ผักเหมียง
ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร หรือเรียกย่อๆ ว่า ศพก. โดย กรมส่งเสริมการเกษตร ได้จัดตั้ง ศพก. ขึ้นทั่วประเทศ อำเภอละ 1 ศูนย์ รวมเป็น 882 ศูนย์ เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรของชุมชนสำหรับแก้ไขปัญหาของชุมชน และสามารถตอบสนองความต้องการด้านการเกษตรของชุมชนได้ และเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการเกษตรโดยเน้นการเรียนรู้จากเกษตรกรต้นแบบที่ประสบความสำเร็จในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรในประเด็นการเพิ่มผลผลิต การลดต้นทุนการผลิต การพัฒนาคุณภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการผลิต ตลอดจนยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คุณวสันต์ สุขสุวรรณ เกษตรจังหวัดตรัง ได้ขับเคลื่อนการดำเนินงานของ ศพก. โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องตลอดฤดูกาลผลิต เกษตรกรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเกษตรกรต้นแบบในลักษณะของเกษตรกรสอนเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรที่มาเรียนรู้เกิดความรู้ความเข้าใจและเกิดจิตสำนึกในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรที่มีการใช้ปัจจัยการผลิตได้อย่างเหมาะสม และนำองค์ความรู้ที่ได้รับจาก ศพก. ไปปรับใช้เพื่อลดต้นทุนการผลิต เพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิต ผลิตสินค้าที่ค
หนูเป็นสาวใต้ลูกน้ำเค็ม สาวชนบทพื้นบ้านที่ชอบอยู่ในป่าธรรมชาติรอบๆ หมู่บ้าน แต่เด่นดังเพราะเคยมีเรื่องราวของหนูถูกนำไปเขียนไว้ในหนังสือประกอบงานสมัชชาเกษตรกรรมทางเลือก ครั้งที่ 2 ในงานมหกรรมเกษตรและอาหารปลอดสารพิษ จัดที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เกือบ 20 ปีมาแล้ว โดยเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก ได้ให้สมญานามว่า “ผักเหมียง…ราชินีแห่งผักพื้นบ้านภาคใต้” แม้ว่าได้ชื่อเป็นราชินีแห่งผักพื้นบ้าน แต่หนูก็ไม่ได้ใฝ่ฝันที่จะเข้าเป็นสาวเมืองกรุง อาจเป็นเพราะว่าชื่อของหนูเรียกเพี้ยนๆ คล้ายๆ กันแต่ละจังหวัดภาคใต้ และเวลาออกเสียงเป็นภาษาใต้ สำเนียงหนังตะลุง คนกรุงมักจะต้องถามว่า “ผักอะไรนะ?” “ชื่ออะไรนะ?” หนูรำคาญมาก เขาชอบพูดกันว่าชื่อแปลกดี แล้วยังออกเสียงยากอีก ถ้าจะเรียกชื่อหนูว่า “หนูเหมียง” ก็ฟังไม่เพราะ เรียก “ผักเหลียง” ก็ฟังแล้วบ้านน๊อกบ้านนอก คนในเมืองจึงเรียกหนูว่า “ใบเหลียง” หนูว่าน่ารักดี ความจริงหนูมีถิ่นกำเนิดในเอเชียคาบสมุทรมลายู แต่กระจายขึ้นมาอยู่ทางภาคใต้ ที่ กระบี่ พังงา ระนอง สุราษฎร์ธานี ชุมพร และหนูก็มีหลายสายพันธุ์ ในเมืองไทยตระกูลของหนูก็เป็น Var. Tenerum เป็นพืชผักป่าธรรมชาต
หลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ นำพาเกษตรกรให้อยู่รอด ท่ามกลางภาวะราคาเศรษฐกิจตกต่ำ ดังคำยืนยันของเกษตรกรรายนี้ คุณปรีชา พลันการ อยู่บ้านเลขที่ 9/15 หมู่ที่ 7 ตำบลมะรุ่ย อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา นำหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาปรับใช้ในไร่นาของตนเอง โดยการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสาน ปลูกผักเหมียงในระหว่างสวนยางพาราและเลี้ยงโคขุน นอกจากเป็นการลดความเสี่ยงในการทำกิจกรรมการเกษตรเชิงเดี่ยวแล้ว สามารถใช้แรงงานในครัวเรือนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด สมาชิกในครัวเรือนได้ทำกิจกรรมร่วมกัน ทำให้ครอบครัวเกิดความรัก สามัคคี และไม่มีปัญหาในสังคม คุณปรีชา เล่าว่า เดิมทีปลูกยางพาราเพียงอย่างเดียว ซึ่งในช่วงแรกยางพาราราคาดีก็ไม่ได้คิดที่จะทำอาชีพเสริมเพิ่มเติม ต่อมายางพาราเริ่มราคาตกต่ำ ตนจึงได้มีความคิดว่าต้องทำอะไรเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว ประกอบกับสำนักงานเกษตรจังหวัดพังงาและสำนักงานเกษตรอำเภอทับปุดได้ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกผักเหมียง ซึ่งเป็นผักพื้นเมืองประจำถิ่นของจังหวัดพังงา และเป็นพืชที่ตลาดมีความต้องการมาก จึงได้สมัครเข้าร่วมโครงการ โดยได