พืชผักเป็นยา
“ผักเป็นยา” เป็นแนวคิดที่เชื่อว่าผักสามารถนำมาใช้ในการบำรุงร่างกายและรักษาโรคต่างๆ ได้ เนื่องจากผักมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ซึ่งมีทั้งวิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระ เทคโนโลยีชาวบ้านจึงได้รวบรวมพืชสมุนไพร ผักกินได้ ใกล้ตัว ที่มีสรรพคุณช่วยบำรุงร่างกายกว่า 10 ชนิดมาฝาก อันดับ 1 ขิง สมุนไพรที่ใช้ทำอาหาร และมีสรรพคุณในการรักษาโรค ซึ่งสามารถช่วยรักษาอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย และช่วยบรรเทาอาการไมเกรนลดความเจ็บปวดจากการปวดหัวได้ อันดับ 2 กระสัง พืชมนต์ขลัง ยาดีไม่มีลืมเลือน ผักที่เป็นอาหารและเป็นยา มีประโยชน์และคุณค่าทางอาหารช่วยในเรื่องของระบบย่อยอาหาร ใช้เป็นยาสมุนไพรนำใบมาต้ม ใช้ล้างหน้ารักษาสิว และทำให้ผิวหน้าใส อันดับ 3 หูเสือ สมุนไพรประจำบ้าน ช่วยแก้หวัด ซึ่งเป็นพืชผักสมุนไพรมาใช้รักษาบรรเทาอาการไอ แก้หวัดคัดจมูกได้อย่างยอดเยี่ยม อันดับ 4 ตดหมู ตดหมา(พาโหม) สมุนไพรที่ใช้ลดน้ำตาล-ไขมันในเลือด ทั้งยาบำรุงที่ดี เป็นยาอายุวัฒนะ โดยเชื่อว่าการรับประทานเป็นประจำ สามารถเพิ่มกำลัง เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยทำให้กระดูกที่หักติดกันง่าย ช่วยทำให้สีผิวเงางาม ช่วยกำจัดพ
สภาพภูมิอากาศบ้านเราเดี๋ยวชื้น เดี๋ยวหนาวเย็น เดี๋ยวร้อน ยามร้อนก็ร้อนร้าว จนชาวบ้านต่างพากันบ่นพึมพำ แช่งด่าดวงตะวันที่อยู่ไกลเราไปตั้ง 150 ล้านกิโลเมตร ร้อนจริงร้อนจัง ร้อนอย่างแท้จริง ร้อนจนจำต้องหมดเงินค่าน้ำค่าไฟเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว เพื่อช่วยคลายร้อนที่ดวงตะวันแบ่งปันส่งมาให้ หมดเงินเพิ่มอีกเยอะเลย เอะหรือว่ารัฐบาลเขาขึ้นราคาค่าน้ำค่าไฟที่เราใช้ของเขาไป ซ้ำเติมให้เร่าร้อนเข้าไปอีก แต่ช่องทางผ่อนคลายร้อนแบบบ้านๆ ก็มีอยู่ คืออาศัยความเป็นธรรมชาติ ต้นไม้ หาดทราย สายน้ำลำธารมากมาย รวมทั้งอาหารการกินที่ชาวบ้านเขารู้จัก และธรรมชาติเสกสรร ให้มีในหน้าร้อนนี้ พืชผักหลายอย่างช่วยคลายร้อนได้ เราเรียกกันว่า “ผักพื้นบ้าน” ผักพื้นบ้าน ส่วนใหญ่เป็นผักได้จากป่า เอามาทำกินกันกับคนที่บ้าน หรือพืชผักริมรั้วที่มีในท้องถิ่นก็ใช่ มีมากกันทุกภาคของไทยที่ป่าไม้ยังอุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านหาเก็บมาวางขายตามตลาดท้องถิ่น เป็นที่นิยมแพร่หลายในหมู่นักบริโภคอาหารป่า ซึ่งปลอดภัยจากสารพิษ เช่นผักชนิดนี้น้อยคนนักที่จะรู้จัก ชื่อเขาแปลกๆ เรียกกันว่า “สะแล” ส่วนที่นำมาเป็นอาหารคือ ดอกอ่อน ลักษณะดอกคล้ายกับผล ดอกอ่อนสะแลม
ผักพื้นบ้านบางชนิด ดูเหมือนว่าไม่น่าจะเป็นผักที่คนเรานำมากินเป็นอาหารได้ แต่ก็ไม่พ้นฝีมือคนบ้านเรา ที่คิดค้นหาวิธีเอามาทำกิน จัดขึ้นสำรับกับข้าวกันจนได้ คงเป็นเพราะว่าคนบ้านเรา มักจะใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ คัดเลือกว่าของชนิดใดที่กินได้ไม่มีพิษภัย กับกินไม่ได้มีอันตรายถึงตายได้ และยังมีการตั้งชื่อแปลกๆ ตามที่คนทั่วไปรู้และเห็นลักษณะ เช่นผักชนิดนี้ “ผักขี้ขวง” ตามคำบอกเล่าจากคนรุ่นเก่า ว่าของกินใดที่ได้เคยลิ้มรสแล้ว เห็นว่าใช้ได้ กินได้ อร่อย มักจะแอบเก็บซ่อนไว้เพื่อจะหาข้อมูลเพิ่มเติม ทดสอบตรวจพิสูจน์ให้มั่นใจ ก่อนจะแจ้งบอกกล่าวให้ลูกหลานนำไปกินได้ โดยในระหว่างเก็บซ่อนนั้น จะตั้งชื่อให้น่าเกลียด ใส่คำว่า “ขี้” ขึ้นหน้า เช่น ขี้เหล็ก ขี้เพี้ย ขี้เขียด ขี้ขวง แต่พอเริ่มเผยแพร่แล้ว บางที่บางถิ่นชื่อเดิมบางอย่างถูกตัดคำหน้าออก บางอย่างยังใช้เรียกอย่างเดิมกันอยู่ และ ผักขี้ขวง หรือ ขวง ก็คงเป็นเช่นนั้น ชื่อมันไม่น่ากิน แต่เมื่อได้รู้จัก คนมักจะรักนิยมชมชอบกัน ผักขี้ขวง ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Glinus oppositifolius (L.) Aug.DC เป็นพืชในวงศ์ MOLLUGINACEAE ในภาษาไทย เรียกแต่ละถิ่นไม่เหมือนกัน ภาคเหนื