ผักไร้ดิน
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดเชียงราย (พืชสวน) นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการปลูกผักไร้ดิน โดยไม่ต้องใช้สารละลายธาตุอาหารพร้อมกับเลี้ยงปลา ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ว่าที่ร้อยตรี ดร.สมสวย ปัญญาสิทธิ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดเชียงราย (พืชสวน) ได้ดำเนินการศึกษาทดลองการปลูกผักไร้ดินโดยไม่ต้องใช้สารละลายธาตุอาหารร่วมกับการเลี้ยงปลา เพื่อลดต้นทุนและได้ผลสำเร็จ เกษตรกรสามารถทำได้ไม่ยุ่งยาก โดย นายสมถวิล ขัดสาร ผู้อำนวยการศูนย์ ให้รายละเอียดว่า การปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกส์นั้นหลายคนคิดว่าได้ผักออร์แกนิกส์/ปลอดสาร ซึ่งในความจริงแล้ว ไม่ได้ปลอดสาร เนื่องจากสารละลายธาตุอาหารที่ใช้ในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์นั้นเป็นปุ๋ยเคมี ที่ถูกนำมาผสมดัดแปลงเพื่อให้เหมาะสมในการปลูกโดยไม่ต้องใช้ดิน และไม่ทำอันตรายกับระบบรากของพืช ปัจจุบันได้มีระบบใหม่ในการผลิตอาหารปลูกผักอย่างยั่งยืน เรียกว่า ระบบอควาโพนิกส์ (Aquaponics) แนวคิดของระบบนี้ก็คล้ายกับการปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกส์โดยทั่วไป เพียงแต่สารอาหารที่ส่งให้พืชนั้น นำ
ช่วงไม่กี่ปีมานี้ จะเห็นคนรุ่นใหม่หันมาประกอบอาชีพเกษตรกรรมกันมากขึ้นเรื่อยๆ หลายคนประสบความสำเร็จในระยะเวลาไม่กี่ปี เนื่องจากนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย พร้อมใช้รูปแบบการบริหารจัดการสมัยใหม่ รวมถึงการทำตลาดที่ใช้โซเชียลมีเดียควบคู่กับการขายทั่วไป คุณกาญจนา ลากุล เจ้าของ นโม ฟาร์ม (Namo Farm) ซึ่งตั้งอยู่ บ้านเลขที่ 212 หมู่ที่ 8 บ้านคำตานา ตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอทุ่งฝน จังหวัดอุดรธานี ก็เป็นคนหนุ่มสาวอีกรายที่หันมาเอาดีในการทำเกษตร โดยเริ่มทำเมื่อปี 2556 หลังจากก่อนหน้านี้เคยเปิดกิจการร้านขายอาหารสัตว์และขายปุ๋ย เมื่อมาเป็นเกษตรกรเต็มตัว ในปี 2556 เธอจึงได้ใช้วิชาบริหารธุรกิจ ในระดับ ปวส. ที่ร่ำเรียนมาใช้ในเรื่องการตลาด รวมถึงความรู้ที่ได้จากการเรียนระดับปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร.) ขอนแก่น พร้อมกันนั้นยังได้รวบรวมเกษตรกรในพื้นที่ตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนผักไร้ดินปลอดสารพิษ บ้าน คำตานา มีสมาชิก 10 ครอบครัว โดยเธอรับหน้าที่เป็นประธานวิสาหกิจชุมชนฯ แหล่งศึกษาดูงานเกษตรอินทรีย์ วันนี้ใช่แต่พืชผักผลไม้ของวิสาหกิจชุมชนผักไร้ดินปลอดสารพิษฯ ภายใต้ชื่อแบรนด์ “นโม ฟาร์ม” จะขายดีแล้ว คุณ
วันนี้ได้รับการเชิญชวนจาก คุณขจรศักดิ์ เบ็ญชัย อาชีพทนายความ และอดีต ส.อบจ. สกลนคร เขตอำเภอวานรนิวาส และทำการเกษตร ปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ ให้เดินทางไปชมแปลงปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ในพื้นที่บ้านห้วยแสง ตำบลหนองแวง อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร สิ่งที่น่าสนใจเพราะเป็นคนรุ่นหนุ่มสาว หลังเรียนจบมักจะทำงานราชการ แต่กลับมาปลูกพืชผัก ส่งขายรายได้เลี้ยงครอบครัวและเป็นรายใหญ่ของสกลนคร จุดนัดพบกันอยู่ที่หน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร คุณขจรศักดิ์ เบ็ญชัย ได้ให้เกียรติขับรถมารับ ในเช้าวันนี้ วันที่อากาศขมุกขมัว ท่ามกลางอากาศที่เปื้อนฝุ่น พี เอ็ม 2.5 (PM 2.5) รุนแรง ในสภาวการณ์ฝุ่นละออง ต้องสวมเครื่องกันฝุ่น เพื่อความปลอดภัย จากสภาพที่เห็นในปัจจุบัน สภาพแล้งร้อนเริ่มรุมเร้าและมีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ หลังจากเตรียมตรวจสอบอุปกรณ์ครบ คุณขจรศักดิ์ ทนายความที่ชื่นชอบการเกษตรเป็นผู้ทำหน้าที่สารถีเอง มุ่งหน้าไปตามถนนสายสกลนคร-อุดรธานี ราว 30 นาที หลุดออกมาจากตัวเมืองสกลนคร เข้าสู่เขตอำเภอพรรณานิคม มองสองฟากฝั่งข้างถนน มีบางช่วงจะพบกับคลองชลประทานจากเขื่อนน้ำอูน เห็นน้ำในคลองไหลรินเอื่อยๆคาดการณ์ว่าน่าจะมี
ที่บ้านเลขที่ 49/3 หมู่ 5 ต.ตะเสะ อ.หาดสำราญ จ.ตรัง นางภัชรวดี เจริญฤทธิ์ อายุ 43 ปี หันมาใช้พื้นที่ว่างข้างบ้าน ประมาณ 2 งาน เพื่อปลูกขึ้นฉ่ายจีนแบบไร้ดินจำนวนหลายพันต้น โดยใช้ระบบน้ำไหลเวียนให้ปุ๋ยอินทรีย์ สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ใช้เวลาปลูกประมาณ 50 วัน ก็สามารถเก็บขายได้ ในราคากิโลกรัมละ 60-70 บาท แต่หากเป็นหน้าฝนขึ้นฉ่ายก็จะมีราคาสูงขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 160-180 บาท หรือกว่า 1 เท่าตัว ซึ่งหลังทดลองปลูกเป็นรายแรกใน อ.หาดสำราญ จ.ตรัง จนประสบความสำเร็จ จึงได้ขยายโรงเรือนเพิ่มอีกจำนวนหลายหลังในพื้นที่ อ.ปะเหลียน จ.ตรัง เพื่อให้ผลผลิตเพียงพอต่อความต้องการของตลาด ซึ่งปลูกขายมาแล้วกว่า 1 ปี สามารถเก็บขายได้วันละไม่ต่ำกว่า 50-100 กิโลกรัม สร้างรายได้กว่า 5,000 บาท ต่อวัน นางภัชรวดี เป็นภรรยาของ พ.ต.ท.นายหนึ่ง สังกัด สภ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช แต่หันมาคิดต่างด้วยการใช้ที่ดินของตน ปลูกขึ้นฉ่าย ซึ่งเกษตรกรรายอื่นใน อ.หาดสำราญ ยังไม่มีใครปลูก เพราะคิดว่าการปลูกแบบไร้ดินจะดูแลยุ่งยาก และเสียค่าใช้จ่ายมากกว่า แต่ความจริงแล้ว เป็นการลงทุนแค่ครั้งเดียว สำหรับค่าวัสดุอุปกรณ์ ส่วนระยะเวลาการปลูกแบบไร้ดินก็
การบริโภคอาหารที่มีสารเคมีตกค้าง ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์อย่างมาก หลายคนพยายามหลีกเลี่ยงสารเคมีตกค้างโดยเลือกบริโภคพืชผลปลอดสารพิษที่ปลูกในระบบเกษตรอินทรีย์ แต่สินค้าเกษตรอินทรีย์ มีราคาค่อนข้างแพงสักหน่อย หากใครอยากปลูกผักกินเอง ลองคิดนอกกรอบดูบ้าง โดยทดลองปลูกผักไร้ดินบนต้นกล้วยเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง การเพาะต้นกล้า เมล็ดผักพันธุ์ดี มักมีราคาแพงมาก บางชนิดมีราคาแพงมาก เรียกว่า นับเมล็ดขาย วิธีเพาะเมล็ดพันธุ์โดยการหว่านเมล็ดพันธุ์ลงในแปลงกล้า จะได้ต้นกล้าที่มีคุณภาพดีน้อย และเสียหายค่อนข้างมาก เพราะต้นกล้าส่วนหนึ่งจะถูกทำลายโดยด้วงหมัดผัก ซึ่งเป็นศัตรูที่สำคัญมากของผักทุกชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะกล้า และเมื่อย้ายไปปลูกในแปลงปลูกต้นกล้าก็จะช้ำ หรือเหี่ยวเฉาหรือบางต้นอาจเน่าตายไปเลย ทำให้มีต้นทุนในการเพาะปลูกผักที่สูงมาก วิธีใช้เมล็ดพันธุ์อย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ การตกกล้าลงในกระบะเพาะ หลุมละ 1 เมล็ด ดินสำหรับเพาะกล้า อาจใช้ปุ๋ยหมักที่ได้จากการหมักมูลสัตว์ผสมกับเศษพืชผักที่เหลือจากการเก็บเกี่ยว ขุยมะพร้าวหรือขี้เลื้อย และหรือเศษวัสดุอื่นๆ หมักจนได้ที่แล้วจึงนำมาร