ฟาร์มอัจฉริยะ
ในยุคที่อุตสาหกรรมเกษตรและการเลี้ยงสัตว์ทั่วโลกกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ความยั่งยืนด้านสวัสดิภาพสัตว์ (Sustainable Animal Welfare) เป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาระบบอาหารที่มั่นคง ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตามเส้นทางสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero) เพื่ออนาคตที่ดีกว่าสำหรับทุกชีวิตบนโลก การเลี้ยงสัตว์ในปัจจุบันกำลังเผชิญความท้าทายจากปัจจัยหลายด้าน เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความต้องการอาหารที่ยั่งยืน และแรงผลักดันด้านสวัสดิภาพสัตว์ การสร้างสมดุลระหว่างการเพิ่มผลผลิต การรักษาสิ่งแวดล้อม และดูแลสัตว์ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีจึงเป็นสิ่งจำเป็น ตลอดจนเป็นแรงกระตุ้นให้การเลี้ยงสัตว์ปีกเปลี่ยนผ่านสู่เกษตรอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน บริษัทเกษตรอุตสาหกรรมชั้นนำทั่วโลกรวมถึงบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ตระหนักดีถึงความสำคัญของการเปลี่ยนผ่านจากการเลี้ยงสัตว์แบบดั้งเดิมสู่การทำฟาร์มอัจฉริยะ (Smart Farm) ด้วยการนำแนวทาง “ความยั่งยืนด้านสวัสดิภาพสัตว์” มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและรักษาสมดุลระหว่างคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม จากการนำหลักการสวัสดิภาพสัต
ในประเทศไทย เกษตรกรรมยั่งยืน (Sustainable Agriculture) หมายถึง ระบบการเกษตรที่ครอบคลุมถึงวิถีชีวิตเกษตรกร กระบวนการผลิต และการจัดการทุกรูปแบบ เพื่อให้เกิดความสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศ นำไปสู่การพึ่งตนเองและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและผู้บริโภค มีรูปแบบค่อนข้างหลากหลาย โดยมีการเรียกชื่อต่างกันไป แต่พบว่ารูปแบบที่เป็นที่ยอมรับ และบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 เป็นต้นมา คือ เกษตรผสมผสาน เกษตรทฤษฎีใหม่ วนเกษตร เกษตรอินทรีย์ และเกษตรธรรมชาติ และรูปแบบอื่นๆ ที่สอดคล้องกับหลักการเกษตรกรรมยั่งยืน ทั้ง 5 รูปแบบสามารถจัดเป็นกลุ่มได้ 3 กลุ่ม 1. เน้นการจัดการระบบดิน น้ำ และความหลากหลายของกิจกรรม 2. เน้นการจัดการปัจจัยการผลิต และ 3. เน้นการไม่รบกวนระบบ (แหล่งที่มา : สํานักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม) Aromatic Farm ถือเป็นอีกหนึ่งฟาร์มต้นแบบเกษตรกรรมยั่งยืน ที่มีการนำหลักคิดการทำเกษตรอินทรีย์ ผสมผสานกับแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจแบบใหม่ BCG Economy Model ในการสร้างความเข้มแข็ง ในด้านความหลากหลายทางชีวภาพ โดยอาศัยกลไกวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพ
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ต้นแบบการดำเนินธุรกิจรักษ์โลก โดยมี “มาตรฐานฟาร์มสีเขียว” หรือกรีนฟาร์ม (CPF Green Farm) เป็นตัวอย่างความสำเร็จ จากการมุ่งปรับปรุงตลอดกระบวนการเลี้ยงสุกรของบริษัทให้มีมาตรฐาน คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมรอบข้างเป็นสำคัญ เพื่อให้ฟาร์มเลี้ยงสัตว์อยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างมีความสุข ด้วยการนำเทคโนโลยีที่หลากหลายมาสนับสนุนการเลี้ยงได้เต็มประสิทธิภาพ ด้วย 5 ปัจจัย คือ การเลี้ยงสุกรในโรงเรือนระบบปิด ที่ทำความเย็นด้วยการระเหยของน้ำ (Evaporative Cooling System) สามารถควบคุมอุณหภูมิ สภาพอากาศ ความชื้น ให้เหมาะสมกับสุกรแต่ละช่วงวัย ทำให้สัตว์อยู่สบายและไม่เครียด การใช้ระบบไบโอแก๊ส (Biogas) ได้ก๊าซชีวภาพนำมาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าใช้ในฟาร์มช่วยลดต้นทุนด้านไฟฟ้าได้ถึง 50-80% ของค่าไฟฟ้าทั้งหมด และยังช่วยป้องกันกลิ่นออกจากระบบทำให้ไม่มีแมลงวันที่จะไปรบกวนชุมชน นำระบบฟอกอากาศท้ายโรงเรือน มาใช้ตัดกลิ่นที่อาจหลงเหลือ การบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีการปันน้ำที่ผ่านการบำบัดจากระบบผลิตก๊าซชีวภาพส่งให้ชุมชนโดยรอบ นำไปใช้เพื่อการเกษตร ช่วยบรรเทาผลกระทบจาก
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ถ่ายทอดระบบ “ฟาร์มอัจฉริยะ หรือสมาร์ทฟาร์ม (Smart Farm)” มุ่งสู่เกษตรกรคอนแทรคฟาร์มมิ่ง มุ่งใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม IOT ในฟาร์มสุกร ช่วยยกระดับการบริหารจัดการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สวัสดิภาพสัตว์ระดับสากล ลดการพึ่งพายาปฏิชีวนะ และเพิ่มความเชื่อมั่นผู้บริโภค นายสมพร เจิมพงศ์ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า การวิจัยและพัฒนาเป็นก้าวย่างสำคัญที่ช่วยให้การดำเนินงานของธุรกิจเลี้ยงสัตว์ (Farm) รุดหน้าและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สำหรับธุรกิจสุกรให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาใช้ขับเคลื่อนการดำเนินงาน โดยผนึกกำลังกับซีพีเอฟไอที เซ็นเตอร์ และทรู คอร์ปอเรชั่น ในการพัฒนาระบบ “ฟาร์มอัจฉริยะ หรือสมาร์ทฟาร์ม (Smart Farm)” มาผนวกกับกิจการเลี้ยงสัตว์ของซีพีเอฟ เมื่อข้อมูลจำนวนมากของบริษัทที่ถูกเก็บรวบรวมแบบออนไลน์ ทำให้ได้ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อใช้สำหรับการวิเคราะห์และประมวลผล อีกทั้งยังนำเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) มาช่วยยกระดับและสร้างความเชื่อมั่นให้กับข้อมูลต่างๆ และบริษัทยังพัฒนาการเลี้ยงสุ
“การนำเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติต่างๆ เข้ามาใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ รวมไปถึงอุตสาหกรรมเกษตรซึ่งเป็นฐานเศรษฐกิจและรายได้ส่วนใหญ่ของประชาชน จะก่อให้เกิดประโยชน์มากมาย ทั้งในด้านการเพิ่มผลผลิต เพิ่มคุณภาพ และการประหยัดแรงงาน นอกจากนี้ ระบบอัตโนมัติต่างๆ ที่ควบคุมโดยพลังงานไฟฟ้าเมื่อการผลิตพลังงานไฟฟ้าด้วยแสงอาทิตย์ก็เป็นแนวทางเลือกหนึ่งของพลังงานทดแทน” อาจารย์พนิตา ภักดี ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักวิจัยและอาจารย์ผู้ดูแลโครงการศูนย์สาธิตระบบฟาร์มเป็ดอัตโนมัติด้วยพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ กล่าวถึงที่มาของการจัดตั้งศูนย์แห่งนี้ ซึ่งตั้งอยู่ภายในพื้นที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ เลขที่ 489 ถนนประชาพัฒนา แขวงทับยาว เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ ในวันนี้นอกจากเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่เปิดสอนทั้งในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ภายใต้ความมุ่งมั่นเพื่อตอบสนองความต้องการสังคมในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ที่มีคุณธรรม คุณภาพ และทัศนคติที่ดีต่อธรรมชาติและเพื่อนมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สังคมไทยและประเทศไทย ด้วยแนวนโยบายของผู้บริหารของมหาวิทยาลัย โดยเฉพา
เมล่อน เป็นผลไม้อีกหนึ่งชนิดที่นิยมบริโภคกันมากในปัจจุบัน เพราะมีรสชาติที่อร่อย มีกลิ่นหอมและรสหวาน ส่วนมากจะนิยมนำมาบริโภคสด หรือนำมาเป็นส่วนประกอบของหวาน เครื่องดื่ม ไอศกรีม ฟรุตสลัด และด้วยกระแสความดังของเมล่อน ส่งผลให้เกษตรกรหน้าใหม่เข้าสู่การทำฟาร์มเมล่อนเป็นหลัก ซึ่งการปลูกเมล่อนต้องอาศัยการดูแลเป็นอย่างมาก คุณวีรพงศ์ สุโอสถ ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์ รุ่นที่ 2 ของ ฟาร์มลุงแดง เมล่อน & ผักสลัด อยู่ที่ 26/4 หมู่ที่ 7 ซอยเฉลิมพระเกียรติ 2 ตำบลคลองเจ็ด อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120 ได้เล่าว่า เดิมทีคุณพ่อได้เริ่มจากการทำนา ทำสวนส้ม ตะไคร้ ฝรั่ง จนกระทั่งเรียนจบ หลังจากเรียนจบก็ลองปลูกเมล่อน ซึ่งการที่มาปลูกเมล่อนเป็นเพราะพี่สาวชอบ จึงเริ่มต้นปลูกเมล่อนกลางแจ้ง 3 แปลง แปลงแรก เก็บได้หมด แปลงสอง เก็บได้ครึ่งหนึ่ง แปลงสาม เก็บไม่ได้เลย เลยทำให้รู้ว่าเราปลูกได้ แต่เราไม่มีโรงเรือน เลยสู้แมลงไม่ไหว จึงเริ่มคิดทำโรงเรือน ซึ่งการทำโรงเรือนหลังแรก ราคาอยู่ที่ 65,000 บาท เราจ้างเขาทำแล้วให้เขาสอนงานเราด้วย ตอนนี้ก็เลยทำโรงเรือนเป็นและรับการทำโรงเรือนไปด้วย ตอนนี้โรงเรือนของเราจะมีเมล่อน