ผ้าไทย
“คนเก่ง มทร.ศรีวิชัย” นางสาวจัฟฟา ลาเต๊ะ ได้รับรางวัลชมเชย นางสาวสิรินยา สุจริต นางสาวประภากร มณีพิสุทธิพันธ์ และ นายประพนธ์ ชนะพล” ผู้เข้ารอบ 40 ทีมสุดท้าย ในโครงการสร้างการรับรู้การส่งเสริมการออกแบบตัดเย็บผ้าไทย ภายใต้โครงการ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ในงาน OTOP Midyear 2023 ดำเนินงานโดย กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาการออกแบบ อาจารย์ณัฐชนา นวลยัง และ ดร.นวัทตกร อุมาศิลป์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ณ อาคารชาเลนเจอร์ 2 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ผลงานได้รับแรงบันดาลใจมาจากลวดลายของซุ้มประตูวันฮารีรายอ (Pintu Gerbang Satu Bangsa melayu) และลวดลายพรรณพฤกษา ลายปักษาสวรรค์ ซึ่งเป็นลวดลายจากบล็อกพิมพ์บาติกโบราณ โดยใช้ผ้าจากอุทยานผ้าปาเต๊ะชุมชนบาโงเปาะเล็ง (ปาเต๊ะไทยแลนด์) และผู้ประกอบการ Saloma Patek อำเภอสุไหงโก-ลก นราธิวาส และในกระแสที่โลกกำลังเผชิญกับสภาวะสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ เกิดขยะทางด้านสิ่งทอจำนวนมาก ผู้ออกแบบจึงนำแนวคิดเพื่อความยั่งยืน (Sustainable
นายสิทธิศักดิ์ ทองใย นักศึกษาหลักสูตรการออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอ สาขาศิลปกรรมและออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ศรีวิชัย ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับ ภาคใต้ การประกวด SACIT AWARD 2022 ผ้าไทยใส่ได้ทุก Gen (GenX) เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2565 ณ เซ็นทรัลเฟสติวัล หาดใหญ่ สำหรับแฟนๆ นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน หากต้องการนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านรายปักษ์ ส่งตรงถึงบ้าน รวดเร็วทันใจอ่านได้ในทุกๆ 15 วัน สามารถสมัครสมาชิกได้ที่ คลิกลิ้ง https://shorturl.asia/0zJwQ 📲- Line: @matichonbook หรือ สำนักพิมพ์มติชน เลขที่ 12 ถนนเทศบาลนฤมาล หมู่บ้านประชานิเวศน์ 1 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 ติดต่อฝ่ายขาย 02-589-0020 ต่อ 3354
กรมการพัฒนาชุมชน (พช.) พัฒนาศักยภาพผู้ผลิต ผู้ประกอบการสินค้า OTOP กลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา (Quadrant D) ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย เฟ้น 43 ผลิตภัณฑ์ เข้าสู่การทดสอบตลาด เพื่อเพิ่มมูลค่า เพิ่มรายได้ให้กับชุมชน วันนี้ (3 กรกฎาคม 2565) นายสุรศักดิ์ อักษรกุล รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมทดสอบตลาด “Start to Style” โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP กลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา (Quadrant D) ให้มีคุณภาพมาตรฐาน กิจกรรมที่ 1 พัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์ OTOP กลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา (Quadrant D) ประเภทผ้าเครื่องแต่งกาย โดยมีผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์จำนวน 43 ผลิตภัณฑ์ เข้าร่วมงาน พร้อมนำสินค้าและผลิตภัณฑ์จากผ้ามาจำหน่ายให้กับประชาชนทั่วไป โดยงานจะมีไปจนถึงวันที่ 5 กรกฎาคม นี้ ณ ลานโปรโมชั่น ชั้น G ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ จังหวัดนนทบุรี นายสุรศักดิ์ อักษรกุล รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เปิดเผยว่า ที่ผ่านมากรมฯ ได้มีการจัดฝึกอบรมให้กับผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการฯ โดยจัดหาผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้เฉพาะด้าน มาถ่ายทอดประสบการณ์ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถผลิตสินค้
เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ห้องประชุมคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ โรงแรมบุรีศรีภู อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา คุณสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานพิธีเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ OTOP ผ้าไทย (Coaching ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา) โดยมี คุณสมคิด จันทมฤก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดทำโครงการ พร้อมด้วย คุณเจษฎา จิตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา คุณรติรส จุลชาต กรรมการที่ปรึกษาโครงการผ้าไทยใส่ให้สนุก หัวหน้าส่วนราชการ พัฒนาการจังหวัด ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไทย และผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ผ้าไทย เข้าร่วม โครงการพัฒนาศักยภาพและเพิ่มช่องทางการตลาดให้กับผู้ประกอบการ OTOP (Coaching ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา) จัดทำขึ้นเพื่อสนองแนวพระดำริ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ในการสืบสานพระราชปณิธาน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง อนุรักษ์มรดกภูมิปัญญาการทอผ้า พร้อมทั้งเผยแพร่พระอัจฉริยภาพของ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ด้านการออกแบบเครื่องแต่งกายและสิ่งทอ ต่อยอดการพัฒนาลายผ้าพระรา
จังหวัดแพร่ นอกจากจะมีสินค้าขึ้นชื่อ คือ เสื้อหม้อห้อมแล้วยังมี ผ้าตีนจกเป็นมรดกตกทอดชิ้นสำคัญ ผ้าตีนจกที่ขึ้นชื่อและยังทอกันเป็นล่ำเป็นสันจนถึงวันนี้อยู่ที่อำเภอลอง อาคารคอนกรีตสีครีมสองชั้นอยู่ตรงข้ามกับโรงเรียนลองวิทยา เป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น โกมลผ้าโบราณ แหล่งรวบรวมผ้าซิ่นตีนจกเก่าแก่ บางผืนอายุเป็นร้อยปีทีเดียว คุณโกมล พานิชพันธ์ เจ้าของพิพิธภัณฑ์ที่รักผ้าตีนจกเป็นชีวิตจิตใจแต่ไม่ยักหวง เอามาให้คนอื่นได้เชยชมเป็นขวัญตาหาความรู้ เล่าให้ฟังว่า แรกเริ่มจากช่วยอาจารย์วิถี พานิชพันธ์ ผู้เป็นอา เก็บสะสมผ้าซิ่นตีนจก ผ้าโบราณของอำเภอลองตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 เป็นต้นมา จากนั้นก็เริ่มศึกษาเกี่ยวกับผ้าตีนจกอย่างจริงจังเรื่อยมาจนกระทั่งปี พ.ศ. 2530 จึงได้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นขึ้น ใช้เป็นที่ศึกษาค้นคว้าสำหรับเด็กๆ ในท้องถิ่น และบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจหัตถกรรมพื้นบ้าน ชั้นบนของพิพิธภัณฑ์จัดแสดงผ้าซิ่นตีนจกโบราณพร้อมประวัติความเป็นมาของซิ่นแต่ละผืน ส่วนชั้นล่างมีตู้ที่ใช้เก็บรักษาผ้าเก่ามิให้ชำรุดเสียหายและยังคงลวดลายให้คล้ายกับของเดิม เพื่อเป็นการสืบสานงานทอมิให้สูญหายไป นอกจากนี้
กรมหม่อนไหม สนองพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 เผยแพร่สัญลักษณ์ตรานกยูงพระราชทาน 4 ชนิด ได้แก่ นกยูงสีทอง นกยูงสีเงิน สีน้ำงิน และสีเขียว ซึ่งเป็นเครื่องหมายรับรองคุณภาพผ้าไหมไทย โดยมิสแกรนด์ไทยแลนด์ ในงานแถลงข่าว “การจัดงานประกวดเส้นไหม ผ้าไหมตรานกยูงพระราชทาน และผลิตภัณฑ์หม่อนไหม ประจำปี 2561” โดยงานประกวดเส้นไหมฯ มีกำหนดจัดขึ้น ในวันที่ 7-8 มิถุนายน 2561 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า นครราชสีมา 31 พ.ค. 2561 นางสุดารัตน์ วัชรคุปต์ เหล่าวิชยา อธิบดีกรมหม่อนไหม เป็นประธานการแถลงข่าวการจัด “งานประกวดเส้นไหม ผ้าไหมตรานกยูงพระราชทาน และผลิตภัณฑ์หม่อนไหม ระดับประเทศ ประจำปี 2561” โดยมี นายจรัสชัย โชคเรืองสกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา นายสันติ กลึงกลางดอน ผู้อำนวยการสำนักงานหม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เขต 4 จังหวัดนครราชสีมา และ นายเสฏฐวุฒิ ทัตสุระ ผู้จัดการทั่วไป ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า นครราชสีมา ร่วมแถลงข่าว ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า จังหวัดนครราชสีมา อธิบดีกรมหม่อนไหม กล่าวว่า อาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและทอผ้าไหม เป็นอาชีพที่อยู่
หากจะพูดถึงการทอผ้าไหมแล้ว ผ้าไหมคุณภาพที่มีมูลค่าสูงมีการผลิตอย่างไร ลองตั้งคำถามถึงกำลังผู้ผลิต หากเป็นเพียงชาวบ้านในหมู่บ้านสามารถทอผ้าไหมเเละตัดเย็บได้วันละหลายร้อยผืนได้จริงหรือ หลากหลายคำถามเกิดขึ้นเมื่อเราได้มีโอกาสไปเยือนถิ่นผลิตผ้าไหม ลวดลายบรรจง งดงาม ปรากฎผ่านผ้าไหมผืนยาวทำให้นึกถึงกระบวนการทอผ้าไหมที่ให้ความรู้สึกว่า “คนทอต้องฝีมือประณีตเเละมีใจรักในงานที่ทำอย่างเเน่นอน” คุณยาย “ซ่อง จบศรี” วัย 88 ปี ชาวบ้าน ต.กุดจอก อ.หนองมะโมง จ.ชัยนาท หมู่บ้านที่ทอผ้าไหมขายเป็นอาชีพ เริ่มต้นเล่าให้ “ประชาชาติธุรกิจออนไลน์” ฟังว่า ทำอาชีพทอผ้าไหมขายตั้งแต่สมัยเป็นสาว เนื่องจากครอบครัวและคนในหมู่บ้านทำอาชีพนี้มาตั้งเเต่จำความได้ จนแต่งงานมีลูกก็สอนลูกให้ทอผ้าไหมขาย เมื่อเขาทอหมอนขายได้ ก็เป็นอีกช่องทางที่สามารถเพิ่มรายได้ให้เเก่ครอบครัว ซึ่งผ้าไหมเเต่ละผืนใช้เวลาทอประมาณ 1-2 เดือน (ขึ้นอยู่กับลายผ้าที่ลูกค้าต้องการ) ส่วนเรื่องราคาค่อนข้างสูงเเต่ละผืนมีราคาราว 10,000-100,000 บาทเลยทีเดียว คุณยายซ่อง เล่าย้อนอดีตให้ฟังเพื่อฉายภาพให้เห็นอาชีพทอผ้าไหม กิจกรรมทางเศรษฐกิจชุมชนที่มีมาอย่างยาวนานว