พืชทนแล้ง
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า “ภัยแล้ง” เป็นปัญหาทางธรรมชาติที่เกษตรกรหลายคนไม่อยากให้เกิดขึ้น แต่ถึงกระนั้นเราก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เนื่องจากเมืองไทยของเรามักมีปัญหาเรื่องน้ำไม่เพียงพอต่อการเกษตรบ่อยๆ โดยเฉพาะช่วงหน้าร้อน จะทำอย่างไรดีเพื่อให้ยังคงเพิ่มผลผลิตมีรายได้เลี้ยงชีพต่อไป เป็นสิ่งที่ต้องมองหาแนวทางอย่างถูกต้อง เพื่อรู้จักกับปัญหาดังกล่าวรวมถึงเข้าใจวิธีแก้ไข ทำความรู้จัก “ภัยแล้ง” คืออะไร? ต้องอธิบายว่าภัยแล้งคือ ความแห้งแล้งที่เกิดขึ้นทางธรรมชาติจากภัยทางอากาศและพื้นดิน ที่เราไม่สามารถควบคุมหรือคาดเดาได้ เมื่อฝนที่ควรตกลงมาให้ความชุ่มชื้นกลับไม่เป็นไปตามฤดูกาล หรือตกลงมาน้อยกว่าปกติ พื้นดินจึงเกิดความแห้งแล้ง ส่งผลกระทบต่อผู้คน เศรษฐกิจ สังคม โดยเฉพาะภาคเกษตรกร ประเทศไทยเราพบได้บ่อยในภาคอีสาน หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งจะเกิดมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้าน ทั้งความชื้นในอากาศ ความชื้นในดิน ระยะเวลาที่แห้งแล้ง ขนาดของพื้นดินที่แห้งแล้ง เป็นต้น อย่างไรแล้ว ภัยแล้งเกิดขึ้นได้ทั้งทางธรรมชาติ อย่างที่บอกคือสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป อุณหภูมิโลก ระดับน้ำทะเล ภัยทางธรรมชาติ อย่างฝนไม่ตก
วันนี้เทคโนโลยีชาวบ้าน จะมาแนะนำ “10 พืชทนแล้ง ใช้น้ำน้อย” ภาวะที่ปริมาณน้ำไม่มีเพียงพอต่อการเพาะปลูก ส่วนใหญ่มักจะเป็นพืชไร่ พืชที่มีอายุช่วงเก็บเกี่ยวสั้น ใช้เวลาไม่นานก็ให้ผลผลิต เป็นพืชที่ทนต่อความร้อนได้ดี และเหมาะสำหรับพื้นที่ที่ห่างไกลจากแหล่งน้ำ อีกทั้งไม่ต้องดูแลมาก ก็สามารถเติบโตได้เองในทุกสภาพดิน “น้ำ” เป็นหัวใจสำคัญสำหรับการเกษตร เมื่อการใช้น้ำปริมาณที่จำกัด ทางออกสำหรับเกษตรกรคือ ปลูกพืชน้ำน้อย แทนการทำนาหรือพืชไร่ที่ต้องใช้น้ำมาก พืชทนแล้งมีหลายชนิด ทั้งพืชสวนและพืชไร่ บางชนิดทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดี มาดูกันว่าพืชทนแล้งชนิดไหน ที่จะทำให้ได้ผลผลิตดี และไม่ต้องดูแลมากนัก 🥬คะน้า คะน้า จัดเป็นพืชใบเขียวที่ใบมีสีเขียวจัด และเป็นผักที่กินได้ทั้งใบไปจนถึงก้าน โดยผักคะน้าจะมีอายุ 2 ปี แต่ปลูกเป็นผักฤดูเดียว ผักคะน้าเป็นผักสวนครัวที่สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี แต่ช่วงเวลาที่ปลูกได้ผลดี ที่สุดอยู่ในช่วงเดือนตุลาคมถึงเมษายน อายุการเก็บเกี่ยวของคะน้าอยู่ที่ประมาณ 45-55 วันหลังปลูก คะน้าที่ตลาดต้องการมากที่สุดคือ คะน้าที่มีอายุ 45 วัน แต่คะน้าที่มีอายุ 50-55 วัน เป็นระยะที่เก็บเกี่ยวได้น
ในช่วงฤดูแล้ง สภาพอากาศแห้งแล้ง ปริมาณน้ำในแหล่งต่างๆ มักมีจำกัด จึงชวนเกษตรกร ผู้ปลูกข้าวนาปรังในพื้นที่ชลประทานหันมาปลูกพืชอื่นที่ใช้น้ำน้อยทดแทน เช่น แตงโม ถั่วลิสง มะเขือเทศ ข้าวโพดหวาน เป็นต้น แตงโม ช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสมเดือนพฤศจิกายน-มีนาคม การปลูก – เตรียมดิน ไถดะตากดิน 1 ครั้ง ไถพรวน 1 ครั้ง ปรับปรุงดินโดยใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ หว่านปูนขาวให้ทั่วเพื่อปรับสภาพดิน จากนั้นไถยกร่องขนาดแปลงกว้าง 2-3 เมตร ความยาวตามสภาพพื้นที่ระยะปลูก เจาะหลุมปลูก ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 เซนติเมตร และใช้พลาสติกสีดำคลุมแปลง ระยะปลูกระหว่างหลุม 60 เซนติเมตร ระหว่างแถวห่าง 6 เมตร เมื่อต้นกล้าอายุ 10-12 วัน คัดต้นกล้าสมบูรณ์ทําการย้ายปลูกต้นกล้าที่สมบูรณ์ปลูก 1 ต้นต่อหลุม – เตรียมเมล็ดพันธุ์ นําเชื้อไตรโคเดอร์มาผสมกับดินปลูก อัตรา 1 : 4 ใส่กระบะเพาะเมล็ด นำเมล็ดแช่น้ำอุ่น (40-50 องศาเซลเซียส) นาน 4-6 ชั่วโมง ขัดเมือกออกบ่มไว้ 2 คืน แล้วนําไปเพาะในถาดเพาะที่เตรียมไว้ ให้น้ำ – ให้น้ำตามร่องทุก 5-7 วัน ตามสภาพความชื้นของดิน ไม่ควรให้น้ำระบบพ่น ฝอยเพราะอาจทำให้เกิ
เชื่อว่าหลายๆ คน ต้องตามติดเทรนด์กระแสต่างๆ ที่กำลังมาแรงต้อนรับต้นปี เทรนด์สุขภาพ เทรนด์อาหาร เทรนด์ความงาม และที่พลาดไม่ได้เลยเทรนด์เกษตร ที่ผู้คนหันมาสนใจกันมากขึ้น ทั้งหันมาปลูกผักไว้รับประทานเอง ปลอดสารเคมี รวมไปถึงที่ทำให้หลายๆ คน ผันตัวเป็นเกษตรกรที่ทำรายได้เสริมมากกว่ารายได้หลัก เป็นอาชีพที่น่าภูมิใจไม่น้อย เชื่อว่าแต่จะประสบความสำเร็จมาได้ต้องผ่านอุปสรรคมาไม่น้อย ก่อนจะหมดเดือนแรกของปี เทรนด์เกษตรอย่างเทคโนโลยีชาวบ้าน ก็ต้องไม่พลาด รวบรวม “พืชสายพันธุ์ใหม่” ที่น่าจับตาต้อนรับปี 2024 พืชบางตัวทำเอาหลายๆ คนสนใจ จนอยากลองไปปลูกบ้าง แต่ก่อนที่จะนำไปปลูกต้องศึกษาข้อมูลให้ดีก่อน ว่าแต่จะมีชนิดไหนกันบ้างตามไปส่องกันเลย 1. ถั่วลิสงพันธุ์ดี ทนโรค ให้ผลผลิตสูง ใช้น้ำน้อย ถั่วลิสงพันธุ์เกษตรศาสตร์ สวก.1 จุดเด่น ให้ผลผลิตสูง 375 กิโลกรัมต่อไร่ ต้านทานต่อโรคยอดไหม้ ปรับตัวได้ดีเมื่อปลูกในฤดูฝนและฤดูแล้งในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คุณภาพเมล็ดเป็นที่ยอมรับของอุตสาหกรรมแปรรูป ถั่วลิสงพันธุ์เกษตรศาสตร์โก๋แก่ 40 จุดเด่น ให้ผลผลิตสูง 370 กิโลกรัมต่อไร่ ทรงต้นเป็นพุ่มเตี้ย เก็บเกี่ยวง่าย เปลือ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Anacardium occidentale L. ชื่อสามัญ Cashew nut ชื่อวงศ์ Anacardiaceae ชื่ออื่นๆ กาหยู กาหยี (ภูเก็ต พังงา ตรัง) มะม่วงหิมพานต์ (กลาง) ยาร่วง ย่าโห้ย ย่าหวัน (พัทลุง สงขลา) ม่วงเล็ดล่อ ท้ายล่อ มะม่วงสิงหล ม่วงชูหน่วย (สุราษฎร์ธานี) หัวโหม่ง ผมถูกนำชื่อไปใช้ในความหมายที่ต้องมีคำอธิบาย เพราะบริบทการตีความขึ้นอยู่กับบรรยากาศ อารมณ์ ในภาษาถิ่นทางภาคใต้ อาจจะมีความหมายถึงคำเรียกของผู้ใหญ่กับเด็กซนๆ เชิงล้อเล่น น่ารักๆ เท่าๆ กับ “บักหำน้อย” แต่หากอารมณ์เกลียด อาจจะเป็นคำด่า ผู้ชายหลอกลวงปลิ้นปล้อน หรือเย้ยหยันก็ได้ “ไอ้…หัวครก” จึงถูกจัดเป็นคำติดลบ สบถ หรือคำอุทานประชด แต่ก็ดีนะที่ยังไม่เคยได้ยิน ว่า “อี..หัวครก” ผมแปลกใจตัวเอง กับคำว่า “ยาร่วง” คืออะไร และที่เรียก “ม่วงเล็ดล่อ”(เมล็ดโผล่) หรือ “ท้ายล่อ” สอดคล้องกับ “ม่วงชูหน่วย” ของชาวอำเภอกาญจนดิษฐ์ สุราษฎร์ธานี ที่เรียกลักษณะเมล็ดโผล่ออกนอกเนื้อ ชูผลลอยไว้ ส่วนที่สงสัยที่สุดคือ ในภาษาเขียน ทำไมเขียนว่า “เม็ดมะม่วงหิมพานต์” ไม่ได้เขียนว่า “เมล็ดมะม่วงหิมพานต์” มะม่วงหิมพานต์ พืชตระกูลเดียวกับมะม่วง แต่แปลกอยู่ที่เห็นเมล็ดอยู
ปี 2563 จังหวัดอุตรดิตถ์ และหลายจังหวัด ประสบปัญหาความแห้งแล้งรุนแรง พืชผลทางการเกษตรหลายชนิดไม่สามารถเจริญเติบโตเอาชีวิตรอดอยู่ได้ ส่วนพืชล้มลุกที่เกษตรกรปลูกในระยะนี้ บางส่วนอยู่รอดได้ เพราะเกษตรกรมีแผนการผลิตของตนเอง มีการวิเคราะห์ และคำนวณปริมาณน้ำที่ต้องใช้เลี้ยงดูพืช แต่มีบางส่วนที่ขาดการวิเคราะห์ศักยภาพ ของไร่นาตนเอง ก็เกิดความเสียหาย เรียกกันว่าประสบภัยแล้ง การเกษตร อีกส่วนที่มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายคือพืชผลประเภทยืนต้น เช่น พืชสวน ไม้ผล ไม้ยืนต้นต่างๆ พืชไร่ พืชผักอายุยาวเกิน 4 เดือน ที่ปลูกเมื่อต้นปี หรือสวนที่ต้นพืชโตถึงให้ผลผลิตแล้ว มีโอกาสขาดน้ำในช่วงนี้ ทำความเสียหายต่อผลผลิต ตั้งแต่คุณภาพผลผลิตต่ำ ปริมาณผลผลิตลดลง หรือไม่ให้ผลผลิต จนถึงต้นตาย เสียหายโดยสิ้นเชิง ความเดือดร้อนเข้ามาเยือน และกระจายความเดือดร้อนไปอีกหลายทิศทาง จนเกิดความอดอยากหิวโหย แย่งชิง กักตุนอาหาร โบราณว่าข้าวยากหมากแพง หรือเรียกว่าเกิด “ทุพภิกขภัย” ร่างกายคน ก็ทานทนเกือบไม่ไหว โรคภัยตามมาทำร้าย ยาดีที่มีอยู่ในพืชอาหาร ที่เรียกว่า “สมุนไพร” ก็รักษาให้หายได้ไม่ค่อยทันใจ เอาไงดี การเกษตรหลายพื้นท
ในช่วงภาวะที่เกษตรกรไทยต้องเจอกับวิกฤตภัยแล้งขั้นรุนแรงในปี 2563 ทุกคนต่างต้องเอาตัวรอดเพื่อความอยู่รอด และจะดีแค่ไหน ถ้าจะมีเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพมาช่วยกู้วิกฤตในช่วงภัยแล้ง คุณอิสระ วงศ์อินทร์ ผู้จัดการฝ่ายขายและการตลาด บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด ได้แนะนำข้าวโพด 2 สายพันธุ์ ที่จะมาช่วยให้เกษตรกรมีรายได้ช่วงแล้ง ซึ่งในข้าวโพดทั้งสองสายพันธุ์นี้จะมีสารเคลือบเพิ่มประสิทธิภาพ ที่เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีใหม่ของบริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด ที่คิดค้นเข้ามาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับเมล็ดพันธุ์พืชตราศรแดง เบื้องต้นนำสารเข้ามาใช้ในข้าวโพดหวาน สวีท ไวโอเล็ท และข้าวโพดหวาน จัมโบ้ สวีท ซึ่งสารตัวนี้จะเข้าไปช่วยป้องกันกำจัดแมลงและช่วยเพิ่มรากฝอยของข้าวโพด ลักษณะการทำงาน เริ่มแรกใช้เพื่อกำจัดแมลง แต่เมื่อมีการทดลองเพิ่มเติมสารเคลือบตัวนี้สามารถทำให้ต้นพืชมีระบบรากที่แข็งแรงเจริญเติบโตได้ดีขึ้น ช่วยเพิ่มรากฝอยที่เยอะขึ้นกว่าเมล็ดที่ไม่ได้เคลือบ และมีการทดลอง มีภาพถ่ายให้เห็นชัดๆ ว่าปลูกข้าวโพดพันธุ์เดียวกัน แต่ต้นที่ใช้เมล็ดเคลือบเพิ่มประสิทธิภาพกับต้นที่ไม่ได้ใช้ ปริมาณรากฝอยมีความแตกต่างกัน ซึ่งระบ