พิษปลาปักเป้า
กรมประมงเตือนรับประทานปลาปักเป้าน้ำจืดเสี่ยงต่อการได้รับพิษอัมพาตและเป็นอันตรายถึงตาย ไม่ควรนำมารับประทานเพราะถึงแม้จะนำปลามาต้มแล้วแต่พิษของปลาที่ละลายในน้ำก็จะสามารถทนความร้อนได้สูง พิษของปลาปักเป้าชนิดที่มีพิษนั้นแม้บริโภคเพียงเล็กน้อยก็สามารถเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้นควรปฏิบัติตามข้อตักเตือนของกรมประมงพร้อมปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดโดยเฉพาะผู้ขายเพื่อที่เราจะไม่ได้เห็นข่าวพี่น้องของเราต้องเสียชีวิตลงเพราะปลาปักเป้าอีกต่อไป น.ส.จูอะดี พงศ์มณีรัตน์ รองอธิบดีกรมประมง ให้รายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมหลังพบผู้เสียชีวิตเมื่อสงกรานต์ที่ผ่านมาจากการนำปลาปักเป้าไปรับประทานว่า จากการสำรวจพบว่าปลาปักเป้าในน่านน้ำไทยมีทั้งหมด 42 ชนิด แบ่งเป็นปลาปักเป้าน้ำจืด 9 ชนิด และอีก 33 ชนิด เป็นปลาปักเป้าน้ำเค็มและน้ำกร่อย สำหรับปลาปักเป้าน้ำจืดของไทยพบว่าพิษถูกจัดอยู่ในกลุ่มพิษอัมพาต (Paralytic Shellfish Poison, PSP) ได้แก่ Saxitoxin(STX) ซึ่งพิษ STX จะมีคุณสมบัติละลายในน้ำและแอลกอฮอล์ มีความคงตัวในกรดอ่อน และสลายตัวในสภาพความเป็นด่าง ความร้อนสูงจากการประกอบอาหารไม่สามารถทำลายพิษนี้ได้ จากการศึกษา