พลังงานไฟฟ้า
2 ผลงานวิจัยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับนานาชาติ ในงาน The 16th International Invention and Innovation show (INTARG 2023) ซึ่งจัดโดย Eurobusiness-Haller ณ เมืองคาโตไวซ์ สาธารณรัฐโปแลนด์ โดยมีประเทศต่างๆ ในภูมิภาคยุโรปและเอเชีย นำผลงานเข้าร่วมจัดแสดงมากกว่า 30 ประเทศ โดยผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับ 3 รางวัล ได้แก่ • รางวัล เหรียญทอง ผลงานวิจัย เรื่อง “เทคโนโลยีเฮอร์เดิลด้วยโอโซนและเคมีเพื่อลดปริมาณไวรัสโคโรน่าปนเปื้อนในทุเรียนส่งออก” โดย รศ. ดร.จตุรภัทร วาฤทธิ์ ประธานหลักสูตรวิศวกรรมอาหาร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ รศ. ดร.จตุรภัทร วาฤทธิ์ กล่าวว่า เนื่องจากประเทศไทยส่งออกทุเรียนไปต่างประเทศ มากกว่า 5 แสนตัน/ปี ซึ่งเป็นผลไม้หลักในการส่งออก แต่ด้วยสถานการณ์ Covid-19 ประเทศจีนมีนโยบาย Zero-CoVid ดังนั้นหากมีการตรวจพบการปนเปื้อนเชื้อ Covid-19 ที่ทุเรียน จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกทุเรียนไทยอย่างรุนแรง ทำให้ประเทศอาจสูญเสียรายได้ เกษตรกรได้รับผลกระทบ ซึ่งเทคโนโลยี
“โครงการผู้นำความคิดเพื่อความตระหนักรู้ด้านพลังงานไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ” จัดขึ้นโดย บริษัท พีเอ็มจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นหนึ่งใน 26 โครงการผู้ได้รับทุนสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้า เพื่อกิจการตามมาตรา 97(5) สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โดยทั้ง 26 โครงการ ร่วมกันขับเคลื่อนการสื่อสารภายใต้แนวคิด Clean Energy for Life : ใช้พลังงานสะอาดเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDG7 พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้ ของ สหประชาชาติ โดย “โครงการผู้นำความคิดเพื่อความตระหนักรู้ด้านพลังงานไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ” เป็นการสื่อสารถึง พลังงานไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ หรือ Biogas ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ กรรมการกำกับกิจการพลังงาน เป็นประธานพร้อมมอบรางวัลแก่นักศึกษาที่ชนะการประกวดบทความพร้อมภาพถ่ายและการประกวดผลิตคลิปสั้น ในหัวข้อ “โรงงานไฟฟ้าก๊าซชีวภาพกับการพัฒนาชุมชนยั่งยืน” โดยผลงานที่ผ่านการคัดเลือก ได้รับการเผยแพร่ผ่านแพลตฟอร์มของโครงการ ทั้ง Website Facebook YouTube และ Twitter ภายใต้ชื่อ Biogasthailand เกิดการรับรู้เพื่อนำไปสู่การสื่อสา
นวัตกรรมสุดเจ๋ง จาก นศ. มทร. ศรีวิชัย ส่งมอบกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพจากสมุนไพรกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก มีอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดด เพราะเป็นทางเลือกในการดูแลสุขภาพที่มีความปลอดภัยและมาจากธรรมชาติ ทำให้ขณะนี้มีชุมชนหรือผู้ประกอบการจำนวนมากหันมาแปรรูปผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสมุนไพร โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากขมิ้น ซึ่งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรตำบลถ้ำใหญ่ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้รวมกลุ่มเพื่อแปรรูปผลิตภัณฑ์ยาและเครื่องสำอางจากขมิ้นผง พบปัญหาในขั้นตอนการล้างขมิ้นที่มีจำนวนมาก ทำให้ต้องใช้เวลาในการล้างมาก ส่งผลให้การผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด จากปัญหาดังกล่าว คุณอมเรศร์ ชูพงศ์ คุณวิชา บรรดาศักดิ์ และ คุณนันทวัฒน์ แป้นเหลือ นักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีอุตสาหการ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย โดยมี อาจารย์ศุภเวทย์ สงคง และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พงษ์พันธ์ ราชภักดี เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา มีแนวคิดในการพัฒนาเครื่องล้างขัดผิวขมิ้นสำหรับการผลิตระดับชุมชน ล้างขมิ้นได้ครั้งละ 10 กิโลกรัม สามารถล้างขมิ้นได้เฉลี่ย 300 กิโลกรัมต่อชั
ในการเสวนา “ปาล์มน้ำมัน จากพืชเพื่อการบริโภค สู่พืชพลังงาน” เพื่อระดมความคิดเห็น แก้ปัญหาราคาปาล์มน้ำมันตกต่ำ ที่มีนักวิชาการจากหลายภาคส่วนแสดงความเห็นผ่านเวทีเสวนา เพื่อนำความเห็นไปสะท้อนให้เห็นมุมที่สามารถนำไปช่วยเกษตรกรได้ คุณฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์ อดีตอธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า การปลูกปาล์มปัจจุบันมีต้นทุน 2.94-3.06 บาท ขายได้ 2.50 บาท ซึ่งขาดทุนทุกกิโลกรัมที่ขาย ปัญหาที่เกิดขึ้นและส่งผลกระทบมากที่สุดคือ มติของสหภาพยุโรป หรือ อียู ที่ต้องการควบคุมน้ำมันปาล์ม และยกเลิกการใช้น้ำมันปาล์มในการผลิตพลังงาน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อไทย สำหรับแนวทางการแก้ปัญหา อยากให้พิจารณากรณีของอ้อยและน้ำตาล ที่มีระบบ Profit Sharing หรือการแบ่งปันผลผลิต โดยนำระบบจากอ้อยและน้ำตาลมาเป็นต้นแบบ โดยแบ่งปันให้กับเกษตรกร ประมาณ 70% โรงงาน 30% อุตสาหกรรมอ้อยจึงเป็นอุตสาหกรรมที่มีปัญหาน้อยที่สุด ส่วนตัวจึงเห็นว่า ควรนำระบบ Profit Sharing มาใช้กับปาล์มน้ำมัน เพราะในอนาคตปาล์มน้ำมันจะมีปัญหาเรื่องราคา จึงจะต้องปรับโครงสร้างจากการผลิตเพื่อการบริโภค เป็นการผลิตเพื่อป้อนโรงงานไฟฟ้า ด้าน คุณเชาวลิต ศุภนคร ประธานเจ้าหน้าที่
บริษัท บ้านปู อินฟิเนอร์จี จำกัด หนึ่งในบริษัทลูกของบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) เปิดตัวอย่างเป็นทางการ ในฐานะผู้ให้บริการด้านการวางระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบครบวงจร One Stop Service ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ในระยะแรกจะให้บริการระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา ระบบไฟถนน และอุปกรณ์ไฟส่องสว่างจากพลังงานแสงอาทิตย์ บริการครอบคลุมตั้งแต่ การให้คำปรึกษา ออกแบบระบบ ติดตั้ง ตรวจสอบ ไปจนถึงซ่อมบำรุง เจาะตลาดลูกค้าภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจขนาดใหญ่ ภายใต้แนวคิด “Go Green Together” ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการสามารถเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตและการใช้พลังงานสะอาดได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องลงทุนค่าติดตั้งหรือค่าอุปกรณ์ (zero investment) และช่วยลดต้นทุนธุรกิจจากค่าไฟที่ลดลง พร้อมตอบรับนโยบายและแผนพลังงานทดแทนของรัฐบาล นางสมฤดี ชัยมงคล กรรมการ บริษัท บ้านปู อินฟิเนอร์จี จำกัด กล่าวว่า “ในฐานะผู้นำด้านพลังงานแห่งเอเชีย กับกลยุทธ์ล่าสุด Greener & Smarter บ้านปูฯ มุ่งดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และใช้เทคโนโลยีด้านพลังงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดค่าใช้จ่าย บ้านปูฯ ไม่เพียงพัฒนาธุร