มนุษย์
ศาสตราจารย์ แคโรลีน สปราย แห่งมหาวิทยาลัยลาโทรป ในนครเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย นอกจากจะให้คำอธิบายที่เป็นการไขปริศนาที่หลายคนข้องใจมานานว่า เพราะเหตุใดมนุษย์ราวๆ 90 เปอร์เซ็นต์ถึงได้ “ถนัดขวา” เหมือนกันหมดเท่านั้น ยังชี้ให้เห็นด้วยว่า “ความถนัดขวา” นั้นมีความสำคัญต่อวิวัฒนาการของมนุษย์มากอย่างยิ่งเพราะเหตุใด ศาสตราจารย์สปรายระบุว่า การถนัดขวาของมนุษย์เป็นหนึ่งในอุปนิสัยที่แยกมนุษย์ออกจากสัตว์ในออร์เดอร์ไพรเมต (ส่วนใหญ่คือลิง และลิงใหญ่ มนุษย์ก็ถือเป็นสัตว์อยู่ในอันดับนี้ด้วย) ด้วยกัน เพราะไพรเมตส่วนใหญ่ไม่ได้แสดงให้เห็นว่าโดยรวมแล้วมีความถนัดด้านใดด้านหนึ่งเป็นพิเศษแต่อย่างใด องค์ความรู้ในปัจจุบันทำให้เรารู้กันดีว่าสมองของมนุษย์เรานั้น แบ่งออกได้เป็น 2 ซีก คือสมองซีกซ้ายและสมองซีกขวา อย่างไรก็ตาม สมองทั้งสองซีกมีความถนัดหรือความชำนาญพิเศษในการควบคุมทักษะที่แตกต่างกันออกไป เช่น สมองซีกซ้ายควบคุมทักษะเชิงภาษาและการเคลื่อนไหวของรยางค์ต่างๆ แต่สมองซีกขวารับผิดชอบมากกว่าในทักษะของการมองเห็น การกำหนดตำแหน่ง แต่องค์ความรู้ของคนเราก็ยังมีอยู่น้อยมากในเรื่องของการจำกัดกิจกรรมโดยสมองซีกใดซีกหนึ