ภาษีที่ดิน
คลังเตรียมออกเกณฑ์ที่ดินเกษตรเสียภาษีที่ดิน พร้อมหารือข้อควรปฏิบัติร่วมมหาดไทย 20 ธ.ค.นี้ ชี้ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไม่เพิ่มภาระผู้จ่ายภาษี คาดจัดเก็บภาษีที่ดินได้ 3 หมื่นล้านบาท ต่อปี นายชุมพล สุวรรณกิจบริหาร ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านนโยบายภาษี สำนักนโยบายภาษี สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า ในส่วนอัตราภาษีที่ดินเกษตรกรรรม ยังต้องออกกฎหมายรองเพื่อกำหนดเกณฑ์ว่าปลูกพืชเท่าใดถึงจะนับว่าเป็นพื้นที่เพื่อการทำเกษตรกรรม ซึ่งปัจจุบันกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ส่งเรื่องมายังกระทรวงการคลังแล้ว โดยขณะนี้อยู่ระหว่างหารือกับกระทรวงมหาดไทย ในการปรับปรุงกฎหมายรองให้มีความชัดเจนอยู่ โดยในวันที่ 20 ธ.ค. 62 ทั้งกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทยจะมีการหารือร่วมกันอีกครั้ง ถึงสิ่งที่ควรปฏิบัติเกี่ยวกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง “สำหรับกฎหมายรองที่จะออกมา จะมีการจำแนกพรรณไม้และจำนวนการปลูกพืชอย่างชัดเจน อาทิ พื้นที่ 1 ไร่ จะต้องปลูกกล้วยอย่างน้อย 200 ต้น แต่หากปลูกน้อยกว่าที่กำหนดไว้ จะคิดภาษีที่ดินที่เหลือ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีเงื่อนไขอื่นประกอบการพิจารณาด้วย เช่น กรณีพื้นที่ที่ใช้เพื่อการเกษตรต่อเนื่อง
แม้ร่าง พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. …ที่ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จะถูกปรับแก้ไขในระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมาธิการ ส่งผลให้ร่างกฎหมายภาษีที่ดินฉบับใหม่ที่จะบังคับใช้แทน พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน กับ พ.ร.บ. ภาษีบำรุงท้องที่ จากเดิมกำหนดไว้ 1 ม.ค. 2561 ทอดระยะเวลาออกไปเป็น 1 ม.ค. 2562 แต่ดูเหมือนรัฐบาลมั่นใจว่าจะสามารถผลักดันบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ได้ตามกำหนด ขณะที่ฝ่ายปฏิบัติ ในฐานะเป็นผู้จัดเก็บภาษีอย่าง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น มีหนังสือแจ้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ให้เตรียมความพร้อมรองรับการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยให้เร่งจัดทำแผนที่ภาษี และทะเบียนทรัพย์สิน (LTAX 3000) กับโปรแกรมประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (LTAX GIS) ที่ได้พัฒนาขึ้น สำหรับใช้จัดทำแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2550 เพื่อให้ อปท. มีฐานข้อมูลบัญชีรายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้างครบถ้วนสมบูรณ์ และเป็นมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งจะช่วยให้สามารถจัดเก็บภาษีได้เต็มเม็ดเต็ม
หอการค้าชี้ร่างพ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ยังมีจุดอ่อน เอกชนห่วงกระทบผู้ประกอบการขนาดกลาง-เล็ก หวั่นมีปัญหาหากบังคับใช้จริงปี 2562 ชี้ทรัพย์ส่วนกลาง-สาธารณูปโภคในโครงการไม่ควรถูกนำมาคำนวณเป็นฐานจัดเก็บภาษี นายอธิป พีชานนท์ กรรมการบริหาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ประธานสมาคมการค้ากลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง กล่าวในงานสัมมนา “เจาะลึกกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง” ว่า ร่างพ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ… อยู่ระหว่างการพิจารณาของ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ และเริ่มจัดเก็บได้ในปี 2562 แต่การจัดทำร่างกฎหมาย ดังกล่าว ยังไม่ได้มีการรับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชนครอบคลุมมากเท่าที่ควร ซึ่งเอกชนก็ไม่ได้คัดค้านการ ออกกฎหมายดังกล่าว และเห็นว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับภาคอสังหาริมทรัพย์ด้วย แต่รายละเอียดของกฎหมายมีบางประเด็นที่อาจเกิดความไม่เป็นธรรม เช่น อัตราการจัดเก็บที่ต้องคิดคำนวณ ที่แบ่งเก็บไม่เท่ากัน จึงอยากให้ปรับทำให้ผู้จ่ายภาษีเข้าใจได้ง่าย นอกจากนี้ ยังมีรายละเอียดบางข้อที่ให้ใช้ดุลพินิจในการพิจารณาจัดเก็บ อาจจะส่งผลต่อความไม่เป็นธรรม และอาจจะเป็
เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พล.ต.ท.อำนวย นิ่มมะโน รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าถึงโครงการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในพื้นที่กรุงเทพฯ ว่า ขณะนี้โครงการฯ ดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหาร กทม.แล้ว โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการการปลูกและดูแลต้นไม้ กทม. มี พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กทม.เป็นประธาน “ในส่วนของรายละเอียดนั้น นอกจากมีการปลูกต้นไม้ลดหย่อนภาษีแล้ว ยังครอบคลุมถึงการจัดการน้ำเสียด้วย โดยเมื่อสำนักงานเขตออกไปตรวจพื้นที่สีเขียวตามพื้นที่ต่างๆ ว่าตรงตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดสำหรับการลดหย่อนภาษีได้หรือไม่ ก็จะทำการตรวจระบบการจัดการน้ำเสียของพื้นที่ในส่วนนั้นเช่นกัน โดยในที่ประชุมหัวหน้าหน่วยงาน ได้นำตัวอย่างของเครื่องดักไขมันไปแจกจ่ายในครัวเรือน ซึ่งเตรียมจะนำเสนอแก่ผู้ค้าอาหารริมทาง (สตรีทฟู้ดส์) ในถนนเยาวราชด้วย ทั้งนี้ หากบ้านพักอาศัยของประชาชนทุกบ้านมีการบำบัดน้ำก่อนปล่อยลงท่อ จะทำให้ช่วยลดปัญหาการเกิดมลพิษทางน้ำ แม้จะยังไม่สะอาดทั้งหมด แต่ก็คงจะช่วยบรรเทาปัญหาน้ำเน่าตามเส้นทางระบายน้ำต่างๆได้ นอกจากนี้ ยังสามารถตรวจบ้านเรือนหรืออาคารที่เข้าข่ายในการชำระภาษี
สิ่งสำคัญที่สุดอันดับแรกก่อนอ่านบทความนี้คือให้ดาวน์โหลด(ร่าง) พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับตัวจริงจากเวปไซด์(สนช.) http://library2.parliament.go.th/giventake/nlalaw2557.html เพื่ออ่านทำความเข้าใจให้ตรงกันก่อน เมื่อได้อ่าน (ร่าง) พระราชบัญญัติฯที่ผ่านการรับรองของสภานิติบัญญัติวาระแรกไปแล้ว จะพบว่าร่างกฎหมายตัวจริงไม่ตรงกับข้อมูลที่กระทรวงการคลังประชาสัมพันธ์ แต่ไม่ต้องงง! เพราะร่างกฎหมายฯ ที่ท่านดาวน์โหลดนี้คือกฎหมายแม่ มีอำนาจจริง โดยกฎหมายลูกจะแย้งไม่ได้ ส่วนข้อมูลประชาสัมพันธ์กระทรวงการคลัง คือ แนวคิดกฎหมายลูก ที่อาจจะถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงแบบไม่ยากนักตามแนวทางของรัฐบาลในขณะนั้น มาดูกันว่า อะไรคืออะไร ! อันดับแรก ดูมาตราสำคัญสุดของร่างฯ ฉบับล่าสุดก่อน ในหมวด 5 ว่าด้วย ฐานภาษี อัตราภาษี และการคำนวณภาษี บัญญัติไว้ว่า “มาตรา 34 ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง ให้จัดเก็บตามอัตราภาษี ดังต่อไปนี้ (1) ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม ให้มีอัตราภาษีไม่เกินร้อยละศูนย์จุดสองของฐานภาษี (2) ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัย ให้มีอัตราภาษีไม่เกินร้
ครม. เห็นชอบแล้วภาษีที่ดิน-สิ่งปลูกสร้างหลังผ่านกฤษฎีกา คาดประกาศใช้ปี 2562 โดยปรับเล็กน้อยที่ดินไม่ใช้ประโยชน์จากเดิมเก็บ 5% เปลี่ยนเป็นปีแรก 2% และปรับขึ้น 0.5% ทุกๆ 3 ปี ส่วนอื่นคงเดิม คลังเล็งลดหย่อนให้ผู้ที่ได้รับบ้าน-ที่ดินเป็นมรดก นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษา รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ที่ประชุมครม. เห็นชอบร่าง พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คาดว่าจะเริ่มต้นการจัดเก็บภาษีได้ตั้งแต่ ปี 2562 เป็นต้นไป หลังจากกฎหมายผ่านการเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และประกาศในราชกิจจานุเบกษา ช่วงประมาณกลางปีนี้ ก่อนจะมีผลบังคับใช้จริงต่อจากนั้นอีก 1 ปี หรือนับตั้งแต่เริ่มต้น ปี 2562 ร่างกฎหมายฉบับนี้ ที่ผ่านมาได้ผ่านการเห็นชอบจากครม.ไปแล้ว และได้ส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจสอบ ซึ่งกฤษฎีกาแก้ไขรายละเอียดของกฎหมายบางส่วน ปรับปรุงเรื่องของอัตราภาษีที่จะแบ่งตามลักษณะการใช้ประโยชน์ 4 กลุ่ม โดย 3 กลุ่มแรกไม่ได้เปลี่ยนแปลงรายละเอียด คือ กลุ่มที่มีที่ดินเพื่อใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรมเพดานสูงสุด 0.2% และกลุ่มที่ใช้เพื่อการพาณิชยกรรม เพดานสูงสุด 2% ส่วนกลุ่มสุดท้ายเป็นที่ดินรกร้