ฟาร์มหมู
การมีอาชีพที่ไร้ความเสี่ยงถือเป็นสุดยอดปรารถนาของทุกคน เพราะเมื่อไม่มีความเสี่ยงก็ย่อมมีความมั่นคงยั่งยืนตามมา “เกษตรกร” ถือเป็นหนึ่งในอาชีพที่มีความเสี่ยงโดยเฉพาะด้านการตลาด ที่มีความผันผวนตามปัจจัยภายนอกทั้งเรื่องดินฟ้าอากาศ เศรษฐกิจ การบริโภค ฯลฯ ทำให้หลายคนหลีกหนีจากอาชีพนี้ แต่ “ปกรณ์ แก้วทอง” กลับไม่คิดเช่นนั้น เพราะเขาเชื่อว่าทุกอย่างเป็นไปได้หากเลือกในสิ่งที่ถูกต้อง และวันนี้เขาก็ได้พิสูจน์ความเชื่อนั้น ด้วยการเป็นเกษตรกรสมัยใหม่ที่ประสบความสำเร็จในอาชีพ ปกรณ์บอกว่าแม้ว่าปัจจุบันจะรับราชการเป็นนักวิชาการคอมพิวเตอร์ ในโรงพยาบาลสรรพสิทธิ์ประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี แต่ด้วยความสนใจในการเลี้ยงสัตว์มาตั้งแต่เด็กๆ จึงหมั่นศึกษาหาลู่ทางที่จะเดินตามความฝันนี้มาตลอด จนมารู้จักกับ “โครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงสุกรรุ่นพันธุ์ หรือโครงการฝากเลี้ยง” กับ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ จากเพื่อนเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการกับซีพีเอฟที่โครงการส่งเสริมฯ วารินชำราบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี “เห็นเพื่อนเลี้ยงหมูกับซีพีเอฟมาก่อนแล้วมีรายได้ดีและขยายการเลี้ยงเพิ่มขึ้น ระบ
พื้นที่ราว 40 ไร่ ของชัยสิทธิ์ฟาร์ม หมู่ที่ 1 ตำบลบางริ้น อำเภอเมือง จังหวัดระนอง จัดได้ว่าเป็นฟาร์มขนาดเลี้ยงหมูขนาดกลางที่มีระบบการจัดการที่ดี แม้ว่าจะเป็นฟาร์มเลี้ยงหมูแห่งแรกของจังหวัด ก่อตั้งมานานกว่า 35 ปีแล้วก็ตาม คุณชัยสิทธิ์ เจี่ยกุญชร เจ้าของฟาร์ม ให้ข้อมูลว่า ฟาร์มหมูแห่งนี้ มีหมูพ่อพันธุ์ น้ำหนักเฉลี่ย 250 กิโลกรัม จำนวน 20 ตัว หมูแม่พันธุ์ น้ำหนักเฉลี่ย 170 กิโลกรัม จำนวน 350 ตัว หมูขุน น้ำหนักเฉลี่ย 60 กิโลกรัม จำนวน 1,500 ตัว หมูอนุบาล น้ำหนักเฉลี่ย 15 กิโลกรัม จำนวน 1,500 ตัว ที่ผ่านมา นำมูลหมูมาผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์ใช้ภายในไร่ โดยผลิตปุ๋ยอินทรีย์ในรูปของแข็ง ได้ปุ๋ยอินทรีย์มากถึงปีละ 50,000 กิโลกรัม ต่อปี ขายให้กับผู้สนใจ มีรายได้เข้าฟาร์มมากถึง 100,000 บาท ต่อปี นอกจากนี้ ยังสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ในรูปของเหลว ได้มากถึง 85 ลูกบาศก์เมตร ต่อวัน แม้ว่ามูลหมูจะก่อให้เกิดรายได้ให้กับฟาร์ม โดยการขายเป็นมูลหมูตากแห้งก็ตาม แต่เพราะฟาร์มมีขนาดใหญ่ การจัดการความสะอาดภายในฟาร์มดีอย่างไร กลิ่นมูลหมูก็จะเป็นสิ่งไม่พึงประสงค์ ซึ่งเมื่อปริมาณหมูมาก ทำให้กลิ่นกระจายพื้นที่ออกไปกว้าง ส
พื้นที่ราว 40 ไร่ ของชัยสิทธิ์ฟาร์ม หมู่ที่ 1 ตำบลบางริ้น อำเภอเมือง จังหวัดระนอง จัดได้ว่าเป็นฟาร์มเลี้ยงหมูขนาดกลาง ที่มีระบบการจัดการที่ดี แม้ว่าจะเป็นฟาร์มเลี้ยงหมูแห่งแรกของจังหวัด ก่อตั้งมานานกว่า 35 ปี แล้วก็ตาม คุณชัยสิทธิ์ เจี่ยกุญชร เจ้าของฟาร์ม ให้ข้อมูลว่า ฟาร์มหมูแห่งนี้ มีหมูพ่อพันธุ์ น้ำหนักเฉลี่ย 250 กิโลกรัม จำนวน 20 ตัว หมูแม่พันธุ์ น้ำหนักเฉลี่ย 170 กิโลกรัม น้ำหนัก 350 ตัว หมูขุน น้ำหนักเฉลี่ย 60 กิโลกรัม จำนวน 1,500 ตัว หมูอนุบาล น้ำหนักเฉลี่ย 15 กิโลกรัม จำนวน 1,500 ตัว ที่ผ่านมา นำมูลหมูมาผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์ใช้ภายในไร่ โดยผลิตปุ๋ยอินทรีย์ในรูปของแข็ง ได้ปุ๋ยอินทรีย์มากถึงปีละ 50,000 กิโลกรัม ต่อปี ขายให้กับผู้สนใจ มีรายได้เข้าฟาร์มมากถึง 100,000 บาท ต่อปี นอกจากนี้ ยังสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ในรูปของเหลว ได้มากถึง 85 ลูกบาศก์เมตร ต่อวัน แม้ว่ามูลหมูจะก่อให้เกิดรายได้ให้กับฟาร์ม โดยการขายเป็นมูลหมูตากแห้งก็ตาม แต่เพราะฟาร์มมีขนาดใหญ่ การจัดการความสะอาดภายในฟาร์มดีอย่างไร กลิ่นมูลหมูก็จะเป็นสิ่งไม่พึงประสงค์ ซึ่งเมื่อปริมาณหมูมาก ทำให้กลิ่นกระจายพื้นที่ออกไปกว้าง ส
“หนทางไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ” คำพูดนี้สะท้อนความจริงในชีวิตของ คุณสำรวย อันธพันธ์ ที่เกิดมาในครอบครัวชาวไร่ชาวสวน แม้ไม่ถึงกับยากจนแต่ก็ไม่ได้ร่ำรวย นั่นทำให้อนาคตทางการศึกษาของเธอเดินมาสุดทางเพียงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จนเมื่อได้ลงหลักปักฐาน สร้างครอบครัวเล็กๆ กับ คุณชุมพล อันธพันธ์ ผู้เป็นสามี คุณสำรวยก็ยังคงยึดอาชีพทำไร่อ้อย ปลูกข้าวโพด ปลูกทานตะวัน เป็นอาชีพเลี้ยงครอบครัวมาตลอด แต่เพียงตัดอ้อยเก็บข้าวโพดและทานตะวันขายไม่อาจตอบโจทย์ ความมั่นคงทางรายได้ให้กับครอบครัวได้ ในปี 2535 คุณสำรวยและคุณชุมพลจึงตัดสินใจว่าจะทำฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อเป็นอีกอาชีพเสริม ซึ่งความหวังที่ว่านี้ก็เกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างที่คิดไว้จริงๆ เพราะอาชีพเสริมนี้กลับสร้างรายได้ที่ดี จนทำให้ครอบครัวมีฐานะดีขึ้นพอสมควร เวลานั้นคุณสำรวยคิดว่าการเลี้ยงไก่คงจะเป็นอาชีพเลี้ยงตัวได้แน่ๆ แต่ก็เหมือนฟ้าแกล้งจากปัญหาไข้หวัดนกระบาดอย่างหนักในปี 2547 ถึงแม้ว่าฟาร์มไก่ของเธอจะไม่เป็นโรคอย่างเพื่อนร่วมอาชีพ แต่ตอนนั้นเธอยอมรับว่าทุกคนต่างกลัวกันไปหมด เลยจำเป็นต้องเลิกเลี้ยงไก่ไปทั้งที่ไม่ได้อยากเลิก จากจุดเปลี่ยนในครั้งนั้นทำให้คุ
เชียงใหม่ – นายสมพร เจิมพงศ์ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ซีพีเอฟ เผยว่า ฟาร์มสุกรของบริษัทที่กระจายอยู่ในทุกภาคของประเทศตลอดจนเกษตรกรในโครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงสุกรกับซีพีเอฟ ร่วมกันจัดโครงการปันน้ำปุ๋ยให้ชุมชน มาอย่างต่อเนื่องมากว่า 15 ปี ปัจจุบันมีเกษตรกรจำนวน 120 ราย ที่อยู่ใกล้เคียงกับฟาร์มกับซีพีเอฟ นำน้ำปุ๋ยไปใช้กับการเพาะปลูกพืชหลากหลายชนิด อาทิ นาข้าว อ้อย ข้าวโพด มันสำปะหลัง หญ้าเลี้ยงสัตว์ ยูคาลิปตัส ปาล์มน้ำมัน ต้นสัก ยางพารา ผักสวนครัว มะนาว กล้วย สวนไผ่ ฯลฯ ช่วยลดต้นทุนค่าปุ๋ยให้กับเกษตรกร น้ำที่แบ่งปันให้ชุมชนผ่านการบำบัดในระบบแก๊สชีวภาพ สู่บ่อบำบัดน้ำหลังระบบ ต่อไปสู่บ่อพักน้ำ จนน้ำที่สะอาดและมาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด ทั้งยังมีธาตุอาหารที่เหมาะสมกับพืชทุกชนิดตรวจคุณภาพน้ำปุ๋ยในห้องปฏิบัติการ พบว่ามีโพแทสเซียมสูงถึง 297 มิลลิกรัมต่อน้ำ 1 ลิตร และมีไนโตรเจนถึง 154 มิลลิกรัมต่อน้ำ 1 ลิตร ทำให้พืชที่ได้รับน้ำปุ๋ยเติบโตเร็ว ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นและมีคุณภาพดีขึ้น ขอขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือพิมพ์ข่าวสด รายวัน ฉบับวันเสาร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2560