ภาคเกษตร
ภาคประชาชนประสานอดีตข้าราชการเกษตรตั้งศูนย์ปฎิบัติการอาสาสมัครช่วยเหลือและพัฒนาเกษตรกรภาคประชาชน.(ศอพก.)เดินหน้าแก้ปัญหาภาคเกษตรหนุนการทำงานภาครัฐ นายอภิชาติ พงศ์ศรีหดุลชัย อดีตอธิบดีกรมการข้าว ในฐานะประธานที่ปรึกษาศูนย์ปฎิบัติการอาสาสมัครช่วยเหลือและพัฒนาเกษตรกรภาคประชาชน (ศอพก. ) กล่าวภาคหลังการเปิดศูนย์ปฎิบัติการฯ อย่างเป็นทางการที่โรงเรียนข้าวและชาวนา กรมการข้าว บางเขน ว่า จากกระแสความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในการแข่งขันภาคการเกษตรตามบริบทของสังคมไทยและสังคมโลก เกษตรกร นับเป็นกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญ และได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ระบบการบริหารจัดการเชิงนวัตกรรมและเทคโนโลยีการเกษตร นับเป็นกุญแจสำคัญ ควบคู่กับโอกาสการเข้าถึงองค์ความรู้ การสื่อสารและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่สำคัญ ควบคู่ไปกับปัจจัยการผลิตและแหล่งทุนในการดำเนินกิจการต่างๆ ขณะเดียวกันภาคเกษตรยังเผชิญปัญหาภัยคุกคามทางธรรมชาติหรือภัยพิบัติต่างๆ ที่อยู่นอกเหนือการควบคุม ล้วนเป็นปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่บั่นทอนความรู้สึก และกำลังใจของกลุ่มเกษตรกรอย่างมาก แม้ว่าทุกรัฐบาลที่ผ่านมาจะมองเห็นปัญหาของภาคเกษ
โครงการข้าวโพดหลังนาที่ภาครัฐรณรงค์ให้ชาวนางดปลูกข้าวนาปรัง แล้วเชิญชวนให้หันมาปลูก “ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์” ต่อจากข้าวนาปีแทนนั้น น่าแปลกใจที่โครงการดีๆ แบบนี้กลับมีบางคนเห็นเป็นเรื่องหนุนนายทุนไปเสีย ทั้งๆ ที่มันมีเหตุผลประกอบหลายประการและทั้งหมดเป็นผลประโยชน์ของเกษตรกรและประเทศชาติเป็นหลัก ประการแรก : ลดปริมาณผลผลิตข้าวที่กำลังล้นตลาด เพื่อดึงราคาข้าวให้สูงขึ้น ซึ่งเริ่มเห็นแนวโน้มราคาข้าว จากข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ที่ระบุว่าในปี 2562 “ข้าว” จะเป็นสินค้าเกษตรที่มีปัญหาน้อยที่สุด โดยในปี 2562 คาดการณ์ว่าจะมีปริมาณผลผลิตข้าวนาปีเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาข้าวเปลือกหอมมะลิ-ข้าวเปลือกหอมปทุมธานีในปี 2561 ปรับสูงขึ้น โดยเฉพาะ “ข้าวหอมมะลิ” ทำสถิติราคาสูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึงตันละ 18,000 บาท ประการที่สอง : ลดปริมาณการใช้น้ำ จากภาวะ “แล้ง” ประเทศเราขาดแคลนน้ำอย่างหนักในช่วงที่ผ่านมา รัฐจึงต้องรณรงค์ปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยทดแทน หวยจึงมาออกที่ “ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์” ที่ใช้น้ำน้อย ใช้เวลาปลูกน้อย และที่สำคัญ มีตลาดรองรับผลผลิตที่แน่นอน ซึ่งเป็นประโยชน์โดยตรงต่อชาวนาไทย ประการที่สาม : รั
กรมส่งเสริมการเกษตรจับมือสยามคูโบต้า เปิดงาน Agri Forum และ KUBOTA Showcase 2018 ร่วมพัฒนาส่งเสริมเกษตรกรไทยเข้าสู่ยุคเกษตร 4.0 พร้อมนำเครื่องจักรกลเกษตรจากญี่ปุ่นมาโชว์นวัตกรรมเกษตรแห่งอนาคตในไทย ภายใต้แนวคิด “พลังแห่งนวัตกรรมเกษตร” ณ จังหวัดพิษณุโลก นางดาเรศร์ กิตติโยภาส รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า ทิศทางภาคการเกษตรของไทยในปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนเป็นอย่างมาก และยังเผชิญกับประเด็นความท้าทายทั้งด้านเทคโนโลยี สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง การแข่งขันทางการค้า และสังคมผู้สูงอายุ จึงต้องมีการปรับตัวให้เข้าสู่ยุคเกษตร 4.0 ตามนโยบายของรัฐบาลที่เน้นขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม โดยการปฏิรูปภาคเกษตรไทยใน 4 ด้านหลักคือ 1. บุคลากรในภาคการเกษตร 2. พื้นที่/ทรัพยากร และโครงสร้างพื้นฐาน 3. สินค้า และ 4. R&D เทคโนโลยีและนวัตกรรม มีเป้าหมายมุ่งสู่การทำเกษตรแบบสมัยใหม่และมีความแม่นยำยิ่งขึ้น รวมถึงนำหลักตลาดนำการผลิตมาใช้ ด้วยการให้ความรู้ด้านการตลาดในยุคดิจิทัล เพื่อเพิ่มโอกาสในการกระจายผลผลิตเกษตรได้มากขึ้น ทั้งหมดนี้เป็นโจทย์ที่กรมฯ ต้องทำงานแบบบูรณาการกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและภ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เผย วงเงินงบประมาณแผนงานบูรณาการพัฒนาศักยภาพการผลิตภาคเกษตร ปี 2561 รวม 9,456 ล้านบาท พร้อมแจงวงเงินทั้ง 3 เป้าหมาย เตรียมเดินหน้าเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสินค้าเกษตร พัฒนาเศรษฐกิจภาคเกษตรให้เติบโตอย่างเต็มประสิทธิภาพ นางสาวจริยา สุทธิไชยา เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปี 2561 ภายใต้ 6 ยุทธศาสตร์ 29 แผนบรูณาการของกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนประเทศให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติ โดยปีงบประมาณ 2561 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงานแผนงานบูรณาการพัฒนาศักยภาพการผลิตภาคเกษตร และมีหน่วยงานร่วมดำเนินการ 7 กระทรวง 28 หน่วยงาน 2 รัฐวิสาหกิจ ภายใต้หลักการบริหารจัดการสินค้าเกษตร (Product Base) และให้เกษตรกรเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา (Farmer Center) ซึ่งเน้นใน 3 เป้าหมาย ภายใต้งบประมาณ 9,456.6522 ล้านบาท ดังนี้ เป้าหมายที่ 1 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสินค้าเกษตรตลอดห่วงโซ่อุปทาน เน้นสินค้า ข้า
นายอำนวย ปะติเส สมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า รัฐบาลโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้ประกาศว่าตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน 2560 เป็นต้นมา ประเทศไทยกำลังเดินเข้าสู่ระยะที่ 2 ของการปฏิรูปประเทศในทุกด้าน การปฏิรูปก็คือการแก้ปัญหาในเชิงโครงสร้างหลายๆเรื่องที่ต้องแก้ ประเทศไทยเป็นประเทศสินค้าเกษตรประเด็นหลักของการปฏิรูปต้องมุ่งไปสู่ภาคเกษตรอย่างแน่นอน ในภาคเกษตรนั้นตัวแทนของเกษตรกรที่กฎหมายรองรับอยู่นั่นคือ ‘สภาเกษตรกรแห่งชาติ’ ในระดับชาติ และ ‘สภาเกษตรกรจังหวัด’ในระดับจังหวัด เพราะฉะนั้นการปรับตัว การติดตามสถานการณ์ในเชิงนโยบายของรัฐเพื่อที่จะเข้าไปสู่การแก้ปัญหาในระยะที่ 2 การปฏิรูปโครงสร้างระยะที่ 2 ก็มีความจำเป็นที่เกษตรกรต้องคอยติดตามสถานการณ์ ส่วนของสภาเกษตรกรฯได้มีการประชุมในคณะกรรมการซึ่งมี 15 ชุด ในแต่ละชุดมุ่งเน้นไปสู่ปัญหาภาคเกษตรชุดของตัวเองและประสานงานกับภาครัฐเพื่อที่จะนำกฎหมาย นโยบายของราชการต่างๆของรัฐที่ออกมา ส่งเสริมให้เกษตรกรมีความอยู่ดี กินดี ได้ใช้ประโยชน์จากกฎหมายและนโยบายเหล่านั้น การปฏิรูประยะที่ 2 นี้จะเดินหน้าไปจนกระทั่งมีการเลือกตั้ง หลังเลือกตั้
จากนโยบายของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ว่าด้วยเรื่อง “การขับเคลื่อน Thailand 4.0 ด้านการเกษตร อาหารและเทคโนโลยีชีวภาพ เน้นการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการ เพื่อการพัฒนาประเทศไปสู่ความมั่งคั่งและยั่งยืน คนไทยมีความอยู่ดีกินดี มีสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดีและพึ่งพาตนเองได้” และกำหนดทิศทางการพัฒนาภายใต้แผนพัฒนาประเทศ ฉบับที่ 12 โดยนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การทำเกษตรทฤษฎีใหม่มาเป็นทางการดำเนินงานระยะ 20 ปี รัฐบาลให้ความสำคัญต่อการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจใหม่ (New Economic Model) ในทุกมิติ ทั้งภาคธุรกิจ เกษตร การศึกษา ไปสู่โมเดลใหม่ Thailand 4.0 ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการผลิต เพื่อให้เกิดมีรายได้เพิ่มมากขึ้น โดยมุ่งเน้นการแก้ปัญหาให้ประเทศหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลางเพื่อพัฒนาต่อยอดเศรษฐกิจไทยไปสู่เศรษฐกิจที่เน้นคุณค่า และเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิต เน้นการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการ สามารถสร้างความกินดีอยู่ดีให้กับประชาชนในทุกภูมิภาค ทั้งนี้ หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจึงต้