พายุฤดูร้อน
เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2568 สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้ออกประกาศ ฉบับที่ 3/2568 ว่า กรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) ได้คาดการณ์ว่า มีพื้นที่บางส่วนเสี่ยงต้องเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม น้ำท่วมขังในเขตชุมชนเมืองที่เกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำเนื่องจากระบายไม่ทัน ในช่วงวันที่ 10 – 13 พฤษภาคม 2568 ดังนี้ 1. พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมขัง ในเขตชุมชนเมืองที่เกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำเนื่องจากระบายไม่ทัน บริเวณ จังหวัดนนทบุรี (อำเภอเมืองนนทบุรี บางใหญ่ บางกรวย และปากเกร็ด) จังหวัดปทุมธานี (อำเภอลำลูกกาและคลองหลวง) จังหวัดสมุทรปราการ (อำเภอเมืองสมุทรปราการ บางพลี บางบ่อ และพระสมุทรเจดีย์) และกรุงเทพมหานคร 2. พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม ดังนี้ 2.1 ภาคเหนือ บริเวณ จังหวัดแม่ฮ่องสอน (อำเภอปาย และปางมะผ้า) จังหวัดเชียงใหม่ (อำเภอแม่แตง เชียงดาว เวียงแหง พร้าว แม่อาย ฝาง ไชยปราการ จอมทอง สะเมิง แม่วาง และแม่ริม) จังหวัดเชียงราย (อำเภอเมืองเชียงราย แม่ฟ้าหลวง แม่สรวย แม่สาย เชียงแสน เทิง และพาน) จังหวัดพะเยา (อำเภ
กรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า พายุฤดูร้อนมักเกิดในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูร้อนของประเทศไทย เป็นพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง เกษตรกรควรเฝ้าระวังและติดตามพยากรณ์อากาศอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในช่วงนี้เข้าสู่ฤดูกาลผลไม้ภาคตะวันออก ได้แก่ ทุเรียน มังคุด เงาะ และลองกอง กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำให้ชาวสวนเตรียมพร้อมป้องกันบรรเทาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น โดยระยะก่อนการเกิดพายุฤดูร้อน ควรปลูกต้นไม้บังลม เช่น ไม้ไผ่ กระถินณรงค์ ช่วยลดความสูญเสียจากพายุลมแรงได้ ตัดแต่งกิ่งที่แน่นทึบหรือไม่ให้ผลผลิตออก สำหรับต้นไม้ผลที่มีลำต้นสูง อาจตัดทอนส่วนยอดให้ต่ำลง ใช้เชือกโยงกิ่งและต้น หรือใช้ไม้ค้ำกิ่งและค้ำต้นเพื่อช่วยพยุงต้น และเก็บผลผลิตที่แก่ออกไปบ่มหรือจำหน่ายก่อน เพื่อลดความเสียหาย และลดน้ำหนักบนกิ่งและต้นลง ระยะหลังจากเกิดพายุฤดูร้อน ควรฟื้นฟูสวน โดยตัดแต่งกิ่งฉีกหัก หรือต้นไม้ที่โค่นล้มออกทันทีที่พื้นดินในบริเวณสวนแห้ง ไม่ควรนำเครื่องจักรกลเข้าไปในสวน ขณะที่ดินยังเปียกชื้น เมื่อดินแห้งให้พรวนดิน เพื่อเพิ่มออกซิเจนให้แก่รากพืช และใส่ปุ๋ยบำรุงต้น ขุดหรือปาดดินโคลนออกจา
นางดาเรศร์ กิตติโยภาส รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมการเกษตรได้รับความมือจากกรมอุตุนิยมวิทยา ในการคาดการณ์ลักษณะอากาศและปริมาณฝนล่วงหน้า 3 เดือน (ตั้งแต่เดือนกันยายนถึงเดือนพฤศจิกายน 2562) พบว่า หลังจากประเทศไทยได้รับผลกระทบจากอิทธิพลพายุโซนร้อน “โพดุล” และดีเปรสชั่น “คาจิกิ” ซึ่งทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากต่อเนื่องกันหลายวัน เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2562 ที่ผ่านมาจนถึงวันที่ 9 กันยายน 2562 ขณะนี้ประเทศไทยมีแนวโน้มปริมาณน้ำฝนดีขึ้น โดยในระยะ 3-5 วันนี้ ยังไม่มีพายุใดๆ ที่จะเข้าสู่ประเทศไทย และกรมอุตุนิยมวิทยาได้ติดตามสภาพอากาศในบริเวณทะเลจีนใต้อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง ทั้งนี้ ในช่วงเดือนกันยายน 2562 จากการคาดการณ์ลักษณะอากาศ ปริมาณน้ำฝนทั่วทุกภาคของประเทศไทยจะมีฝนตกปานกลางอยู่ที่ 151-300 มิลลิเมตร เพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำของพืชที่ต้องการน้ำมาก ส่วนพืชที่ต้องการน้ำน้อยควรมีการระบายน้ำออกจากแปลง สำหรับภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี และตราด ภาคใต้ ได้แก่ ระนอง ชุมพร พังงา และภูเก็ต ปริมาณน้ำฝนจะตกหนัก อยู่ที่ 401-600 มิลลิเมตร ส่ว
ในช่วงเข้าสู่ฤดูร้อนที่ร้อนจัด โอกาสเกิดพายุฤดูร้อน ฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงในช่วงปลายเดือนเมษายน 2562 ทางกรมส่งเสริมการเกษตรได้เตือนภัย และให้คำแนะนำในการรับมือแก่เกษตรกรชาวสวนทุเรียน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในช่วงให้ผลผลิต ให้เฝ้าระวังโรครากเน่าโคนเน่าทุเรียน เนื่องจากสภาพอากาศมีความชื้นสูง เชื้อราสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรครากเน่าโคนเน่าทุเรียน คือ เชื้อราไฟทอปธอรา พาล์มิโวรา (Phytophthora palmivora) สังเกตลักษณะอาการของต้นที่เกิดโรค ใบจะไม่เป็นมันสดใส โดยใบค่อย ๆ เหลืองซีดและร่วง ใบอ่อนเหี่ยวเหลือง มีจุดแผลสีน้ำตาลอ่อนฉ่ำน้ำ เส้นใบมีสีน้ำตาลดำ บริเวณกิ่ง ลำต้น และโคนต้น มีสีของเปลือกเข้มคล้ายถูกน้ำเป็นวงหรือเป็นทางน้ำไหลลงด้านล่างหรือมีรอยแตกของแผล และมีน้ำเยิ้มออกมาในช่วงเช้า เมื่อถากเปลือกจะพบว่าเปลือกเน่า เนื้อไม้เป็นสีน้ำตาล ส่วนที่เน่ามีกลิ่นหืน แผลเน่าจะลุกลามรวดเร็ว ต้นที่เป็นโรครุนแรงจะมีน้ำยางไหลออกมาโดยเฉพาะในช่วงเวลาเช้าที่มีอากาศชุ่มชื้น เมื่อขุดดูที่รากฝอยจะมีลักษณะเปื่อยยุ่ย มีสีน้ำตาล และหลุดง่าย กรณีอาการของโรครุนแรงจะเน่าลามไปยังรากแขนงและโคนต้น ทำให้ต้นโทรมและยืนต้นตาย วิธ
กรมส่งเสริมการเกษตร เตือนชาวสวน เตรียมพร้อมรับมือพายุฤดูร้อน เร่งป้องกันและระวังความเสียหาย ที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตร เตือนชาวสวนรับมือพายุฤดูร้อน – นายสำราญ สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ในช่วงเดือนมี.ค.-มิ.ย. ของทุกปี เป็นช่วงเวลาที่ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูร้อน ซึ่งมีโอกาสที่จะเกิด “พายุฤดูร้อน” ขึ้นในหลายพื้นที่ อาจสร้างความเสียหายให้กับเกษตรกรได้ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะสวนไม้ผล ซึ่งเป็นพืชที่ปลูกครั้งเดียวอยู่ได้นานหลายปี ดังนั้นเกษตรกรจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมรับมือกับปัญหาภัยธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งน้ำท่วม ลมพายุ และภัยแล้งไว้ล่วงหน้า ซึ่งขณะนี้กำลังจะมีผลไม้หลากหลายชนิดออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก คือ ภาคตะวันออก ได้แก่ ทุเรียน มังคุด เงาะ และลองกอง และภาคเหนือ ได้แก่ ลิ้นจี่ กรมส่งเสริมการเกษตรจึงขอแนะนำวิธีการดูแลสวนไม้ผลในระยะก่อนและหลังการเกิดพายุฤดูร้อน เพื่อบรรเทาความเสียหายหรืออันตรายที่อาจเกิดขึ้น ดังนี้ ระยะก่อนการเกิดพายุฤดูร้อน 1. ขอให้เกษตรกรชาวสวนผลไม้ระวังผลผลิตที่อยู่ในระยะพัฒนาจากผลอ่อนใกล้จะเป็นผลแก่ พร้อมที่จะเก็บเกี่ยวอาจได้รับความเสียหายได้ และระมัดร
กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานสภาพอากาศว่า ลักษณะอากาศทั่วไป พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้นและมีอากาศร้อนโดยทั่วไป และมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนไว้ด้วย อนึ่ง ในช่วงวันที่ 24-27 เมษายน 2561 จะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นบริเวณประเทศไทยตอนบน โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ฟ้าฝ่า และมีลูกเห็บตกได้บางพื้นที่ ซึ่งจะเริ่มจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิสูงขึ้นและมีอากาศร้อนโดยทั่วไป ในขณะที่ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้าปกคลุมประเทศไทย ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 12:00 วันนี้ ถึง 12:00 วันพรุ่งนี้ ภาคเหนือ อากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ กำแพงเพชร และตาก อุ
วันที่ 14 มีนาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเกิดเหตุพายุหมุนพัดเข้าถล่มบ้านเลขที่ 90 หมู่ที่ 5 ต.แพรกศรีราชา อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท ซึ่งเป็นบ้านของ นายแว่ว เกตุนวม โดยสภาพตัวบ้านพบว่าหลังคาปลิวหายไปทั้งหลัง ลอยไปตกไกลจากตัวบ้านหลายสิบเมตร ฝาผนังตัวบ้านได้รับความเสียหายหักเอียงพร้อมที่จะถล่มลงมา ข้าวของภายในบ้านกระจัดกระจายและเปียกโชกจากน้ำฝน นายแว่ว กล่าวว่า ขณะเกิดเหตุมีลมฝนหนักมาก ได้ยินเสียงดังตึงๆ อยู่เป็นระยะ จากนั้นก็มีเสียงเหมือนฟ้าผ่าดังสนั่น แต่เมื่อตนมองขึ้นไปบนหลังคาก็พบว่า หลังคาบ้านทั้งหลังกำลังถูกลมกระชาก และหลุดลอยขึ้นไปอย่างรวดเร็ว ตนได้แต่หมอบอยู่ใต้ถุนบ้านเพื่อเอาชีวิตรอด กินเวลาประมาณ 20 นาที ลมฝนจึงเริ่มซาลง เมื่อสำรวจตัวบ้านและรอบบ้านก็พบความเสียหายอย่างหนัก มูลค่ากว่า 2 แสนบาท ล่าสุดผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 5 ให้ข้อมูลว่า จากการสำรวจมีบ้านของนายแว่วเพียงหลังเดียวที่ได้รับความเสียหาย จากพายุลมฝนในครั้งนี้ เนื่องจากเป็นบ้านที่ปลูกอยู่ขอบของหมู่บ้านและอยูในทางลม จึงได้ประสานไปทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและอำเภอสรรคบุรี เพื่อขอความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์เบื้องต้นแล้ว ที่มา มติชนออนไลน์
เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 8 มีนาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ได้เข้าสำรวจพื้นที่เมื่อคืนวันที่ 7 มีนาคม ที่ผ่านมา ซึ่งเกิดเหตุพายุฝนพัดบ้านเรือนประชาชน ได้รับความเสียหายร่วม 200 หลังคาเรือน แรงลมพัดสังกะสีเปิดออก และปลิวหายไป ฝนที่ตกลงมาทำให้ข้าวของเครื่องใช้ภายในบ้านเปียกและเสียหาย โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เก็บไม่ทันได้รับความเสียหาย ส่วนต้นไม้ใหญ่หักโค่นทับบ้านเรือน ส่งผลให้ผู้อยู่อาศัยได้รับความเดือดร้อนใน 6 หมู่บ้าน ต.อ่างทอง อ.เมือง จ.กำแพงเพชร น.ส.ยุวดี สวัสดี เจ้าของลานโชคสวัสดี เลขที่ 472/1 หมู่ที่ 5 ต.อ่างทอง กล่าวว่า เมื่อคืนที่ผ่านมาเกิดพายุฝนพัดแรง นานประมาณ 1 ชั่งโมง ตนและสมาชิกภายในบ้านตกใจมาก ต้องหลบอยู่ข้างมุมบ้าน จากนั้นแรงลมพัดหลังคาปลิวลอยหายไป รอจนแรงลมสงบลงจึงมาตรวจสอบทรัพย์สิน พบว่า โกดังเก็บมันเส้น โรงรถ บ้านพัก ได้รับความเสียหาย ซึ่งได้รับผลกระทบความเสียหายมากที่สุดจากพายุฝนพัด ทำให้หลังคาโกดังเก็บมันเส้น และผนังพังเสียหาย โรงรถ บ้านพักอยู่อาศัย ประเมินความเสียหายเบื้องต้นไม่ต่ำกว่า 2 ล้านบาท ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า นอกจากนี้ ในเขตพื้นที่ หมู่ที่ 5, 14, 17, 20 ต.อ่า
พายุฤดูร้อน..เล่นงานสาหัส..ต้นมะละกอ 200 ต้น หักโค่น ทั้งต้นยางพารา-ยุ้งฉาง-บ้านเรือน หลังคาปลิวว่อน อบต.เร่งสำรวจความเสียหาย..เกษตรกร วอนรัฐบาลช่วยเหลือ วันนี้ (25 ก.พ.60) ผู้สื่อข่าวประจำ จ.สุรินทร์ รายงานว่า ในช่วง 2-3 วันนี้ สภาพอากาศแปรปรวน ส่งผลให้ในหลายพื้นที่ของ จ.สุรินทร์ เกิดพายุฤดูร้อนพัดถล่ม สร้างความเสียหายในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในพื้นที่ ต.เทพรักษา อ.สังขะ จ.สุรินทร์ เมื่อวันที่ 23 ก.พ.2560 ที่ผ่านมา ได้เกิดพายุฤดูร้อนพัดถล่มที่ บ.กะเลงเวก และ บ.ทับทิมสยาม 04 สร้างความเสียหายกับบ้านเรือนประชาน สิ่งปลูกสร้าง รวมถึงต้นไม้หักโค่น เสียหายจำนวนมาก ขณะที่เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษา นำโดยนายเต็ม สามสี นายก อบต.เทพรักษา พร้อมกับผู้นำชุมชน ลงพื้นที่รุดสำรวจความเสียหายของบ้านเรือนประชาชน เบื้องต้นมีบ้านพักอาศัย เสียหาย กว่า 10 หลังคาเรือน ขณะที่แปลงปลูกมะละกอในพื้นที่กว่า 10 ไร่ ของนางสุริยา จุมพิษ อายุ 45 ปี ชาวบ้านหมู่ 10 ต.เทพรักษา อ.สังขะ จ.สุรินทร์ ถูกพายุพัดต้นมะละกอที่ปลูกประมาณ 5 เดือนเศษ ล้มระเนระนาด สร้างความเสียหายประมาณ 200 ต้น เป็นเงินกว่า 100,000 บาท ซึ่งถ