พืชสมุนไพรพื้นบ้าน
บัวบกเป็นพืชผักล้มลุกที่ปลูกง่าย มีชีวิตยืนยาวหลายฤดูกาล ชอบขึ้นในพื้นที่ที่มีแสงแดดรำไรและมีความชื้นแฉะ เช่น ตามขอบคันนา ริมสระ ริมคลองน้ำ โดยเถาบัวบกจะเลื้อยไปตามผิวดิน เรียกว่า ไหล สามารถใช้นำไปปักชำ ขยายพันธุ์ปลูกต่ออายุได้ไปหลายฤดู บัวบักสามารถแพร่พันธุ์ได้ตลอดปี เจริญเติบโตได้เร็วมาก มักพบแพร่หลายในช่วงฤดูฝน ในช่วงฤดูแล้งจะปรับตัวให้ใบเล็กลง ก้านสั้นลง แต่มีความแข็งแกร่ง ออกใบยอดเป็นกระจุกที่ข้อ ซึ่งก็ลำต้นจริงของพืชชนิดนี้ เป็นทั้งจุดกำเนิดไหล ใบ ราก ดอก ทุกส่วนของบัวบกมีคุณประโยชน์แก่มนุษย์เราทั้งสิ้น บัวบก เป็นยาเย็น รสขมเฝื่อน เนื่องจาก บัวบกเป็นยาเย็นจัด หากกินมากอาจทำให้ท้องอืดท้องร่วง หัวใจสั่น ปวดหัว หรือวิงเวียนศีรษะได้ เคล็ดการกินบัวบกอย่างง่ายๆ และได้ผลดี คือเอาบัวบกทั้งต้น ทั้งราก มาจิ้มน้ำพริกกิน วันละหนึ่งกำมือ เพียงเท่านี้ก็ช่วยเพิ่มเม็ดเลือดขาวในร่างกาย เพิ่มภูมิต้านทานโรคภัยไข้เจ็บได้อีกโขแล้ว ส่วนวิธีปรุงบัวบกนั้น มี 2 วิธี คือ คั้นน้ำบัวสด เป็นวิธีทำน้ำบัวบกเป็นเครื่องดื่ม คือ นำบัวบกสดมา 1 กำมือ ตำให้แหลกละเอียด แล้วเติมน้ำ 1 แก้ว คนให้เข้ากัน กรองกากออกคั้นเ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Vitex glabrata R. Br. ชื่อวงศ์ VERBENACEAE LAMIACEAE ชื่ออื่นๆ คมขวาน โคกฝรั่ง (กลาง) ขี้เห็น (อุบลราชธานี-เลย) ปลู (สุรินทร์-เขมร) ผมได้ยินชื่อตัวเองเมื่อใครเรียกหาแล้วสะดุ้งทุกครั้ง เพราะเป็น “วจนภาษา” ที่แสดงความรู้สึกทางอารมณ์ ส่งผลทางพฤติกรรมได้อย่างชัดเจน ลองจินตนาการดูซิครับ เมื่อใครพูดถึงอะไรที่ “เน่า” สีหน้าจะแสดงออกอย่างไร น้ำเน่า ปลาเน่า หมาเน่า เหม็นเน่า หรือไข่เน่า หาสีหน้าสร้างสรรค์ได้ยาก แปลก…แต่เป็นชื่อของต้นไม้ดอกหอม ถ้าเอ่ยถึง “ไข่เน่า” ที่เป็นของจริงจาก ไข่เป็ด ไข่ไก่ คงจะไม่ต้องอธิบายถึง “กลิ่น” ว่า “ฉุนนาสิก” เพียงใด ล้างสิบน้ำแล้วยังติดจมูกไม่หาย สมัยก่อนวัยรุ่นนักเลงโบราณยังใช้ไข่เน่าปาหัวเวลายกพวกตีกัน แต่มีไข่อีกแบบที่คล้ายๆ กัน เป็น “ไข่เสีย” ไม่ใช่ไข่เน่า คือ ไข่ซึ่งฟักไม่ออกเป็นตัว ตัวอ่อนตายในฟองไข่ และมีพัฒนาการต่างกันตามอายุ เรียกกันว่า “ไข่ตายโคม” หรือ “ไข่ข้าว” บางท้องถิ่นเรียกว่า ไข่ค้างรัง ในประเทศลาว เรียกว่า ไข่ค้างฮาง ในประเทศฟิลิปปินส์ เรียกว่า “บาลุต” ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นไข่ไก่ หรือไข่เป็ด ที่ฟักแล้วไม่ออกเป็นตัวคือตัวอ่อนตายในฟองไ
มีหลายคนที่รู้จัก รัก ชอบ ให้ความสนใจ กิน “เห็ดเผาะ” หรือ “เห็ดถอบ” ซึ่งเป็นเห็ดดี มีราคา ชาวบ้านเข้าป่าหาเห็ดเผาะ ทำรายได้ดีมาก เป็นผลได้ที่งดงาม ปีใดที่มีเห็ดออกมาก ก็หาเห็ดหาเงินได้มาก ปีที่เห็ดออกน้อย หาเห็ดได้น้อย แต่ราคาเป็นใจ ทำให้ได้รายได้งามเช่นกัน เคยราคาสูงถึง กิโลกรัมละ 600 บาท ทะนานลิตรใหญ่ 2 ทะนาน ทะนานละครึ่งกิโล 300 บาท ปีนี้แล้งนาน ฝนตกมาก มีลูกเห็บตกบ้างบางพื้นที่ มีเผาเศษใบไม้ใบหญ้าบ้าง ซึ่งเขาว่าเป็นสาเหตุทำให้เห็ดเผาะออกมาก จริงเท็จแค่ไหนไม่รับรอง แต่ก็ยังยกระดับอัพเดตราคาเห็ดเผาะ อยู่ที่กิโลละ 320-400 บาท เห็ดเผาะ ต้องปรุงต้มแกงคู่กับ “ใบหมากเม่า” หรือ มะเม่า หรือ ต้นเม่า บ่าเหม้า หมากเม่าหลวง เม่าเสี้ยน หรือ มัดเซ มีเรียกกันหลายอย่างตามพื้นที่ ตามถิ่นต่างๆ มะเม่า เป็นไม้ในวงศ์ EUPHORBIACEAE ชื่อวิทยาศาสตร์ Antidesmathnaitesianum Muell.Arg เป็นไม้พุ่มใหญ่พื้นเมือง ต้นสูง 5-10 เมตร ไม้เนื้อแข็ง แตกกิ่งเป็นพุ่มกลม ใบประเภทใบเดี่ยว ปลายและโคนใบมนกลม ถึงหยักเว้า ขอบใบเรียบ ผิวใบเรียบทั้ง 2 ด้าน แผ่นใบกว้าง 3.5-4 เซนติเมตร ยาว 5-7 เซนติเมตร แผ่นใบบาง มักออกใบหนาแน
ภายในพื้นที่ 123 ไร่ ของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ “เกษตรวิชญา” บ้านกองแหะ หมู่ที่ 4 ต.โป่งแยง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ คือ พื้นที่ดำเนินการภายใต้โครงการ ธนาคารอาหารชุมชน ที่มีสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือ ส.ป.ก. เป็นหน่วยงานหลักในการบริหารจัดการ มาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2546 ถือเป็นอีกหนึ่งการทำงานเพื่อสนองพระราชดำริแห่งการพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่วันนี้ได้ประสบความสำเร็จ สามารถสร้างประโยชน์ให้กับประชาชนได้ตามวัตถุประสงค์ ดร.วิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการ ส.ป.ก. กล่าวว่า ด้วยน้ำพระราชหฤทัยที่ทรงรักและห่วงใยในความเป็นอยู่ของพสกนิกร รวมทั้งสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมที่เกิดขึ้นในพื้นที่แห่งนี้ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระราชทานที่ดินส่วนพระองค์บริเวณบ้านกองแหะ จำนวน 1,350 ไร่ ให้กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อจัดทำเป็นศูนย์ฝึกอบรม และวิจัยพัฒนาการเกษตรให้เหมาะสมกับพื้นที่ รวมทั้งการฟื้นฟูและอนุรักษ์สภาพแวดล้อมให้เกิดระบบนิเวศที่สมบูรณ์ เป็นแหล่งผลิตอาหารธ
กล้วยเปรี้ยว ชื่อวิทยาศาสตร์ Uvaria cordata (Dunal) Alston ชื่อวงศ์ ANNONACEAE ชื่ออื่นๆ กล้วยหมูสัง (ตรัง) นมวัว (สุราษฎร์ธานี) นมแมวใหญ่ (ชุมพร) นมควาย (นครศรีธรรมราช) ลาเกาะ (นราธิวาส) บักผีผ่วน (อีสาน) กล้วยพังพอน กล้วยมูสัง กล้วยเปรี้ยว เมื่อออกดอก ทั้งสีสัน และกลีบดอกสด มีทั้งสีชมพูอ่อน และแดงเข้ม ส่วนเกสรในดอกที่อยู่ชิดแน่นเป็นตุ่มกลมเรียงกลางดอกมีสีเหลือง จากจุดนี้เมื่อแก่ก็เป็นผลกลุ่มจำนวนมากออกมา คล้ายหวีกล้วยเล็กๆ คงจะเป็นลักษณะนี้เอง ทำให้ถูกเรียกว่า กล้วยมูสัง หรือ กล้วยหมูสัง หรือกล้วยพังพอน เพราะภาคใต้ คำว่า “มูสัง หรือ มุดสัง” หมายถึง ชะมด และกล้วยมูสังนี้แหละที่ชะมดชอบกินมากๆ แต่เรื่องชื่อ “นมช้าง” หนูไม่รู้ที่มาเลย เพราะคนทั่วไปเรียกหนูสารพัดชื่อนม แสดงว่าไม่เกี่ยวกับขนาดนม ตอนแรกหนูคิดว่าปลายใบของหนูจะใหญ่ คล้ายหรือเหมือนนมของช้าง แต่คงจะไม่ใช่ เพราะว่ามีเรียกทั้ง นมวัว นมควาย และนมแมวใหญ่ แต่ความจริงใบของหนูก็เล็กกว่านมของตัวช้างจริงแน่ๆ กล้วยเปรี้ยว เป็นไม้เถาขนาดใหญ่ เนื้อแข็ง จะว่าเป็นพรรณไม้กึ่งเลื้อยก็ได้ เพราะสามารถพาดไปกับต้นไม้อื่น และเลื้อยไปได้หลายสิบเมตร
กรดไหลย้อน เป็นโรคในระบบทางเดินอาหารหนึ่งที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะคนสูงวัยและวัยทำงานที่มีความเครียดเป็นเหตุ การที่น้ำย่อย ซึ่งประกอบด้วยกรดเกลือในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไประคายต่อหลอดอาหาร และบริเวณลำคอ ทำให้มีอาการแสบลิ้นปี่ คล้ายเป็นโรคกระเพาะเรื้อรัง โรคนี้เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของการทำหน้าที่ของกล้ามเนื้อหูรูดที่อยู่ตรงส่วนล่างของหลอดอาหาร ซึ่งกล้ามเนื้อหูรูดนี้จะคลายตัวเมื่อมีอาหารไหลผ่านลงไปในกระเพาะอาหาร เมื่ออาหารผ่านลงกระเพาะอาหารจนหมดแล้ว หูรูดนี้จะหดรัดเพื่อปิดกั้นไม่ให้กรดที่อยู่ในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปที่หลอดอาหาร ผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อนนั้น กล้ามเนื้อหูรูดตรงส่วนล่างของหลอดอาหารนี้จะหย่อนสมรรถภาพ ทำให้มีน้ำย่อยไหลย้อนขึ้นไปที่หลอดอาหารมากกว่าปกติ โดยคนปกติไหลย้อนได้ 1-4 ครั้ง แต่ไม่ทำให้เกิดอาการแต่อย่างใด สาเหตุ ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าอาจเกิดจากความเสื่อมตามอายุ และมีความสัมพันธ์กับความอ้วน ภาวะตั้งครรภ์ โรคเบาหวาน และโรคไส้เลื่อนกะบังลม โดยปัจจัยเสริมนั้นมาจากการที่มีแรงดันภายในกระเพาะอาหารและลำไส้ เช่น รัดเข็มขัดแน่นเกินไป มีแก๊สมากจากอาหารที่ไม่ย่อย หรืออาหารที