ฝุ่นละออง PM 2.5
27 เมษายน 2568 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดการประชุมแลกเปลี่ยนและติดตามความก้าวหน้าโครงการวิจัย ภายใต้แผนงาน “งานวิจัยนวัตกรรมและการใช้ประโยชน์เพื่อแก้ปัญหาเร่งด่วนฝุ่นละออง PM 2.5 แบบมุ่งเป้าและบูรณาการ”และแผนงานเป้าหมายสำคัญตามยุทธศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประเด็น ประเทศไทยปลอดภัยจาก PM2.5 (เป้าหมาย 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน) เชื่อมโยงการทำงานร่วมกับสภาลมหายใจในพื้นที่ภาคเหนือ โดย ดร.วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ประธานคณะกรรมการส่งเสริมแผนงานเป้าหมายสำคัญ ของเป้าหมายตามยุทธศาสตร์วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เรื่อง ประเทศไทยปลอดภัยจาก PM2.5 (เป้าหมาย 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน) เป็นประธานฯ พร้อมด้วย ดร.เจน ชาญณรงค์ ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ และนายประลอง ดำรงค์ไทย กรรมการส่งเสริมแผนงานเป้าหมายสำคัญดังกล่าว และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ของ วช. และ สวก. ซึ่งมีผู้แทนจาก วช. ได้แก่ ดร.ยุพิน เลิศบุรุษ ผู้อำนวยการกลุ่มขั
บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด ลุยต่อแผน KUBOTA NET ZERO EMISSION มุ่งมั่นสร้างโลกเกษตรที่ยั่งยืน ขยายองค์ความรู้เกษตรปลอดการเผา สู่นโยบายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคการเกษตรสุทธิเป็นศูนย์ จับมือหน่วยงานภาครัฐและเอกชนของจังหวัดเลย ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฯ “เมืองเลย เมืองต้นแบบปลอดการเผาสู่ Net Zero Emission” เป็นจังหวัดที่ 11 ดึงองค์ความรู้ KUBOTA (Agri) Solutions เกษตรครบวงจร แก้ปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองในภาคการเกษตร ตลอดจนบริหารจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร พร้อมกันนี้ได้มอบแทรกเตอร์เพื่อสนับสนุนการทำแนวกันไฟป่าให้แก่อุทยานแห่งชาติภูกระดึงในภารกิจพิชิตไฟป่าและ PM 2.5 นางวราภรณ์ โอสถาพันธุ์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด เปิดเผยว่า “ปัจจุบันเราปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นประเด็นภาวะโลกร้อน สภาพอากาศแปรปรวน ไปจนถึงมลพิษในอากาศอย่าง “ฝุ่นละออง PM 2.5” ซึ่งพบว่าสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการเผาในที่โล่งไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ป่าหรือพื้นที่การเกษตร สยามคูโบต้าจึงได้ดำเนินกิจกรรมโซลูชั
การจัดการปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ซึ่งเป็นวาระเร่งด่วนระดับประเทศ ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนตามที่นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ได้ประกาศยกระดับการปฏิบัติการจัดการในช่วงสถานการณ์วิกฤตโดยบูรณาการหน่วยงานต่างๆ ทั้งกระทรวง องค์กรปกครองท้องถิ่นทำงานร่วมกันผ่าน 9 มาตรการ เพื่อจัดการปัญหาลดผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน และสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด สำหรับช่วงสถานการณ์วิกฤตในช่วงเมษายนปีนี้ องค์กรเอกชนในภาคเกษตร อย่างบริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน)ผู้จัดหาวัตถุดิบทางการเกษตรเพื่อผลิตอาหารสัตว์ให้กับบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ได้ร่วมสนับสนุนมาตรการของรัฐบาล โดยการประกาศนโยบายไม่รับซื้อและไม่นำเข้าผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากพื้นที่บุกรุกป่าและเผาแปลง นำระบบตรวจสอบย้อนกลับข้าวโพดมาใช้ในกระบวนการจัดหาข้าวโพดตั้งแต่ 1 มกราคม 2559 เป็นต้นมา ตลอด 8 ปีที่ผ่านมา กรุงเทพโปรดิ๊วส หยุดรับซื้อผลผลิตจากพื้นที่บนภูเขาลาดชัน รับซื้อผลผลิตที่มาจากแปลงปลูกมีเอกสารสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น ส่งผลให้ปัจจุบันข้าวโพดที่รับซื้อในประเทศไทยทั้งหมดสามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงพื้นที่ปลูกได้ 10
ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบทุกหน่วยงานเกี่ยวข้อง ร่วมขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ แก้ปัญหามลพิษฝุ่นละออง รณรงค์และควบคุมการเผาในพื้นที่เกษตร ปฏิบัติการฝนหลวงสร้างความชุ่มชื้นพื้นป้องกันไฟป่าและบรรเทาปัญหาหมอกควัน หนุนเกษตรกรนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาสร้างมูลค่าเพิ่มทดแทนการเผาทิ้ง พร้อมเล็งสร้างต้นแบบในการทำการเกษตรปลอดการเผา เพื่อสนับสนุนการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตรในระยะต่อไป นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า จากสถานการณ์ฝุ่นละออง PM 2.5 ที่เกินมาตรฐาน โดยมักเกิดในช่วงรอยต่อฤดูหนาวเข้าสู่ฤดูร้อน รวมถึงจากการเผาในที่โล่ง ในพื้นที่ป่า และพื้นที่การเกษตร ทั้งพื้นที่ทำนา พื้นที่ปลูกอ้อย รวมทั้งพื้นที่บนที่สูงทางภาคเหนือ ส่งผลให้ประเทศไทย โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง กรุงเทพฯ และปริมณฑล ประสบปัญหาหมอกควันปกคลุมและเกิดมลพิษทางอากาศเป็นประจำทุกปี อีกทั้งแนวโน้มฝุ่นละออง ในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2566 สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน คาดว่าจะรุนแรงกว่า ปี 2565 เนื่อง