พังงา
กรุงเทพฯ 22 สิงหาคม 2567 – กรมการข้าว เดินหน้าเสริมศักยภาพและมูลค่าให้พื้นที่ผลิตข้าวทั่วประเทศ เร่งผลักดันข้าวไทยให้มีมูลค่าสูงผ่านแนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์หรือสินค้า GI เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้เกษตรกรและผู้ประกอบการ ทั้งในการนำอัตลักษณ์ไปต่อยอดการแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าว การยกระดับแบรนด์สินค้า และการใช้ชื่อเสียงจากความเป็นสินค้า GI สร้างคุณค่าและความยั่งยืน พร้อมโชว์ชุมชนตัวอย่าง วิสาหกิจชุมชนกลุ่มมีเส้นบางกินน้ำ ตำบลบางเหรียง อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา แหล่งผลิตข้าวไร่ดอกข่า (GI) ข้าวพื้นถิ่นของดีจังหวัดพังงาที่มากด้วยสรรพคุณสำหรับคนรักสุขภาพ พร้อมทั้งได้มีการแปรรูปเป็นสินค้าชนิดต่างๆ อาทิ ขนมจีนอบแห้งและน้ำยากึ่งสำเร็จรูป ข้าวบรรจุสุญญากาศ อีกทั้งยังสามารถนำสินค้าก้าวสู่ช่องทางการขายออนไลน์ นางจรัญจิต เพ็งรัตน์ รักษาการผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าว กรมการข้าว เปิดเผยว่า การผลักดันมูลค่าจากการปลูกข้าวยังคงเป็นเรื่องท้าทายสำหรับประเทศไทยในหลายๆ พื้นที่ เนื่องจากบริบทของแต่ละแปลงนารวมทั้งความต้องการทางการตลาดมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ดังนั้น การส่งเส
“ปลากะพงขาว” เป็นปลาน้ำกร่อย ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของประเทศไทย มีการเพาะเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย ในบริเวณเขตจังหวัดชายทะเล เนื่องจากเลี้ยงง่ายและเนื้อมีรสชาติดี เป็นที่นิยมของผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่งผลให้เกษตรกรมีการเพาะเลี้ยงปลากะพงขาวจำนวนมาก แต่ในปัจจุบันเกษตรกรยังต้องประสบปัญหาเกี่ยวกับต้นทุนในการเลี้ยงปลากะพงขาว เนื่องจาก 60 เปอร์เซ็นต์ ของต้นทุนการเลี้ยง เป็นค่าอาหาร ทั้งแบบการใช้ปลาสดจากธรรมชาติ และการใช้อาหารสำเร็จรูป นอกจากนี้ อาหารแต่ละชนิดยังมีคุณค่าทางอาหารและโภชนาการที่แตกต่างกันอีกด้วย ดังนั้น การพัฒนาดัชนีชี้วัดการเจริญเติบโตของปลากะพงขาวที่ตอบสนองต่อโภชนาการ เพื่อให้ได้อาหารที่มีโภชนาการดีและทำให้ปลามีการเจริญเติบโตดี โดยเฉพาะส่วนของเนื้อปลากะพงขาวจะสามารถช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของเกษตรกรได้ ทีมนักวิจัยกรมประมง จึงได้ศึกษา “การใช้หน่วยพันธุกรรม Insulin-like Growth Factor (IGF) และ Myostatin (MSTN) เพื่อเป็นดัชนีวัดการเจริญเติบโตประเมินคุณค่าทางอาหาร และกระตุ้นการเจริญเติบโตของปลากะพงขาว ดร. พิชญา ชัยนาค นักวิชาการประมงชำนาญการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาปร
วันที่ 28 กรกฎาคม 2561 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายบุญชู แพใหญ่ นายกสมาคมประมงจังหวัดพังงา พร้อมด้วย สมาชิกสมาคมเรือประมง เจ้าของเรือประมง แพปลา แม่ค้ารับซื้อปลาและผู้ประกอบธุรกิจประมง และประมงพื้นบ้าน ในพื้นที่จังหวัดพังงา เข้าร่วมประชุม เพื่อหามติสรุปผลการยื่นหนังสือให้แก่ พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา ก่อนที่ทางรัฐบาลผ่านการเห็นชอบข้อกฎหมาย และระเบียบ ในวันที่ 1 สิงหาคม 561 ชาวประมงจังหวัดพังงาเตรียมรวมตัวเพื่อไปยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีผ่านผู้ว่าพังงา ให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องชาวประมง และขอคำตอบภายใน 7 วัน หากไม่มีการดำเนินการแก้ไขปัญหา ชาวประมงทั่วประเทศจะพร้อมใจกันจอดเรือหยุดทำการประมงประท้วงรัฐบาล และจะดำเนินการยื่นถวายฎีกาต่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สำหรับข้อเรียกร้องของชาวประมง คือ ขอให้ใช้ ม.83 พรก.ประมง เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ช่วยให้ภาคการประมงประกอบอาชีพและดำเนินธุรกิจต่อไปได้ โดยขอให้เปิดให้คนต่างด้าวที่อยู่ในราชอาณาจักรไทยอย่างผิดกฎหมายและเปิดโอกาสให้บุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน ทำบัตรซีบุ๊คได้ เพื่อทำงานในเรือประมง
จังหวัดพังงา เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีภูมิประเทศที่สวยงาม ดังฉายา เมืองสวยในหุบเขา เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวปีละกว่า 3 ล้านคน แต่ที่ผ่านมานั้น อาหารส่วนใหญ่โดยเฉพาะพืชผักและผลไม้ที่ใช้ต้อนรับนักท่องเที่ยว นำเข้ามาจากต่างจังหวัด ดังนั้น สำนักงานเกษตรจังหวัดพังงา จึงได้ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดและเป็นการสร้างรายได้อันดีให้กับเกษตรกร โดยเฉพาะในช่วงภาวะพืชเศรษฐกิจราคาตกต่ำ นายสมชาย บริพันธุ์ เกษตรจังหวัดพังงา กล่าวว่า สำหรับนโยบายการส่งเสริมของสำนักงานเกษตรจังหวัดพังงาได้เน้นส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืช ในกลุ่มของผักปลอดภัยจากสารพิษ สับปะรดภูงา แตงโม และเมล่อน ซึ่งเป็นพืชทางเลือกใหม่ อนาคตสดใสของเกษตรกรจังหวัดพังงา ด้าน นายสมบัติ ยกเชื้อ หรือที่รู้จักกันในนาม “ผู้ใหญ่หม้อ” ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 9 บ้านนากลาง ตำบลโคกกลอย อำเภอตะกั่วทุ่ง อายุ 52 ปี อยู่บ้านเลขที่ 24/2 หมู่ที่ 9 ตำบลโคกกลอย อำเภอตะกั่วทุ่ง เป็นเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จในการปลูกพืชทางเลือกใหม่ในโรงเรือนระบบปิด ซึ่งพืชที่