พันธุ์ข้าว
กรมการข้าวส่งเสริมให้เกษตรกรใช้เมล็ดพันธุ์ดีมีคุณภาพ ที่ผลิตโดยศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวหรือศูนย์ข้าวชุมชน โดยโรงสีข้าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะรับซื้อผลผลิตข้าวเปลือกจากชาวนาในราคาสูงกว่าท้องตลาดจากปกติเพิ่มอีก 100 บาท/ตัน นายอาชว์ชัยชาญ กล่าวว่า เมล็ดพันธุ์นั้นมีความสำคัญต่อคุณภาพข้าวไทย เพราะถือเป็นต้นทางให้กับชาวนาในการนำไปเพาะปลูก เพื่อสร้างผลผลิตในทุกๆฤดู เพราะหากชาวนาได้ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ดี มีมาตรฐาน จะส่งผลให้ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพดีตามไปด้วยเช่นกัน แต่หากมีการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ไม่มีคุณภาพ เช่น เมล็ดพันธุ์ไม่บริสุทธิ์ มีพันธุ์อื่นปน ก็จะส่งผลให้ผลผลิตที่ได้ไม่มีคุณภาพ ดังนั้นการส่งเสริมการผลิตการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ดีจึงถือเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการยกระดับและแก้ปัญหาคุณภาพข้าว ทั้งข้าวหอมมะลิไทยและข้าวเหนียว กข 6 ที่มักพบเมล็ดพันธุ์อื่นปนเพิ่มมากขึ้น กรมการข้าวจึงได้ร่วมมือกับสมาคมโรงสีข้าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และศูนย์ข้าวชุมชนที่เข้าร่วมโครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวระหว่างผู้ใช้เมล็ดพันธุ์คุณภาพดี กับผู้ประกอบการโรงสีในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ฤดูนาปี 2564/65 ที่จะมาช่วยในการส่งเสร
ในปัจจุบัน การทำการเกษตรได้เปลี่ยนแปลงไปในหลายๆ ด้าน เกษตรกรจึงต้องมีการปรับตัวเพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ คุณธำรง ทัศนา เกษตรกรจากอำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี เจ้าของแปลงนาพื้นที่กว่า 50 ไร่ ก็เป็นหนึ่งในเกษตรกรที่มีการปรับตัวได้อย่างเหมาะสม จนกลายเป็นต้นแบบของการพัฒนาอาชีพสู่ความสำเร็จได้อย่างยั่งยืน พร้อมทั้งนำประสบการณ์ที่สะสมกว่า 20 ปี มาถ่ายทอดให้คนในชุมชนได้เรียนรู้และปฏิบัติตามอีกด้วย คุณธำรง เริ่มอาชีพเกษตรกรด้วยการสืบทอดอาชีพทำนาต่อจากครอบครัว ด้วยความมุ่งมั่นและใจรัก คุณธำรงได้ศึกษาการทำนาจนมีความเข้าใจและมีองค์ความรู้จนได้รับรางวัลมากมาย เช่น รางวัลเกษตรกรดีเด่นสาขาอาชีพทำนาจังหวัดราชบุรี รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ต้นทุนการผลิตข้าวเฉลี่ยต่อไร่ต่ำสุดระดับประเทศ ปี 2556 เกษตรกรดีเด่น สาขาอาชีพทำนาระดับเขต รางวัลคนดีศรีปากท่อ สาขาเกษตร และรางวัลศูนย์ข้าวชุมชนดีเด่น ระดับประเทศ ปี 2550 เคล็ดลับในการทำนาให้ได้ผลผลิตดีมีคุณภาพของคุณธำรงคือการศึกษาหาความรู้ ทำความเข้าใจทุกขั้นตอนอย่างลึกซึ้ง และใส่ใจทุกรายละเอียด เริ่มตั้งแต่การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ การเตรียมพื้นที่ทำนา การฟื้นฟูบำรุงดิน การ
ตำนานเก่าทั้งของไทยและอุษาคเนย์เล่าเรื่องข้าวไว้หลายเรื่อง มีอยู่เรื่องหนึ่ง เล่าคล้ายๆ กัน คือบอกว่า ข้าวนั้นแต่เดิมเมล็ดใหญ่เท่าผลมะละกอ ไม่มีเปลือก ไม่ต้องปลูก ถึงเวลาสุกจะบินมาเข้ายุ้งฉางเอง แถมรสอร่อยมาก จนกินเปล่าๆ ได้ ฯลฯ คุณสมบัติประการหนึ่งของข้าวในอุดมคติโบราณจึงคือมี “รส” เฉพาะของตัวเอง ถึงขนาดกินเปล่าๆ โดยไม่ต้องมีกับข้าวก็ยังได้ คำประณามพจน์นี้ดูเหมือนล้ำเกินไปจากความเข้าใจของคนส่วนใหญ่ในปัจจุบัน อย่างน้อยก็ช่วง 3040 ปี มานี้ ซึ่งคุ้นชินกับข้าวขัดขาว หุงสุกแล้วจืดสนิท ไม่มีรสชาติใดๆ เหลืออยู่อีก มาในช่วงหลัง จึงเริ่มมีข้าว “หอมมะลิ” และข้าวหอมพันธุ์อื่นๆ แพร่หลายในตลาดให้ซื้อหามาหุงบ้าง แต่ความรู้และการรู้จักกินข้าวของคนไทยก็ดูจะยังไม่เปลี่ยนผ่านไปมากนัก ถ้าเอาแค่กรอบเพดานความคิดแบบโหยหาอดีต มันดูเหมือนคนปัจจุบันสูญเสียโอกาสที่จะ “กินหลากหลาย” ไปแล้ว แต่ในขณะเดียวกัน ความรู้เกี่ยวกับการปรับปรุงพันธุ์ข้าวก็เริ่มกลับมาเป็นที่สนใจในแวดวงนอกหน่วยงานราชการ มีกลุ่มชมรม มูลนิธิ ตลอดจนคณะวิชาในสถาบันการศึกษาจำนวนไม่น้อยทำงานอย่างหนักเพื่อปรับปรุงพันธุ์ข้าวไทยให้มีคุณภาพ ตอบสนองทั้
นายทวี มาสขาว ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 1 จังหวัดชัยนาท เป็นประธานการประชุมการเตรียมความพร้อมในการดำเนินการตามแนวทางการปฏิรูปภาคการเกษตรตามข้อเสนอของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายกฤษฏา บุญราช ณ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวตำบลนางลือ-ท่าชัย ตำบลท่าชัย อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท โดยมีเจ้าหน้าที่สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 1 จังหวัดชัยนาท สำนักงานเกษตรจังหวัดชัยนาท และเกษตรกรสมาชิกวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวตำบลนางลือ-ท่าชัย เข้าร่วมประชุม นายทวี มาสขาว ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 1 จังหวัดชัยนาท เปิดเผยว่าเนื่องจากปัจจุบันภาคเกษตรไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และมีแนวโน้มผันผวนสูง รัฐบาลจึงได้มีแนวนโยบายปฏิรูปภาคการเกษตรสู่เกษตร 4.0 เพื่อให้สอดรับกับบริบทโลก ยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรให้ดีขึ้นมีรายได้เพิ่มขึ้น หนี้สินลดลง ตามแผนยุทธศาสตร์ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ด้วยหลักการตลาดนำการผลิต “วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวตำบลนางลือ-ท่าชัย เป็นวิสาหกิจชุมชนที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวอย่างครบวงจร ตั้งแต่ก
จากการส่งเสริมเทคโนโลยีการผลิตข้าวของกรมส่งเสริมการเกษตร โดยเจ้าหน้าที่สังกัดสำนักงานเกษตรจังหวัด และสำนักงานเกษตรอำเภอ ส่งผลให้เกษตรกรตระหนักถึงความสำคัญของพันธุ์ข้าวที่ดีมีผลต่อการผลิตข้าวให้มีคุณภาพ และลดต้นทุนการผลิตได้อย่างมาก เพราะต้นข้าวที่เกิดจากเมล็ดพันธุ์ที่ดีจะมีความแข็งแรง ต้านทานต่อโรคและแมลง ให้ผลผลิตสูง แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือพันธุ์ข้าวที่ทางราชการผลิตไม่เพียงพอแก่ความต้องการของเกษตรกร จึงเกิดนโยบายให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการผลิตพันธุ์ข้าวโดยส่งเสริมให้เกษตรกรรู้จักวิธีการผลิตพันธุ์ข้าวไว้ใช้เองและขยายผลไปสู่เพื่อนเกษตรกร โดยกรมส่งเสริมการเกษตรได้เริ่มก่อตั้งกลุ่มผู้จัดทำแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ชื่อว่า ศูนย์ข้าวชุมชน เริ่มจากนำเกษตรกรที่มีแนวคิดเดียวกันมาร่วมเป็นกลุ่มผู้ผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวระดับเกษตรกร และทำหน้าที่เป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้ทางด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวให้แก่เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป ซึ่งเป็นอีกหนึ่งของการลดรายจ่าย สร้างเสริมรายได้ให้แก่เกษตรกร สร้างความมั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน ในการนี้นับเป็นโอกาสดีของเกษตรกร “ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านทับนา” ตำบลบ้านเชี่ยน
นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ อธิบดีกรมการข้าว เปิดเผยว่า งานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี 2561 ประกอบด้วย 2 พระราชพิธี ได้แก่ พระราชพิธีพืชมงคลซึ่งเป็นพิธีสงฆ์ ในวันที่ 13 พ.ค. เพื่อประกอบพิธีในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นการทำขวัญเมล็ดพันธุ์พืชต่างๆ เพื่อให้ปลอดจากโรคและเจริญงอกงามสมบูรณ์ จากนั้นจึงเริ่มพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ในวันที่ 14 พ.ค. ซึ่งเป็นพิธีพราหมณ์เริ่มต้นด้วยการไถหว่านเมล็ดข้าว ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง อันเป็นการส่งสัญญาณการเข้าสู่ฤดูกาลทำนาและเพาะปลูกประจำปี โดยในปีนี้ กรมการข้าว ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร นำเมล็ดพันธุ์ข้าวทรงปลูกพระราชทานทั้งหมด 7 พันธุ์ จำนวน 1,799 กิโลกรัม เข้าพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ซึ่งเป็นข้าวนาสวนที่มีคุณลักษณะและความโดดเด่นในด้านต่างๆ ประกอบด้วย 1. ปทุมธานี 1 เป็นข้าวเจ้าที่นุ่มเหนียว มีกลิ่นหอมอ่อน ให้ผลผลิตสูง ประมาณ 650-774 กิโลกรัม ต่อไร่ ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยกระโดดหลังขาว โรคไหม้ และโรคขอบใบแห้ง 2. สังข์หยดพัทลุง เป็นข้าวเจ้าที่มีเยื่อหุ้มเ
ก.วิทย์ฯ-สวทช.จับมือพม่าสร้างเครือข่ายนักวิจัย พัฒนาพันธุ์ข้าวลุ่มน้ำโขง ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) และ นาย Naing Kyi Win อธิบดีกรมวิชาการเกษตร (DAR) สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ร่วมกันลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านวิชาการและงานวิจัย เพื่อดำเนินการวิจัยและพัฒนา สร้างขีดความสามารถ และถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านการเกษตรของ 2 หน่วยงาน สืบเนื่องจากการดำเนินโครงการความร่วมมือของ สวทช. กับประชาคมลุ่มน้ำโขงในการใช้เทคโนโลยีชีวภาพและด้านจีโนม ในการปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์ข้าวประเทศลุ่มน้ำโขงทั้งประเทศกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ โดยมี ดร.สมวงษ์ ตระกูลรุ่ง ผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สวทช. ดร.ธีรยุทธ ตู้จินดา นักวิจัยอาวุโส หน่วยวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพพืช ไบโอเทค สวทช.และ นาย Thant Lwin Oo รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร เมียนมาร์ ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ กรุงเนปิดอว์ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวย
เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 24 พฤศจิกายน นายชยาวุธ จันทร ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี เป็นประธานในกิจกรรมเก็บเกี่ยวข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 ซึ่งจังหวัดราชบุรีได้นำมาปลูกประดับตกแต่งโดยรอบพระเมรุมาศจำลอง ที่วัดมหาธาตุวรวิหารพระอารามหลวง อ.เมือง จ.ราชบุรี ในงานถวายดอกไม้จันทน์ เนื่องในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร โดยได้ร่วมกับส่วนราชการ และจิตอาสา เก็บเกี่ยวข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 ซึ่งได้รับพิจารณาเป็นสายพันธุ์ข้าวดีเด่น จากกรมวิชาการเกษตร ซึ่งมีคุณสมบัติให้ผลผลิตสูงคุณภาพดี ปลูกได้ทั้งนาปีและนาปรัง ต้านทานโรค มีอายุการเก็บเกี่ยว 120 วันเกษตรกรจึงนิยมปลูกอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้ หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จได้มอบให้เกษตรกร ผ่านประธานศูนย์ข้าวชุมชน จำนวน 10 แห่ง เพื่อนำไปปลูกขยายพันธุ์เพื่อความเป็นสิริมงคลต่อตนเองและครอบครัว ที่มา : มติชนออนไลน์
เพื่อเทิดพระเกียรติและร่วมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช “กษัตริย์เกษตร” นักพัฒนา ผู้ทรงงานเพื่อปวงชนชาวไทยมานานกว่า 70 ปี แห่งการครองราชย์ บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) โดย นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน ได้ร่วมกับองค์กรหน่วยงานภาครัฐ และพันธมิตรทางธุรกิจภาคเอกชน จัดงาน “มหัศจรรย์พันธุ์ข้าวมงคล พืชผลของพ่อ” ขึ้นในวันที่ 24-27 พฤศจิกายน 2559 ณ เอ็มซีซี ฮอลล์ เดอะมอลล์ บางกะปิ สาระสำคัญอันเป็นไฮไลต์ของงานครั้งนี้ ได้แก่ นิทรรศการพันธุ์ข้าวมงคล และนิทรรศการพืชผลของพ่อ นิทรรศการต่างๆ ประกอบด้วย 9 เรื่องราวข้าวของพ่อ เรื่องราวที่บอกเล่าพระราชจริยวัตรในด้านต่างๆ ที่คนไทยควรรู้ อาทิ ข้าวพระราชทาน ในหลวงกับข้าวกล้อง การปลูกข้าวในวังสวนจิตรลดา เป็นต้น พันธุ์ข้าวมงคล เป็น 9 พันธุ์ข้าว ที่ทรงปลูกในนาทดลองวังสวนจิตรลดา เพื่อนำเมล็ดพันธุ์มาใช้ในพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญพร้อมกับแจกจ่ายให้กับเกษตรกร ได้แก่ พันธุ์ ปทุมธานี 1, ขาวดอกมะลิ 105, สังข์หยด, กข 29, กข 49, กข 41, กข 31, กข 47, กข 6 และดอกพยอม พืชผลของพ่อ ที่นำมาจัดแสดง ส่วนหนึ่งเป็นพืชผลในพระราชดำ
คุณขวัญชัย รักษาพันธุ์ อยู่บ้านเลขที่ 85 หมู่ที่ 2 ตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา หลังจากสำเร็จการศึกษาจากภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2512 คุณขวัญชัย ตั้งใจเดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเรื่องดิน สินทรัพย์สำคัญต่ออาชีพเกษตรกรรม แต่สุขภาพไม่เอื้ออำนวย จึงสมัครเข้าร่วมหลักสูตรบัณฑิตอาสาสมัครมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทำงานด้านเกษตรกรรมร่วมกับงานพัฒนาชุมชน หลังจบหลักสูตรในปี พ.ศ. 2515 ก็เริ่มต้นเข้าทำงานที่สถานีวิจัยสิทธิพรกฤดากร สถาบันค้นคว้าและพัฒนาระบบนิเวศเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หลังจากทำงานสั่งสมประสบการณ์ทางเกษตร ได้ 2 ปี จึงลาออก ตั้งใจนำความรู้และประสบการณ์มาพลิกฟื้นผืนนาเดิมที่บ้าน พอลงมือทำนาจริงกลับได้ผลผลิตข้าวเพียง 7 เกวียน เพราะปัญหาเพลี้ยกระโดดและโรคขอบใบแห้งระบาดอย่างหนัก จึงตั้งใจสู้ ต้องเอาชนะเพลี้ยกระโดดให้ได้ ใช้เวลาเกือบ 10 ปี กับการเรียนรู้หาวิธีกำจัดเพลี้ยกระโดดและโรคขอบใบแห้ง จึงพบว่าใช้ยาฉีดวัณโรค (สเตร็บโตไทซิน) 5 มิลลิกรัม ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นในพื้นที่ 1 ไร่ สามารถกำจัดเพลี้ยกระโดดส