พันธุ์พืชใหม่
มรภ.เทพสตรี ลงพื้นที่สำรวจ “หยาดวานรพักตร์” 1 ใน 4 พืชชนิดใหม่ของโลก เพื่อหาแนวทางอนุรักษ์ ฟื้นฟู และต่อยอดการทำวิจัย เมื่อเร็วๆ นี้ ผศ.ศศิวิมล สุทธิสาร รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและพัฒนาท้องถิ่น ดร.ศตพล มุ่งค้ำกลาง คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คุณพูลสวัสดิ์ ถือคง นายกเทศมนตรีตำบลเขาพระงาม คุณอารีย์ ฤกษ์สภาพ ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานลพบุรี และคณะลงพื้นที่สำรวจ “หยาดวานรพักตร์” พืชชนิดใหม่ของโลก บริเวณเขาหินปูนภายในวัดเขาทุ่งสิงโต ตำบลเขาพระงาม อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี “หยาดวานรพักตร์” ถูกค้นพบโดยทีมนักวิจัยจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพรรณพฤกษชาติประเทศไทย (Flora of Thailand) เป็นพืชชนิดใหม่ของโลก ในสกุลหยาด (Microchirita) ซึ่งพบในระบบนิเวศเขาหินปูน บริเวณวัดทุ่งสิงโต และวัดเขาพระงาม ซึ่งเป็นเทือกเขาเดียวกันในพื้นที่ตำบลเขาพระงาม อำเภอเมืองลพบุรี หยาดวานรพักตร์ อยู่ในชนิด ‘simia’ ซึ่งในภาษาละติน หมายถึง ลิง มาจากลักษณะของดอกที่ดูคล้ายหน้าลิงเมื่อมองจากด้านหน้า จึงถูกเรียกว่า “ดอกไม้หน้าลิง” ซึ่งมีชื่อ
เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2567 ดร.ดำรงค์ ศรีพระราม รองอธิการบดีฝ่ายบริหารมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประธานคณะกรรมการดำเนินการจัดงานเกษตรแฟร์ ประจำปี 2567 เป็นประธานแถลงข่าวการจัดงานเกษตรแฟร์ ประจำปี 2567 พร้อมด้วย ผศ.ดร.นุชนาถ มั่งคั่ง รองอธิการบดีฝ่ายการเงินและทรัพย์สิน ประธานอนุกรรมการฝ่ายตลาดนัดและสิทธิประโยชน์ รศ.ดร.จีมา ศรลัมพ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาอย่างยั่งยืนและสื่อสารองค์กร ผู้แทนประธานอนุกรรมการฝ่ายกิจกรรมนิสิต ร่วมในการแถลงข่าว ณ ห้องประชุมกำพล อดุลวิทย์ อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำหรับวัตถุประสงค์หลักของการจัดงานเกษตรแฟร์ในปีนี้ มุ่งเผยแพร่ผลงานวิจัยและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยออกสู่สังคม เปิดการเรียนรู้ให้กับนิสิต บุคลากร และอาจารย์ โดยใช้งานเกษตรแฟร์ เป็นห้องปฏิบัติการภาคสนามเพื่อถ่ายทอดความรู้ทุกมิติจากห้องเรียน ช่วยเหลือสังคมประชาชน เป็นช่องทางในการช่วยเหลือเกษตรกร ผู้ประกอบการให้มีรายได้จากการจำหน่ายผลิตผลทางการเกษตร ทำให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน กลับไปสู่ชุมชนและสังคม สร้างความสุขให้กับครอบครัว การจัดงานในปีนี้ มุ่งยกระดับงานเกษตรแฟร์สู่สากลเป็นปีที่ 2 โดยได้รับ
ข่าวดีต้อนรับวันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ (22 พฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมา) นักวิชาการไทยค้นพบพืชวงศ์ขิง 8 ชนิดใหม่ของโลก อาทิ “กระเจียวจรัญ”, “กระเจียวรังสิมา”, “ขมิ้นน้อย”, “ขมิ้นพวงเพ็ญ” ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้เชี่ยวชาญพืชวงศ์ขิงและนักพฤกษศาสตร์ของไทย นอกจากนี้ ยังพบพืชวงศ์ขิงที่มีการรายงานใหม่ในประเทศไทยอีก 1 ชนิด เตรียมศึกษาอนุรักษ์ระยะยาว รศ.ดร.สุรพล แสนสุข นักวิจัยสถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช และ ผศ.ดร.ปิยะพร แสนสุข นักวิจัยภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เปิดเผยว่า ได้รับทุนวิจัยจาก สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เพื่อดำเนินโครงการองค์ความรู้พื้นฐานโครโมโซมของพืชวงศ์ขิงในประเทศไทย โดยในช่วง ปี 2563 ที่ผ่านมา ได้สำรวจและเก็บข้อมูลพืชวงศ์ขิงในประเทศไทย เพื่อนำตัวอย่างพืชมาศึกษาโครโมโซม และได้ตรวจสอบลักษณะพืชเพื่อจำแนกพืชให้ได้ชื่อวิทยาศาสตร์พืชแต่ละชนิด แบ่งเป็นสกุลขมิ้นหรือสกุลกระเจียว (Curcuma) 6 ชนิด และสกุลเปราะ (Kaempferia) 2 ชนิด มีลักษณะพืชที่แตกต่างและไม่ตรงกับพืชชนิดอื่นๆ ถือพ
คนอีสานเตรียมนัว ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ เปิดตัวพันธุ์พืชใหม่ 6 ชนิด เอาใจนักจกส้มตำ ชี้เป็นพืชเศรษฐกิจมีอนาคต ตลาดต้องการสูง ชูลักษณะเด่นผลผลิตสูง ทนทานโรค ผลผลิตมีคุณภาพตามตลาดต้องการ พร้อมเตรียมจำหน่าย จ่าย แจก ให้เกษตรกรและผู้ที่สนใน ปี 2563 นายสนอง จรินทร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า แต่ละปี กรมวิชาการเกษตร ได้ทำการวิจัย พัฒนา ปรับปรุงพันธุ์พืชใหม่ๆ เพื่อเป็นพันธุ์แนะนำหรือพันธุ์รับรองออกสู่ไร่สวนของเกษตรกร และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการเกษตรของประเทศอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดกรมวิชาการเกษตร ได้รับรองพืชพันธุ์ใหม่ซึ่งเป็นผลงานศึกษาวิจัยของศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ จำนวน 6 พันธุ์ โดยแบ่งเป็นประเภทพันธุ์รับรอง 2 พันธุ์ คือ 1. มะม่วงหิมพานต์พันธุ์ศรีสะเกษ 3 และ 2. มะขามเปรี้ยวพันธุ์ศรีสะเกษ 1 ส่วนประเภทพันธุ์แนะนำ จำนวน 4 พันธุ์ คือ พริกขี้หนูเลยพันธุ์ศรีสะเกษ 4 มะละกอฮอลแลนด์พันธุ์ศรีสะเกษ มะละกอพันธุ์ศรีสะเกษ 1 มะเขือเทศสีดาพันธุ์ศรีสะเกษ 2 โดยพืชพันธุ์ใหม่ทั้งหมดกรมวิชาการเกษตรสามารถจำหน่ายจ่ายแจกพันธุ์ให้เกษตรกรผู้ประกอบการและผู้ที่สนใจได้ใน ปี 2563 เป็นต้นไป