ภาวะโลกร้อน
(วันที่ 20 มีนาคม 2567) ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นประธานแถลงข่าวการจัดงานเนื่องในวันน้ำโลก ประจำปี พ.ศ. 2567 ภายหลังการประชุมติดตามสถานการณ์น้ำประจำสัปดาห์ โดยมีผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ สทนช. และสื่อมวลชนแขนงต่างๆ ร่วมรับฟังการแถลง ณ ห้องประชุมน้ำปิง สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ถนนวิภาวดี กรุงเทพฯ เลขาธิการ สทนช. กล่าวว่า เนื่องด้วยองค์การสหประชาชาติ (UN) ตระหนักถึงปัญหาการขาดแคลนน้ำที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกปี และอาจก่อให้เกิดปัญหาการแย่งชิงน้ำขึ้นได้ในอนาคต ดังนั้น ทุกวันที่ 22 มีนาคมของทุกปี จึงกำหนดให้เป็น “วันน้ำโลก” หรือ “World Water Day” เพื่อย้ำให้เห็นความสำคัญของน้ำ อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวในเรื่องการอนุรักษ์น้ำและการพัฒนาแหล่งน้ำ โดยปีนี้ได้กำหนดหัวข้อ หรือ Theme การจัดงานไว้คือ “Leveraging Water for Peace” หรือ “น้ำเพื่อสันติภาพ” ทั้งนี้ สทนช. ในฐานะหน่วยงานรัฐบาลที่มีบทบาทหลักในการบริหารจัดการน้ำของประเทศ จึงได้เป็นเจ้าภาพจัดกิจกรรม “วันน้ำโลก” ในนามรัฐบาลไทยพร้อมกับนานาประเทศทั่วโลกในวันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2567 ณ ห้อ
จะเรียกว่าโลกร้อนหรือโลกเดือดก็ตาม เป็นที่แน่แท้แล้วว่าโลกใบนี้ของเรามีอุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อยๆ และออกจะแน่แท้แล้วเช่นกันว่า ความพยายามที่จะควบคุมโลกไม่ได้อุณหภูมิสูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสภายในปี 2573 หรืออีก 7 ปีข้างหน้า ที่ประเทศน้อยใหญ่กำลังพยายามกันอย่างยิ่งนั้น ยากที่จะเป็นได้ เพราะด้วยจำนวนประชากรกว่า 7 พันล้าน และการบริโภคทั้งอาหารและความสะดวกสบายนานา จะทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส ภายในปี 2571 หรือ 5 ปีข้างหน้านี่เอง เรียกว่าถ้าไม่รีบจากโลกนี้ไปเสียก่อนวัยอันควร เราทุกคนจะได้รับผลกระทบนี้อย่างแน่นอน จะได้เป็นประจักษ์โลกที่้ร้อนหรือเดือดนั้นอย่างแน่นอน โลกจะยังเดินหน้าร้อนขึ้นเรื่อยๆ ต่อไป สัมผัสได้จากอากาศที่ร้อนขึ้น ค่าไฟเพื่อระงับความร้อนพุ่งสูงขึ้น ต้นไม้ใบหญ้า พืชผลการเกษตรล้มตาย หรือมีโรคราหน้าตาแปลกๆ มาทำลายล้างเพิ่มมากขึ้นทุกวัน แม้โลกจะยืนยันว่าจะไม่ยอมแพ้ แต่คำยืนยันนั้นจะทำให้โลกชนะหรือเปล่า ต้องลุ้นกันเหงื่อหยด วันนี้มาเล่าเรื่องความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเกษตรกรรมปลูกองุ่นของตูนิเซีย ประเทศที่อยู่เหนือสุดของทวีปแอฟริกา อยู่ห่างจากอิตาลีของยุโรปแค่มีทะเลคั
นายธีระ วงษ์เจริญ ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดจันทบุรี เปิดเผยว่า สถานการณ์แล้งในขณะนี้ต้องยอมรับว่า ภาวะโลกร้อนนั้นส่งผลกระทบต่อพี่น้องเกษตรกรที่ทำการเกษตรทุกด้าน จังหวัดจันทบุรีขึ้นชื่อเรื่องเมืองผลไม้ขณะนี้ ต้นลำไยกำลังจะยืนต้นตายที่กำลังตามมาคือ ทุเรียน มังคุด เงาะ ถึงแม้ค่าเฉลี่ยปริมาณฝน 3,200 มิลลิเมตร/ปี แต่ในบางพื้นที่ เช่น อำเภอโป่งน้ำร้อน อำเภอสอยดาว ซึ่งมีสวนลำไยค่อนข้างมากเป็นพื้นที่มีปริมาณฝนน้อย ถึงแม้มีอ่างเก็บน้ำคลองพระพุทธแต่ระบบการกระจายน้ำยังไม่สมบูรณ์ รวมทั้งมีการขยายพื้นที่ทำการเกษตรปริมาณน้ำจึงไม่เพียงพอ ซึ่งขณะนี้ได้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยประทังต้นลำไยของเกษตรกรอยู่รอดให้ได้ก่อนและจังหวัดควรประกาศภัยพิบัติจากนั้นจึงเริ่มดำเนินการแบ่งปันน้ำจากอ่างเก็บน้ำคลองพระพุทธโครงการ 1 ไปสู่โครงการ 3 จะแบ่งปันน้ำกันอย่างไรต้องให้เกษตรกร ประชาชนมาหารือร่วมกันเพื่อให้ทุกคนรอดให้ได้ ซึ่งคาดหวังว่าภายในระยะช่วงสิ้นเดือนต้นลำไยจะต้องรอดเพราะหากเริ่มปลูกใหม่ต้องรอเติบโต 3-6 ปี จึงจะได้ผลผลิต ทั้งนี้ สภาเกษตรกรจังหวัดจันทบุรีได้ลงไปดูพื้นที่ทั้งหมดแล้วว่าสามารถที่จะกระ
ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เปิดเผยว่า รัฐบาลได้มีนโยบายรณรงค์ให้มีการค้นคว้า วิจัย รวมทั้งมาตรการประหยัดพลังงานอย่างเป็นรูปธรรม และมีการสนับสนุนให้ใช้พลังงานทดแทนต่างๆ ให้แพร่หลายยิ่งขึ้น จนเป็นวาระแห่งชาติ เพราะพลังงานทดแทนมีส่วนช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ลดการพึ่งพาจากต่างประเทศ โดยเฉพาะกระแสไฟฟ้าจึงมีความสำคัญและถือเป็นความต้องการพื้นฐานของประชาชน อย่างไรก็ตาม การใช้พลังงานทดแทนในปัจจุบันยังคงมีปัญหาต่างๆ อีกมาก วช. ในฐานะหน่วยงานสนับสนุนทุนเพื่อการวิจัยและนวัตกรรม ตามการปฏิรูประบบวิจัยและนวัตกรรมของรัฐบาล ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้พลังงานทดแทน จึงได้ให้ทุนกิจกรรมส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยที่มุ่งเป้าตอบสนองความต้องการในการพัฒนาประเทศ ปีงบประมาณ 2559 ภายใต้แผนงานวิจัยตอบสนองนโยบายรัฐบาล กลุ่มเรื่องพลังงานทดแทน (โครงการท้าทายไทย) กิจกรรมส่งเสริมสนับสนุนการวิจัย เรื่อง “การพัฒนาพลังงานทดแทนและการประยุกต์ใช้ในชุมชนสีเขียว” แก่ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์ แห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะ เพื่อศึกษาวิจั
การพัฒนาของโลกในมิติต่างๆ บางครั้งทำให้สิ่งแวดล้อมถูกทำลาย เกิดการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ ดิน ฟ้า อากาศ เสื่อมโทรม เกิดมหาอุทกภัย ภาวะโลกร้อนและการปล่อยก๊าชเรือนกระจก การผลิตข้าว ในบางกรณี ก็ทำให้เกิดสิ่งที่แนะนำมา เมื่อเร็วๆ นี้ คุณฤทธิสรรค์ เทพพิทักษ์ นายอำเภอเมืองอุบลราชธานี ได้เป็นประธานเปิดงานโครงการ “ข้าวยั่งยืน” ตามโครงการตลาดนำการผลิต เพื่อเกษตรกรรายย่อย (Market Oriented Small holder Value Chain : MSVC) และมีการลงนามความร่วมมือ (MOU) ระหว่างกลุ่มเกษตรกรข้าวยั่งยืน กับบริษัท โอแลม (ประเทศไทย) จำกัด มีองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศเยอรมัน (GIZ) เป็นสักขีพยาน ณ ตำบลแจระแม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี โครงการตลาดนำการผลิต เพื่อเกษตรกรรายย่อย เป็นโครงการความร่วมมือขององค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศเยอรมัน (GIZ) ร่วมกับกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ บริษัท โอแลม (ประเทศไทย) จำกัด สาเหตุที่มีโครงการนี้ขึ้นมานั้น…เพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิตข้าวของจังหวัดอุบลราชธานี โดยมีเป้าหมายร่วมกันคือ เกษตรกรหรือชาวนามีรายได้เพิ่มมากขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดี ผู้บริโภคปลอดภัย สิ่งแวดล้อมไม่เสื่อ
ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียมขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (นาซา) ของสหรัฐอเมริกา พบว่า หนึ่งในแผ่นน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดในโลก ได้แตกออกจากคาบสมุทรแอนตาร์กติกหรือขั้วโลกใต้แล้ว และตอนนี้ก็ได้ลอยไปตามทะเลเวดเดลล์ โดยทีมนักวิทยาศาสตร์จากสวอนซีและสำนักสำรวจแอนตาร์ติกอังกฤษระบุว่า แผ่นน้ำแข็งดังกล่าว ซึ่งมีน้ำหนักมากถึงราว 1 ล้านล้านตัน มีเนื้อที่ประมาณ 5,800 ตารางกิโลเมตร ถือเป็นหนึ่งในแผ่นน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดในโลก แตกออกมาจากหิ้งน้ำแข็ง ลาร์เซน ซี ของคาบสมุทรแอนตาร์กติกเมื่อราววันที่ 10-12 กรกฎาคมที่ผ่านมา ไม่ส่งผลกระทบต่อระดับน้ำทะเลแต่อย่างใด ทั้งนี้ แผ่นน้ำแข็งดังกล่าวมีขนาดพอๆ กับรัฐเดลาแวร์ของสหรัฐอเมริกา หรือเกาะบาหลีของประเทศอินโดนีเซีย อยู่ในสภาพที่ใกล้จะแตกออกจากออกตั้งแต่เมื่อหลายเดือนก่อน และตลอดช่วงฤดูหนาวที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษากระบวนแตกร้าวของแผ่นน้ำแข็งโดยอาศัยข้อมูลจากดาวเทียมของสำนักงานอวกาศยุโรป (อีเอสเอ) เอเดรียน ลัคแมน ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยสวอนซี และหัวหน้าทีมตรวจสอบโครงการไมดาส ซึ่งเป็นโครงการเฝ้าสังเกตการณ์หิ้งน้ำแข็งมานานหลายปี เปิดเผยว่า แผ่นน้ำ
สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานผลการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารไซเอนติฟิกส์ รีพอร์ตส์ ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคมว่า ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากภาวะโลกร้อน อาจจะทำให้เกิดน้ำท่วมบริเวณเมืองชายฝั่งที่บ่อยขึ้น โดยเฉพาะบริเวณเขตร้อนชื้น ผลการศึกษายังเตือนด้วยว่า ภายในปี ค.ศ.2050 ระดับน้ำในมหาสมุทรจะเพิ่มขึ้นอีก 10-20 เซนติเมตร และเขตพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลจะยิ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมขึ้น 2 เท่า ขณะที่เมืองตามชายฝั่งของอเมริกาเหนือ อย่างแวนคูเวอร์ , ซีแอตเติล , ซานฟรานซิสโก และลอสแองเจลิส รวมทั้งชายฝั่งแอตแลนติกในยุโรป ที่จะมีความเสี่ยงเกิดน้ำท่วมเพิ่มมากขึ้น ขณะที่บรรดาเกาะเล็กเกาะน้อยจะมีความเสี่ยงถูกน้ำท่วมเช่นกัน นายฌอน วิทูเซค นักวิทยาศาสตร์ด้านสภาวะอากาศ จากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา เปิดเผยกับเอเอฟพีว่า จากผลการศึกษาทำให้เชื่อมั่นได้ 95 เปอร์เซ็นต์ว่า จะเกิดน้ำท่วมบ่อยมากขึ้น ขณะที่บรรดาประเทศเกาะเล็กๆ ทั้งหลายซึ่งเผชิญกับปัญหาน้ำท่วมอยู่แล้ว จะเจอกับปัญหาน้ำท่วมที่เลวร้ายลงไปอีก