ฟาร์มเลี้ยงหมู
ท่ามกลางวิกฤตปุ๋ยแพงและปริมาณทุเรียนที่เพิ่มปริมาณมากขึ้น การแข่งขันจะมีผลต่อราคาที่ปรับลง ขณะที่เกษตรกรต้องแบกภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้น 2-3 เท่าตั้งแต่ปลายปี 2564 ต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน และยังไม่แน่ใจในอนาคตว่าจะมีการปรับราคาปุ๋ยเพิ่มขึ้นอีกหรือไม่ บรรดาเกษตรกรได้หาทางออกเพื่อลดต้นทุนการผลิตจากการพึ่งพาปุ๋ยเคมี 100% แม้แต่เกษตรกรรายใหญ่ได้กลับมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์จากภูมิปัญญาดั้งเดิมผสมผสานกับปุ๋ยเคมี และพบว่าได้ผลผลิตมีคุณภาพ ดีกว่าใช้ปุ๋ยเคมี 100% และลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้ถึง 50% คุณวุฒิพงศ์ รัตนมณฑ์ เกษตรกรเจ้าของสวนผลไม้ ที่อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด มีประสบการณ์การทำสวนมามากกว่า 30 ปี และหันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อช่วยลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีได้ผลมาร่วม 10 ปี พร้อมที่จะเป็นต้นแบบขยายผลให้เกษตรกรทั่วไป ประสบการณ์ทำสวนกว่า 30 ปี คุณวุฒิพงศ์ รัตนมณฑ์ จบปริญญาตรี สาขาพืชสวน จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อปี 2522 สร้างสมประสบการณ์เรื่อยมาทั้งสวนส้ม สวนปาล์ม ยางพารา และมาถึงปัจจุบันทำสวนทุเรียน เงาะ มังคุด ประมาณ 300-400 ไร่ ที่จังหวัดตราด ส่วนใหญ่เป็นทุเรียน ที่ผ่านมาเคยนั่งตำแหน่งประธานหอการค้าจังหว
จากเด็กหนุ่มบ้านนาที่ชอบการเกษตร หลังเรียนจบเกษตร จึงทำงานหาประสบการณ์หลายแห่ง สุดท้ายกลับบ้าน เข้าทำงานในส่วนราชการไม่นาน ก็ลาออกหันมาทำอาชีพเกษตรที่ชื่นชอบ จึงมาเป็น “คลังเกษตรฟาร์ม” ที่บ้านบะหว้า วันนี้พบกับ คุณขจรศักดิ์ เบ็ญชัย อาชีพทนายความ และเป็นอดีต ส.อบจ.สกลนคร เขตอำเภอวานรนิวาส ที่มีจิตใจรักด้านการเกษตร และหันมาทดลองปลูกทุเรียนในพื้นที่ตนเองจำนวนหนึ่งพร้อมทั้งปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้นอีกหลากหลายชนิด ตลอดจนสวนยางพารา และมีโอกาสร่วมเดินทางไปพบกับคนหนุ่มรุ่นใหม่ ที่ไม่สนใจการทำงานราชการ แต่หันมาพัฒนาพื้นที่นา เป็นงานด้านเกษตร โดยยึดหลักว่า “ทำเกษตร มีเกียรติ มีกิน” อยู่ที่บ้านบะหว้า ตำบลบะหว้า อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร จากจังหวัดสกลนคร มุ่งหน้าไปตามสาย สกลนคร-อุดรธานี ราว 25 กิโลเมตร มาถึงหมู่บ้านดงมะไฟ หรือที่ผู้คนทั่วไปว่าเป็นหมู่บ้าน “ปั้นดิน” ให้เป็นเงิน มีชาวบ้านทำงานอาชีพเกี่ยวกับ “ปั้นเตา” หรือแหล่งจำหน่าย “ปั้นเตา” ร้านใหญ่ของจังหวัดสกลนคร ผ่านมาตามถนนเส้นเดิมอีก 5 กิโลเมตร ก็ถึงหมู่บ้านสูงเนิน เป็นสามแยก ชาวบ้านเรียกว่า “สามแยกสูงเนิน” เลี้ยวขวา มุ่งหน้าไปตามถนนสาย บ้านสู
นายชาญชัย ภูทองกลม อายุ 56 ปีชาว ต.บัวบาน อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ เปิดเผยว่า ในอดีตได้ประกอบอาชีพทำนา โดยทำทั้งนาปีและนาปรัง เนื่องจากอยู่ในเขตพื้นที่ชลประทานเขื่อนลำปาว มีผลผลิตแบ่งขายเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายและเหลืออุปโภคในครัวเรือนได้ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อปีที่ผ่านมาราคาข้าวเปลือกตกต่ำ ขณะที่ต้นทุนการทำนาสูงขึ้น รายได้ไม่คุ้มทุน จึงลดพื้นที่ทำนาลงเกือบ 2 ไร่เศษโดยนำที่นาส่วนหนึ่งมาสร้างโรงเรือนเลี้ยงหนูนา เนื่องจากเห็นว่าหนูนาเป็นอาหารยอดนิยมของชาวบ้านในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และนำที่นาบางส่วนมาปลูกมันสำปะหลัง ปลูกผักสวนครัว เพื่อเป็นอาหารเสริมให้หนูนา “หนูนาเป็นอาหารยอดฮิตของชาวอีสานที่มักจะนำมาประกอบอาหารในฤดูหนาว เนื้อให้รสชาติที่นุ่ม เหนียว ติดมัน นำมาทำอาหารได้หลายเมนู เช่น ย่าง ผัดเผ็ด ลาบ ก้อย คั่ว แกง อ่อม หรือหมก บางคนยังเชื่อว่าถ้าได้เปิบหนูนาในฤดูหนาว ยังจะช่วยให้ร่างกายอบอุ่นด้วย”นายชาญชัยกล่าวและว่านับวันหนูนาตามธรรมชาติจะหายากมากขึ้น เนื่องจากระบบนิเวศเปลี่ยนไป หนูนาจึงขาดแคลน เมื่อปีที่ผ่านมาจึงได้ทดลองเลี้ยงหนูนาเพื่อจำหน่าย โดยใช้ภูมิปัญญาใช้กับดักหาจับเองบ้าง รับซื้อจากช