยน้ำหมาก จึงได้พูดคุยกันถูกคอ และซักไซ้ไล่เลียง จนได้ความว่า สามีเป็นคนปลูก (มีสามีซะแระ) ไว้ตามรั้วบ้าน ด้วยบ้านอยู่ใกล้แม่น้ำ พวกผักเหล่านี้จึงอวบอูมงดงาม อยากไปเยี่ยมชมถึงเรือนชาน แต่ก็ให้เกรงใจสามีของเธอ แต่ไหนแต่ไรมา
จนกระทั่งจวนหมดฤดูฝน ผมถึงนึกได้ว่า ผมยังไม่ได้เล่าแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเก็บพืชผักอาหารข้างทาง ที่ผมทำมาตลอดช่วงหลายปีนี้ให้ฟังกันเลย วันนี้จึงจะขอเล่าเรื่องวิถีชีวิตพื้นๆ ธรรมดาๆ ที่ผมทำในบางวัน เผื่อว่าบางคนจะอยากลองทำดูบ้างนะครับ ปีนี้ ผมย้ายมาพักอาศัยแถบชายขอบเมืองฝั่งธนบุรีด้านตะวันตกสุด ในพื้นที่ลุ่มน้ำคลองภาษีเจริญและคลองสาขาที่เป็นพื้นที่นาและสวนเก่า ซึ่งแต่เดิม คงเป็นพื้นที่ดินเค็ม น้ำกร่อย เพราะเห็นมีพืชสกุลป่าชายเลนขึ้นอยู่บ้างประปราย และแม้ว่าจะเป็นเขตบ้านจัดสรรไปแล้วหลายต่อหลายแห่ง ทว่าก็ไม่ได้ตั้งกันหนาแน่นนัก ยังมีพื้นที่ว่างเปล่า ทั้งริมคลอง สวนร้าง ป่าโปร่งข้างทาง ที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ตามแบบการจัดสรรพื้นที่เมืองใหญ่อยู่มาก สำหรับคนที่นิยมการออกกำลังกายโดยการเดิน วิ่งจ๊อกกิ้ง หรือชอบขี่จักรยานแบบผม นี่นับเป็น “พื้นที่สีเขียว” ที่มีความหลากหลายของวิวทิวทัศน์ ผู้คนและกิจกรรม ร้านอาหารค่อนข้างดี และสำหรับคนทำอาหารผู้ชอบแสวงหาวัตถุดิบธรรมชาติ ย่อมเป็นพื้นที่ที่เต็มไปด้วยความสนุกตื่นเต้น ท้าทาย สภาพพื้นที่กึ่งป่า กึ่งสวน กึ่งเมืองเช่นนี้คงมีทั่วทุกภาคของประเทศนะครับ และย