ผ้าไหมไทย
วันที่ 1 สิงหาคม 2567 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงเปิดงาน “ตรานกยูงพระราชทาน สืบสานตำนานไหมไทย” ครั้งที่ 19 ประจำปี 2567 โดยมีผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้บริหารกรมหม่อนไหม ข้าราชการและเจ้าหน้าที่กรมหม่อนไหม ส่วนราชการและเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเฝ้าฯ รับเสด็จ ณ ฮอลล์ 6-7 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย อธิบดีกรมหม่อนไหม เปิดเผยว่า กรมหม่อนไหมมีภารกิจเกี่ยวกับหม่อนไหมทั้งระบบ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ และมีเป้าหมายในการส่งเสริมอาชีพเกษตรกรด้านการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ตามพระราชปณิธานที่ทรงมุ่งมั่นสืบสานวัฒนธรรมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมให้คงอยู่กับปวงชนชาวไทย และเพื่อให้ผ้าไหมไทยได้รับการยอมรับในตลาดโลก สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชน
กระทรวงพาณิชย์ เชื่อมั่นในศักยภาพผ้าไหมไทย เร่งส่งเสริมผลิตภัณฑ์ผ้าไหมให้เป็นที่ยอมรับทั้งตลาดภายในและต่างประเทศ จัดกิจกรรม “เส้นทางสายไหม…สู่เมืองรอง” นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่ผลิตผ้าไหมในเมืองรองบอกต่อถึงคุณค่าของผ้าไหมไทยสู่สาธารณชน พร้อมเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเข้ากับวัฒนธรรมการทอผ้าไหมของแต่ละพื้นถิ่น…มุ่งสร้างแรงผลักดันให้ผู้ประกอบการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้เกิดมูลค่าเพิ่ม อันนำมาซึ่งการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยครั้งนี้ มุ่งหน้าจังหวัดสุพรรณบุรี และชัยนาท นางลลิดา จิวะนันทประวัติ รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า “กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้ดำเนินการสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทยเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเมืองรอง ภายใต้โครงการ “ยกระดับการตลาดผลิตภัณฑ์ผ้าไหมสู่แหล่งท่องเที่ยว” โดยให้ผ้าไหมเป็นสื่อกลางในการเชื่อมต่อ/กระตุ้นให้เกิดการบริโภค/ซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าไหม สินค้า และบริการต่างๆ ในจังหวัดเมืองรองให้มากขึ้น อีกทั้งสร้างแรงบันดาลใจแก่กลุ่มคนรุ่นใหม่ให้หันมาสนใจใช้ผ้าไหมไทย และยกระดับผู้ประกอบการผ้าไหมของไทยให้มีความเข้มแข็ง สามารถแข่งขัน
นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวในฐานะเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การจัดทำแผนปฏิบัติราชการกรมหม่อนไหม ระยะ 3 ปี (2564-2566) เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ณ โรงแรม เดอะไพรเวซี่บีช รีสอร์ทแอนด์สปา จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ว่า งานกรมหม่อนไหมเป็นงานที่สำคัญ เพราะเป็นงานที่ดำเนินงานตามพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงอนุรักษ์ส่งเสริมงานหม่อนไหมมาโดยตลอด กรมหม่อนไหม จึงต้องพัฒนาไหมไทยไปสู่ระดับนานาชาติ ต้องเป็นพี่เลี้ยงให้เกษตรกรและผู้ประกอบการ เพื่อพัฒนาผ้าไหมไทยให้มีคุณภาพ มีมูลค่าเพิ่ม และเป็นที่ยอมรับมากยิ่งขึ้น “แม้กรมหม่อนไหมจะมีงบประมาณในการทำงานน้อย แต่ก็ขอให้พยายามคิดหาวิธีในการทำงานอย่างไรให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ผมจะผลักดันให้ผ้าไหมไทยมีมูลค่าเพิ่มและก้าวไกลไปในระดับสากล เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากยิ่งขึ้น” นายเฉลิมชัย กล่าว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ กล่าวด้วยว่า ควรมีการจำหน่ายผ้าไหมในทุกๆ สนามบิน เพื่อให้นักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ได้เห็นถึงเอกลัก
นางสาวศิริพร บุญชู อธิบดีกรมหม่อนไหม กล่าวว่า ผ้าไหมไทยเป็นสินค้าที่มีความสวยงามและเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของประเทศไทยที่ได้รับความนิยมทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้วยคุณลักษณะที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ทั้งความนุ่มนวลเป็นธรรมชาติ ทำให้ในปัจจุบันมีร้านจำหน่ายผ้าไหมเป็นจำนวนมาก ซึ่งบางร้านมีการจำหน่ายทั้งผ้าที่ผลิตจากเส้นไหมแท้ และผ้าที่ผลิตจากเส้นใยอื่นๆ เช่น ฝ้าย หรือ ใยสังเคราะห์ นอกจากนี้บางร้านยังไม่มีป้ายบอกรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าชนิดนั้นๆ ทำให้ผู้บริโภคไม่ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับผ้าไหมหรือผลิตภัณฑ์ไหม อาจเกิดความสับสนไม่มั่นใจในการซื้อสินค้า ดังนั้น กรมหม่อนไหมจึงจัดทำโครงการรับรองร้านค้าจำหน่ายผ้าไหมที่ได้มาตรฐาน (Certified Thai Silk Shop) ขึ้น เพื่อให้การรับรองมาตรฐานร้านค้าจำหน่ายผ้าไหม และสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคในการซื้อสินค้าผ้าไหม อีกทั้งยังเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับร้านค้าที่ผ่านการรับรองจากกรมหม่อนไหมด้วย ร้านค้าที่ผ่านการตรวจรับรองร้านค้าจำหน่ายผ้าไหมที่ได้มาตรฐานของกรมหม่อนไหมนั้น จะต้องเป็นร้านที่มีการจัดพื้นที่สำหรับจำหน่ายผ้าไหม ซึ่งจะต้องเป็นผ้าไหมที่ได้รับการรั