พระเมรุมาศ
เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน ที่ทำเนียบรัฐบาล นางพัชราภรณ์ อินทรียงค์ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะอำนวยการจัดงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช กล่าวว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯขยายเวลาในการเข้าชมพระเมรุมาศและนิทรรศการฯ ออกไปอีก 30 วัน จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2560 เนื่องจากต้องการให้นักเรียน นักศึกษาประชาชน เข้าศึกษาและเรียนรู้ โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้รับทราบหนังสืออย่างเป็นทางการจากสำนักราชเลขานุการในพระองค์ฯ แล้ว ทั้งนี้สำนักปลัดสำนักนายกฯจะดำเนินการส่งหนังสือไปยังกระทรวงวัฒนธรรม เพื่อประกาศแจ้งให้ประชาชนรับทราบและเข้าชมนิทรรศการได้ต่อไป ที่มา ประชาชาติ
กาพย์ยานี 11 พระเอยพระยอดฟ้า ร่มเกล้าประชาพระอาทร ไร่นาป่าสิงขร มิย่อหย่อนพระเยี่ยมเยือน ระยะรัชสมัย นานเพียงใดปีวันเดือน ทรงห่วงปวงชนเสมือน ปิตุเรศประเทศเย็น โรคาพยาธิร้าย แพทย์หลวงหมายคลายลำเค็ญ ราชกิจพิสิฐเห็น ดับเข็ญสร้างสุขสว่างผล รอยบาทพระยาตรย่ำ ทุกก้าวนำสุขปวงชน คุณค่าความเป็นคน พระจอมกมลเอื้ออำนวย ราษฎร์พ้นอนธกาล พระราชทานสุขรื่นรวย แหล่งหล้าฟ้าดินสวย ชาติงามด้วยเดโชชาญ วิริยะพระภูวนาถ ประชาราษฎร์ร่มสมภาร อริราชประลาตลาญ พระปรีชาญาณเลิศพรรณณราย บุญญาบารมีอะคร้าว ทุกแดนด้าวลือขจาย ทวยราษฎร์ภักดีถวาย ทอดชีพใต้บาทบงสุ์ ส่วนหนึ่ง จากบทเห่เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในมหามงคลสมัย รัชมงคลภิเษก ทรงดำรงสิริราชสมบัติ เป็นเวลา 42 ปี 23 วัน ยาวนานกว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ใดในประว
ประติมากรรมรอบพระเมรุมาศในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช บรมนาถบพิตร ทั้ง 4 ทิศ จะประกอบไปด้วยสัตว์หิมพานต์และสัตว์ผสมที่อยู่รอบสระอโนดาต โดยยึดหลักความเชื่อตามคติไตรภูมิ เปรียบพระเมรุมาศดุจเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลาง มีสัตว์หิมพานต์รายล้อมรอบเชิงเขาพระสุเมรุ สัตว์ผสม ชื่อ กบิลปักษา ตัวและหัวเป็นลิง มีหางเป็นนกและปีกที่ไหล่ มือถือกระบอง เป็นหนึ่งในสัตว์หิมพานต์ ที่ประดับอยู่ตามมุมสระอโนดาต เช่นเดียวกับ กลุ่มหงส์ กินรี และนาค ส่วนหนึ่งสร้างสรรค์ขึ้นโดย คุณสมชาย บุญประเสริฐ ช่างปั้นปูนสดเมืองเพชรบุรี พร้อมทีมช่างมากฝีมือกว่า 50 คน ใช้เทคนิคการปั้นปูนสดแบบโบราณ ปั้นสัตว์หิมพานต์ สัตว์ผสม และสัตว์ประจำทิศ 3 ด้าน ประกอบด้วย ม้า โค สิงห์ กว่า 120 ตัว ความแม่นยำและการแข่งกับเวลา คือ ความยากของงานปั้นปูนสด หรือปูนสูตรโบราณ ที่ประกอบไปด้วยปูนขาว ทราย เยื่อกระดาษ น้ำตาลโตนด และกาวหนังสัตว์ เพราะหากพลาดจะทำให้งานไม่สมบูรณ์ “ตั้งแต่ขึ้นโครง สเกตช์แบบ ปั้นสเกตช์ชิ้นเล็ก ขึ้นโครงเหล็ก แล้วก็ขึ้นด้วยแกนซีเมนต์ เป็นพื้น 70-80% ของชิ้นงานให้ใกล้เคียงกับรูปทรงแล้วถึงจ
“สวนนงนุช พัทยา” สร้างชื่อเสียงจากผลงานการตกแต่งสวนสวยนานาชาติ สร้างความประทับใจแก่ผู้คนทั่วโลกมานานกว่า 30 ปี กวาดรางวัลชนะเลิศจากเวทีประกวดการจัดสวนทั้งในประเทศและต่างประเทศมาแล้วมากมาย และเคยมีโอกาสจัดตกแต่งภูมิทัศน์ในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ “สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี” รวมทั้งจัดต้นไม้ ดอกไม้ประดับ ในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ “สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก” มาแล้ว ดังนั้น ทางสำนักพระราชวัง จึงมอบความไว้วางใจให้สวนนงนุช รับหน้าที่จัดตกแต่งภูมิทัศน์ ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง โดยดูแลรับผิดชอบตกแต่งสวนโดยรอบพระเมรุมาศ และรอบพระราชพิธี ในเขตรั้วราชวัติ จัดหาพันธุ์ไม้หลากหลายชนิดมาประดับตกแต่งภายนอกพระที่นั่งทรงธรรม พลับพลายก ศาลาลูกขุน ทับเกษตร และทิม รวมทั้งประดับตกแต่งสวน นอกรั้วราชวัติ ทางด้านทิศใต้ ฝั่งวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) เรียกได้ว่า สวนนงนุชดูแลรับผิดชอบการตกแต่งสวนในงานครั้งนี้ถึงร้อยละ 60 ของพื้นที่การจัดงานทั้งห
ตลอดระยะเวลา 70 ปีแห่งการครองราชย์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงเป็นดั่ง “กษัตริย์เกษตร” ผู้ทรงงานหนักที่สุดในโลก พระราชกรณียกิจของพระองค์ท่านที่ได้ทรงงานมาตลอด 70 ปี ภายใต้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริมีมากกว่า 4,000 โครงการ ที่มุ่งแก้ปัญหาทำกินของเกษตรกรมาโดยตลอด เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรอยู่ดีกินดี มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น กรมศิลปากรได้นำเสนอพระอัจฉริยภาพและพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ผ่านการจัดภูมิทัศน์นอกรั้วราชวัติ ทางด้านทิศเหนือในงานพระเมรุมาศ เพื่อให้ประชาชนไทยได้เรียนรู้ผลงานพระราชกรณียกิจของพระองค์ท่าน และร่วมสานต่อพระราชปณิธาน ข้าว แปลงคันนาเลข ๙ สะท้อนพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร “ข้าว” นับเป็นโครงการพระราชดำริลำดับแรก ๆ ที่พระองค์ทรงสนพระราชหฤทัยเป็นอย่างมาก เพราะข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทยและเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของประเทศ ทรงจัดทำแปลงนาข้าวทดลองส่วนพระองค์ในสวนจิตรลดา และสร้างโรงสีทดลองขนาดเล็ก สำหรับเป็นต้นแบบเรื่องการสร้างมูลค่าเพิ่มข้าว เพื่อให้ชาวนาได้เรียน
ด้านทิศเหนือทางเข้ามณฑลพิธี มีภูมิสถาปัตยกรรมประกอบพระเมรุมาศ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ที่สำคัญอีกชิ้น และจัดเป็นไฮไลต์ของภูมิสถาปัตยกรรมในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เรียกอย่างเข้าใจง่ายว่า คันนาเลข ๙ บริษัท คอร์เดีย จำกัด มีส่วนในการจัดภูมิสถาปัตยกรรมที่งดงามครั้งนี้ โดย คุณไพฑูรย์ น้อยคำมูล กรรมการผู้จัดการ บริษัท คอร์เดีย จำกัด ให้ข้อมูลโดยละเอียดถึงการจัดภูมิสถาปัตยกรรม คันนาเลข ๙ ว่า เป็นการจำลองโครงการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ที่สำคัญมาไว้ในที่เดียวกัน ประกอบด้วย ข้าว หญ้าแฝก มะม่วงมหาชนก ยางนา โครงการฝายชะลอน้ำ โครงการแก้มลิงตามแนวพระราชดำริ กังหันน้ำชัยพัฒนา เครื่องตีน้ำชัยพัฒนา พื้นที่ภูมิสถาปัตยกรรมส่วนนี้ มีพื้นที่ประมาณ 2 ไร่ ผู้ออกแบบได้ออกแบบไว้ว่า ให้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ฝั่ง ตั้งอยู่ด้านทิศเหนือ ระหว่างทางเข้ามณฑลพิธี แบ่งพื้นที่เป็นแปลงนา ทั้ง 2 ฝั่ง จำลองโครงการแก้มลิงตามแนวพระราชดำริ ทั้ง 2 ฝั่ง ฝั่งด้านถนนหน้าพระธาตุ มีพื้นที่มากกว่า จำลองโ
“พระเมรุมาศ” ที่ตั้งตระหง่านอยู่กลางมณฑลพิธีท้องสนามหลวงนั้น เป็นผลงานของ “กรมศิลปากร” ที่ทุ่มเทหัวใจถ่ายทอดความจงรักภักดี ถวายงานก่อสร้างพระเมรุมาศเพื่อส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย อย่างงดงาม ยิ่งใหญ่ สมพระเกียรติพระบรมราชอิสริยยศของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร แผนผัง “พระเมรุมาศ” ดร. พรธรรม ธรรมวิมล ภูมิสถาปนิก สำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร ผู้ดูแลการออกแบบพระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ได้อธิบายหลักการทำงานว่า ภูมิสถาปนิกจะทำหน้าที่ออกแบบพระเมรุมาศให้ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของสนามหลวง จะตั้งตรงไหนก็ได้แล้วแต่ตัวสถาปนิกจะวางแบบแปลน แต่ครั้งนี้ ตั้งใจออกแบบพระเมรุมาศอยู่ตรงแกนกลางให้สัมพันธ์กับ “วัดพระแก้ว วัดมหาธาตุฯ” ซึ่งเป็นโบราณสถาน ในเกาะรัตนโกสินทร์ชั้นใน ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของกรุงเทพมหานคร การเลือกตำแหน่งที่ตั้งของพระจิตกาธาน สำหรับถวายพระเพลิง พระบรมศพฯ ใช้จุดตัดของเส้นทิศเหนือ-ใต้ ที่ลากจากยอดพระศรีรัตนเจดีย์ และเส้นทิศตะวันออก-ตก ที่ลากจากเขตพุทธาวาส วัดมหาธาตุฯ ซึ่งจุดตัดนี้เป็นที่ตั้งของบุษบกองค์ประธาน หากมองพระเมรุมาศฯ จากกึ่งกลางของทาง
นอกจากพระเมรุมาศ และสิ่งปลูกสร้างประกอบพระเมรุมาศ เนื่องในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จะมีความวิจิตรงดงาม เพื่อถวายพระเกียรติสูงสุดแด่ในหลวงรัชกาลที่ 9 แล้ว องค์ประกอบอื่นๆ ของพระเมรุมาศในครั้งนี้ มีความงดงามตระการตา ช่วยเพิ่มความโดดเด่นให้แก่พระเมรุมาศในรัชกาลที่ 9 “ประติมากรรม” ประดับพระเมรุมาศ รัชกาลที่ 9 นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะยึดตามโบราณราชประเพณี หลักไตรภูมิตามคัมภีร์พระพุทธศาสนา และความเชื่อตามศาสนาพราหมณ์แล้ว ยังมีความโดดเด่นตรงที่ประติมากรรมชิ้นต่างๆ โดยเฉพาะ “เทวดา” จะปั้นตามแบบศิลปะรัชกาลที่ 9 มีความคล้ายคลึงมนุษย์ มีกล้ามเนื้อ และแววตาเหมือนจริง แต่ตัดทอนรายละเอียดของความเป็นมนุษย์ในบางส่วน เพื่อให้เข้าสู่ความเป็นอุดมคติตามหลักเทวนิยม โดยศึกษาต้นแบบมาจากงานของ พระเทวาภินิมมิต (ฉาย เทียมศิลป์ชัย) ศิลปินเอกในรัชกาลที่ 5-7 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์หรือ “นายช่างใหญ่แห่งกรุงสยาม” และ พระพรหมพิจิตร บรมครูทางด้านศิลป สถาปัตยกรรมไทย ประติมากรรมครั้งมีขนาดใหญ่ และมีจำนวนชิ้นประติมากรรมถึง 606 ช
นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ อธิบดีกรมการข้าว เปิดเผยว่า ด้วยกรมศิลปากรได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้เป็นผู้ดำเนินการออกแบบและจัดทำพระเมรุมาศ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยได้ขอความอนุเคราะห์กรมการข้าวในการจัดทำแปลงนาข้าวในงานภูมิสถาปัตยกรรมรอบพระเมรุมาศ บนพื้นที่ประมาณ 1 ไร่ จำนวน 5 แปลง ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพระราชดำริที่จะนำมาแสดงบริเวณพื้นที่ด้านนอกรั้วราชวัตรทางทิศเหนือ ซึ่งเป็นทางเข้าออกหลักของพระเมรุมาศ โดยได้ออกแบบจัดแสดงแปลงมีขอบคันนา ซึ่งเป็นแบบเชิงสัญลักษณ์ให้เห็นเป็นเลขเก้าไทยสีดินทอง เป็นเชิงสัญลักษณ์สื่อว่าพระเมรุมาศที่สร้างขึ้นถวายให้กับในหลวง รัชกาลที่ 9 เพื่อแสดงถึงพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อปวงชนชาวไทยให้มีความอยู่ดีกินดี “กรมการข้าว จึงได้มีการเตรียมการที่จะปลูกข้าว เพราะถือว่าเป็นโครงการตามพระราชดำริ ซึ่งข้าวกับชาวนา ในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงโปรดเกล้าในเรื่องข้าวมาโดยตลอด พระองค์ท่านทรงเป็นพระบิดานักวิจัยและการพัฒนาข้าว ซึ่งตรงนี้ทางกรมการข้าวก็จะไปทำการจัดภูมิสถาปัตย์รอบพระเมรุให้สมพระเกียรติ ซึ่งทางกรมศิลปากรต้องการให้ภายในแปลงข้าวมีข้าวหลากหลายระยะ ตั้งแต่ระยะต