ฟาร์มแมว
ย้อนกลับไปราวปี พ.ศ.2547 Maine Coon หรือ แมวเมนคูน ยังไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายนักในประเทศไทย หากเป็นกลุ่มแมวที่นำเข้าจากต่างประเทศ และได้รับความนิยมในยุคนั้น น่าจะเป็น Persian หรือแมวเปอร์เซีย หรือเรียกอีกอย่างว่า แมวเปอร์เซียน เป็นที่รู้จักและต้องการมากกว่า ทั้งยังมีฟาร์มเพาะขยายพันธุ์ จำหน่ายภายในประเทศไทยอย่างแพร่หลาย ต่างกับแมวเมนคูน ที่ตลาดเพาะจำหน่ายขยายพันธุ์ ยังไม่มีทิศทาง เช่นเดียวกับการทำฟาร์มแมว ของคุณเจตนิภัทธ์ หวังใจสุข หรือคุณซอล ที่ก่อนหน้านี้การทำฟาร์มแมวเปอร์เซียเป็นกิจการและงานที่รักของคุณแม่มาตั้งแต่คุณเจตนิภัทธ์ยังเด็ก เป็นการเพาะขยายพันธุ์และจำหน่ายแมวเปอร์เซีย 1 ในจำนวนไม่กี่ฟาร์มในขณะนั้น จากฟาร์มแมวเปอร์เซียที่ได้รับความนิยมอย่างดี แต่กลับเปลี่ยนสายพันธุ์แมวเป็น “เมนคูน” ทั้งที่แมวเปอร์เซียยังได้รับความนิยมไม่ตก ข้อข้องใจนี้คุณเจตนิภัทธ์ อธิบายว่า เพราะแมวเปอร์เซียมีฟาร์มที่เพาะขยายพันธุ์และจำหน่ายในประเทศไทยจำนวนหนึ่ง ส่วนแมวเมนคูนในยุคนั้น ความแพร่หลายและความนิยม รวมถึงการเป็นที่รู้จักของคนไทย เรียกได้ว่า “ศูนย์” ประกอบกับคุณแม่ชอบสุนัข แต่มีเชื้อสายไทย-มุสลิม
ว่ากันว่า ถ้าจะเลี้ยงสัตว์หรือปลูกพืชใดๆ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงสิ่งแรกคือ ความรัก เพราะหากไม่รักแล้ว จะอยู่กับสิ่งนั้นๆ ได้ไม่นานและทำได้ไม่ดีพอ คุณเบญญารดา ดิษยาธราดล หรือ คุณฮาวา ก็เช่นกัน คุณฮาวา เป็นสาวสวย มีใจรักในการเลี้ยงแมวมานาน เริ่มเลี้ยงแมวโดยไม่เลือกสายพันธุ์ เลี้ยงไว้จำนวนหนึ่ง กระทั่งเธอรู้สึกว่า เธอรักและหลงใหลในแมวสายพันธุ์บริติช ชอร์ตแฮร์ มากเป็นพิเศษ โดยเธอบอกว่า บริติช ชอร์ตแฮร์ เป็นแมวที่มีความเป็นตัวเองค่อนข้างสูง มีความเท่ แต่ง่าย บุคลิกโดดเด่นกว่าแมวสายพันธุ์อื่น ลำตัวใหญ่เหมือนหมี ปากยิ้ม เลี้ยงง่าย อยู่ด้วยไม่น่าเบื่อ ทำให้แมวในการดูแลของคุณฮาวา เน้นเป็นสายพันธุ์บริติช ชอร์ตแฮร์ มากกว่าชนิดอื่น แรกเริ่ม ก็เลี้ยงไว้เป็นเพื่อนเล่น เมื่อเพิ่มจำนวนมากขึ้น ปัจจัยในการดูแลก็เป็นตัวแปรที่ทำให้มองทางออกว่า ควรปล่อยให้คนที่รักและต้องการเลี้ยงเหมือนกัน แบ่งไปเลี้ยงบ้าง จึงเป็นที่มาของการส่งต่อลูกแมวไปยังบ้านที่ต้องการเลี้ยง แต่คุณฮาวา ไม่ได้เน้นเชิงพาณิชย์ จึงมีจำนวนลูกแมวออกจากฟาร์มแต่ละปีไม่มากนัก “ส่วนหนึ่งไม่ใช่แค่เรื่องค่าใช้จ่าย แต่เพราะถ้าเลี้ยงแล้วเพาะอยู่ในฟาร์ม ไม