ภาคเกษตรไทย
ช่วงนี้มักได้ยินคำว่าคาร์บอนเครดิตในหลายๆ ช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นสื่อสิ่งพิมพ์หรือแม้สื่อโซเชียลต่างๆ จึงทำให้เกิดคำถามจากหลายๆ ท่าน ในหลากหลายมุมมองว่า คาร์บอนเครดิตที่กำลังเป็นคำฮิตกันอยู่นี้ เป็นเพียงเทรนด์ที่กำลังฮิตหรือเป็นสิ่งที่เราทุกคนต้องหันมาเริ่มให้ความสนใจ เพราะด้วยสภาพแวดล้อมของโลกที่เปลี่ยนไป ทำให้ปริมาณการเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจกที่มาจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากภาคอุตสาหกรรมต่างๆ มีการใช้กลไกทางการตลาด เพื่อจูงใจอุตสาหกรรมให้หันมาลดการปล่อยก๊าซมากขึ้น ส่งผลให้มีการริเริ่มการซื้อขายที่เรียกว่า “คาร์บอนเครดิต” (Carbon Credit) ขึ้นมา “คาร์บอนเครดิต” (Carbon Credit) อาจก่อให้เกิดผลประโยชน์ร่วมอื่นๆ ซึ่งมีสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ชุมชน (Co-benefit) เช่น แหล่งอาหาร สร้างอาชีพ แหล่งต้นน้ำ การป้องกันมลพิษและภัยพิบัติทางธรรมชาติ เป็นต้น ซึ่งป่าไม้จึงเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่มีความสำคัญสามารถสร้างมูลค่าที่เกิดจากคาร์บอนเครดิตซึ่งจะตอบโจทย์การเป็นสังคมปลอดคาร์บอนได้ เพราะโอกาสในการค้าคาร์บอนเครดิตไม่ได้ใช้เพียงแค่เทคโนโลยี แต่ยังเป็นการสร้างโอกาสที่เกิดรายได้ไปยังเกษตรกรในชนบท ปร
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. จะจัดงาน “ประชุมวิชาการ สวก. 2562” ภายใต้แนวคิด “Beyond Disruptive Technology” จุดเปลี่ยนอนาคตไทย ด้วยงานวิจัยเกษตร เพื่อแสดงถึงการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนางานวิจัยด้านการเกษตร ซึ่งสอดคล้องกับกลไกการขับเคลื่อนประเทศไทยจากการเกษตรแบบเดิม ไปสู่ยุคการเกษตรที่ขับเคลื่อนด้านนวัตกรรม สวก. จึงได้ผลักดันและสนับสนุนงานวิจัย เพื่อตอบสนองการพัฒนาภาคการเกษตรของประเทศไทย บนพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ตามมาตรฐานการศึกษาวิจัยที่มีคุณภาพ จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 8-9 ตุลาคม 2562 เวลา 8.30 – 16.30 น. ณ โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการและคอนเวนชัน เซ็นเตอร์ ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า การจัดงานประชุมวิชาการ สวก. 2562 เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำเสนอผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ เทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านการเกษตรของประเทศ ซึ่งปีนี้ สวก. ได้คัดสรรโครงการวิจัยภายใต้ธีมงาน “Beyond Disruptive Technology” มาจัดแสดงกว่า 200 โครงการ ยกตัวอย่าง เช่น 1) โครงการ การพัฒนาระบบเรดาร์เพื่อการจั