พิกุล
ชื่อทั่วไป : Bullet wood ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mimusops elengi Linn. Family : SAPOTACEAE “ลำดวนเอ๋ยพี่จะด่วนไปก่อนแล้ว ทั้งเกดแก้วพิกุลยี่สุนศรี จะโรยร้างห่างสิ้นกลิ่นมาลี จำปีเอ๋ยกี่ปีจะมาพบ ที่มีกลิ่นก็จะคลายหายหอม จะพลอยตรอมเหือดสิ้นกลิ่นตลบ ที่มีดอกก็จะวายระคายครบ จะเหี่ยวแห้งเซาซบสลบไป ต้นน้อยน้อยลูกย้อยระย้าดี ตั้งแต่นี้จะไปชมต้นไม้ใหญ่ จะทิ้งเรือนไปร้างอยู่กลางไพร ยุงร่านริ้นไรจะตอมกาย รากไม้จะต่างหมอนนอนอนาถ ดาวดาษจะต่างไต้น่าใจหาย ลงบันไดใจเจียนจะขาดตาย น้ำตาตกกระจายพรั่งพรายลง” จากบทเสภาเรื่องขุนช้าง-ขุนแผน ตอนขุนแผนกล่อมนางพิมพิลาไลยบนเรือนขุนช้าง พิกุล เป็นไม้ยืนต้นที่คุ้นเคยกับคนไทยเรามาช้านาน ส่วนมากจะพบปลูกกันตามวัดวาอารามทั่วไป เนื่องจากมีทรงพุ่มสง่างาม ใบหนาทึบให้ร่มเงาอย่างดี ดอกก็หอมอีกต่างหาก เวลาผลสุกก็เป็นอาหารของนก หนู กระรอก ได้ เพราะมีรสหวานปะแล่มๆ เจือฝาดนิดๆ คนก็กินได้แต่ต้องมีเทคนิคนิดหน่อยคือ ต้องรีบบีบผลหย่อนเข้าปากให้เร็วๆ พยายามอย่าให้โดนลม มิฉะนั้นจะฝาดและขม คำว่า “พิกุล” นั้น มาจากภาษาอินเดีย แต่ในบาลี-สันสกฤต กลับออกเสียงว่า “พกุล” ถ้าพิจารณาจากหนัง
พิกุล ชื่อวิทยาศาสตร์ Mimusops elengi L. เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 8-15 เมตร ทรงพุ่มกลมแน่นทึบ แตกกิ่งจำนวนมาก เปลือกนอกสีน้ำตาล อมเทา มีรอยแตกตามยาวของลำต้น เนื้อไม้ด้านในเป็นไม้เนื้อแข็งสีอมเหลือง อ่อนๆ ใบเรียงเวียนสลับ ใบเดี่ยว รูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 2-6 ซ.ม. ยาว 7-15 ซ.ม. ปลายใบแหลมเป็นติ่งสั้นๆ ขอบใบเรียบและเป็นคลื่น ดอกเดี่ยวหรือดอกช่อออกเป็นกระจุกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงเรียงเป็น 2 ชั้น ชั้นละ 4 กลีบ กลีบดอกสีขาวมี 24 กลีบ เรียงเป็น 2 ชั้น ชั้นในมี 16 กลีบ ชั้นนอกมี 8 กลีบ โคนเชื่อมกันเล็กน้อย มีกลิ่นหอม ดอกบานวันเดียวแล้วโรย เมื่อใกล้โรยกลีบดอกจะเปลี่ยนเป็นเหลืองอมสีน้ำตาล ผลเดี่ยวรูปไข่ ปลายแหลม ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีแดงหรือสีแดงอมส้ม เนื้อสีเหลือง รสหวานอมฝาด มีเมล็ดแข็ง แบน รี ปลูกได้ในดินทุกชนิด ชอบแดดจัด ขึ้นประปรายในป่าดิบทางภาคใต้ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ที่มา คอลัมน์ อาทิตย์ละต้น ข่าวสดรายวัน