มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.)
วันที่ 23 พฤษภาคม 2567 ที่ห้องประชุมสายสุรี จุติกุล มหาวิทยาลัยขอนแก่น นายสุรพล เพชรวรา อุปนายกสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ให้สัมภาษณ์ว่า มหาวิทยาลัยมีนโยบายส่งเสริมการถ่ายทอด Technical Khow How จากมหาวิทยาลัย ไปสู่ภาคเอกชน เพื่อนำออกสู่อุตสาหกรรม ด้วยการทำวิจัยและพัฒนาสำหรับอุตสาหกรรมที่ต้องใช้องค์ความรู้ชั้นสูง พร้อมทั้งออกแบบและผลิตเครื่องจักรที่ต้องใช้ในอุตสาหกรรมนั้นให้กับภาคเอกชนที่ต้องการนำไปผลิตและทำการตลาด เพราะเราเชื่อว่าภาคเอกชนมีความชำนาญมากกว่าที่เราจะทำเองทุกอย่าง มากไปกว่านั้น มหาวิทยาลัยได้มุ่งมั่นที่จะถ่ายทอดงานวิจัยและพัฒนาไปสู่ระดับโลก เราจึงได้คัดเลือกผู้ประกอบการประเทศมาเลเซียมาร่วมทุนก่อตั้ง Holding company ปุ๋ยน้ำนาโนซึ่งเป็นการถือหุ้นระหว่าง Lily Pharma จำนวนหุ้น 40% กับ Einstein Nanoscience Sdn. Bhd จำนวนหุ้น 60% โดยตั้งโรงงานผลิตที่รัฐมะละกา ประเทศมาเลเซีย แนวคิดนี้จะทำให้ทางเราเน้น R&D ของปุ๋ยน้ำนาโนและผลิตเครื่องจักรเป็นหลัก ส่วนทางมาเลเซียจะเน้น เรื่องการผลิตและขยายการลงทุนไปประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ทั้งนี้ เพราะเราเชื่อว่าทีมงานของเขาสามารถพูดและเขียนได้ดีทั้ง
อากาศเย็นสบายในช่วงปลายปีแบบนี้ หลายคนอาจกำลังมองหาสถานที่ท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อนหลังลุยงานหนักมาตลอดทั้งปี การท่องเที่ยวศึกษาวิถีชีวิตในท้องถิ่นนับเป็นการท่องเที่ยวอีกรูปแบบที่ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นทุกปี และกลายเป็นจุดแข็งสำคัญที่สถาบันวิจัยยุทธศาสตร์และประสานความร่วมมือเพื่อพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาสมรรถนะมนุษย์และการเสริมสร้างสุขภาพ จัดโครงการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพื่อสุขภาพขึ้น ณ บ้านโนนสะอาด ตำบลทุ่งโป่ง อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น เพื่อพัฒนารูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อสุขภาพ โดยมุ่งเน้นการบูรณาการ การเกษตร วัฒนธรรม และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนอีสาน โดยมี ศ.ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ นายกานต์ ทองเสน นายอำเภออุบลรัตน์ ศ. ดร.จินตนาภรณ์ วัฒนธร ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยและพัฒนาสมรรถนะมนุษย์และการสร้างเสริมสุขภาพ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมเปิดโครงการ โดยมีนักท่องเที่ยวกว่า 200 คน จากหน่วยงานราชการ เอกชน และภาคประชาสังคมเข้าร่วมด้วยเมื่อเร็วๆนี้ ศ.ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิส
นักวิจัย มข. ต่อยอดงานวิจัยท้าทายไทย:ประเทศไทยไร้พยาธิใบไม้ตับ พัฒนาแพลตฟอร์มบนมือถือ ช่วยเก็บข้อมูลจากชุดตรวจคัดกรองพยาธิใบไม้ตับสำเร็จรูปชนิดเร็ว OV-RDT พร้อมใช้เอไอวิเคราะห์ภาพถ่ายผลตรวจ ช่วยติดตามผลการระบาดวิทยาในเชิงพื้นที่ ช่วยให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีโอกาสเข้าถึงการตรวจวินิจฉัยและการรักษาได้อย่างทั่วถึง ดร. วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีเป้าหมายที่จะสนับสนุนให้การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมที่เกิดจากการบูรณาการสหสาขาวิชา เป็นกลไกขับเคลื่อนสำคัญในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ของประเทศ เช่น ปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ที่เป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขและสุขภาพของประชาชน ซึ่งที่ผ่านมา วช. ได้ให้การสนับสนุนโครงการวิจัยท้าทายไทย : ประเทศไทยไร้พยาธิใบไม้ตับแก่สถาบันวิจัยมะเร็งท่อน้ำดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2559 โดยโครงการวิจัยดังกล่าวฯ ได้มีการพัฒนาผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในการควบคุมโรคในพื้นที่จริง และได้มีการต่อยอดพัฒนาเทคโนโลยีอื่นๆ เ
เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าผลพวงจากโครงการอันเนื่องมาจากพระดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรที่มีกว่า 4,000 โครงการนั้น มีส่วนสำคัญที่ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของราษฎรไทยดีขึ้น เพราะมีอาชีพที่มั่นคงยั่งยืน อีกทั้งครอบครัวมีความสุข ได้อยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตา องค์กรหนึ่งที่มีบทบาทในการดำเนินงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริก็คือ มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ และสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ที่มี ม.ร.ว.ดิศนัดดา ดิศกุล นั่งเก้าอี้ประธานกรรมการสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระฯ ซึ่งได้เข้าไปช่วยเหลือชาวบ้านเรื่องการทำมาหากินในหลายพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นที่น่าน อุดรธานี ขอนแก่น กาฬสินธุ์ เพชรบุรี อุทัยธานี ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งนี้ ในการทำงานของสถาบันปิดทองหลังพระฯ นั้นมุ่งดำเนินงานตามพระราชดำริและหลักการทรงงานของพระองค์ท่าน นั่นคือ เน้นการพัฒนาชุมชนตามหลักการองค์ความรู้ ใน 6 มิติ ได้แก่ ดิน น้ำ เกษตร พลังงานทดแทน ป่า และสิ่งแวดล้อม โดยจะปรับน้ำหนักของแต่ละเรื่องตาม
เพิ่งรู้ว่าขอนแก่นและมหาสารคามเป็นจังหวัดที่มีการเพาะเลี้ยงจิ้งหรีดกันมากที่สุด เกษตรกรบางรายสามารถผลิตจิ้งหรีดได้ 1-2 ตัน/วัน ทำให้บางช่วงมีจิ้งหรีดล้นตลาด ด้วยเหตุนี้ทางมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) โดย ผศ.ดร. สมสมร แก้วบริสุทธิ์ ภาควิชาประมง คณะเกษตรศาสตร์ และคณะ จึงต้องวิจัยหาทางแปรรูปจิ้งหรีดเหล่านี้ ซึ่งทำได้หลายอย่างไม่ว่าจะเป็นเมนูอาหารคาวหรืออาหารหวาน อย่างน้ำพริกจิ้งหรีด ข้าวเกรียบจิ้งหรีด หรือคุกกี้จิ้งหรีด ผศ.ดร. สมสมรเกริ่นให้ฟังว่า เริ่มแรกมีการทำวิจัยเรื่อง การเลี้ยงแมลงเพื่อการบริโภคของภาควิชากีฎวิทยา จากนั้นมข.ได้ออกไปอบรมให้กับเกษตรกรที่อยู่รายรอบ ทำให้เกิดอุตสาหกรรมเลี้ยงจิ้งหรีดขึ้น บางโรงที่เลี้ยงจิ้งหรีดมีกำลังผลิตถึงวันละ 1-2 ตัน ต่อวัน กระจายขายอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนืออันเป็นพื้นที่ที่คนนิยมกินแมลง แล้วส่งไปขายที่ภาคกลาง สมุทรสาคร ที่เป็นแหล่งซื้อแมลงที่ใหญ่มาก แนะวิธีเก็บรักษาก่อนแปรรูป อาจารย์ท่านนี้บอกว่า จิ้งหรีดนี้สามารถนำมาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าได้ แต่ก่อนจับจิ้งหรีดมาแปรรูปควรงดอาหาร 24 ชั่วโมง หรือเปลี่ยนอาหารที่จิ้งหรีดกิน โดยเปลี่ยนจากหัวอาหารมาเป็
จากปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แม้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พยายามทุ่มเทกำลัง ความสามารถ รวมทั้งงบประมาณอย่างเต็มที่เพื่อรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ แต่ภาพความเสียหายที่เกิดขึ้นกับประชาชนและเกษตรกรยังปรากฏให้เห็นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ และการเร่งรัดพัฒนาด้านเศรษฐกิจสังคมในหลายพื้นที่ ส่งผลให้ปัญหาทรัพยากรน้ำซับซ้อนมากขึ้นและมีแนวโน้มจะขยายวงกว้างออกไปในทุกภูมิภาคของประเทศ ทั้งปัญหาภัยแล้ง อุทกภัย และคุณภาพน้ำ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) จึงเห็นว่า ข้อมูลเชิงพื้นที่ เป็นคำตอบสำคัญที่จะนำไปสู่การวางกรอบแนวทางเพื่อแก้ปัญหา และพัฒนาได้อย่างเหมาะสม และยั่งยืน นายสำเริง แสงภู่วงค์ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าวว่า สทนช. ได้จัดให้มีการประชุมแนะนำโครงการและรับฟังความคิดเห็น “โครงการศึกษาติดตามและประเมินผลการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำกลุ่มลุ่มน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” ขึ้น ที่โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชา ออคิด จ.ขอนแก่น เมื่อเร็วๆ นี้ สทนช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) เร่งดำเนินงานโครงการศึกษาติดตามและประเมินผลการบริหา
นายพนมชัย วีระยุทธศิลป์ รองอธิการบดีฝ่ายโครงสร้างพื้นฐาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) กล่าวในการเป็นประธานเปิดงานโครงการ “ทำดีเพื่อพ่อหลวง รัชกาลที่ 9” ว่า โครงการ “ทำดีเพื่อพ่อหลวง รัชกาลที่ 9” กิจกรรมปลูกต้นไม้ จัดขึ้นโดยฝ่ายโครงสร้างพื้นฐาน กองอาคารและสถานที่ สำนักงานสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับสำนักวิชาศึกษาทั่วไป มข.เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พัฒนาพื้นที่ และสิ่งแวดล้อมให้เป็นแคมปัสที่เขียว และสะอาด โดยการเพิ่มพื้นที่สีเขียว ปรับปรุงภูมิทัศน์ให้สวยงาม จัดกิจกรรม 2 รูปแบบ คือวันที่ 9 ตุลาคม ได้จัดกิจกรรมปลูกต้นไม้ และวันที่ 13 ตุลาคม จะจัดกิจกรรมซ่อมบำรุงผิวถนน และทาสีจราจร โดยมีนักศึกษาเข้าร่วมกว่า 200 คน ได้รวมใจกันปลูกต้นกัลปพฤกษ์ และต้นมะค่าโมง ริมถนนบริเวณวงเวียนอาคารสิริคุณากร “การปลูกต้นกัลปพฤกษ์ ของชาว มข.เพื่อสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งทรงเป็นแบบอย่างการให้ความสำคัญกับการปลูกต้นไม้ ให้ทุกคนได้ตระหนักถึงคุณค่าของป่าไม้ โดยหนึ่งในพระราชกรณียกิจที่ทรงโปรดเมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปทั่วทุกภูมิภาคของป
ขอนแก่น – ศ.ดร.อลิศรา เรืองแสง อาจารย์คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) เผยว่า ผลงานวิจัยเรื่องการผลิตก๊าซไฮเทน (hythane) พลังงานทดแทนใหม่ ต่อลมหายใจพลังงานโลก ที่ได้มาจากน้ำอ้อย เป็นความสำเร็จและเป็นผลงานชิ้นเอกของ มข. และเป็นมหาวิทยาลัยแรกของภูมิภาคเอเชีย โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก สนง.คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล และจาก สนง.พัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) สำหรับขั้นตอนการวิจัย เริ่มจากการผลิตไฮโดรเจน ในถังหมักไฮโดรเจนที่ใช้น้ำอ้อยเป็นวัตถุดิบ ภายใต้กระบวนการหมักแบบไร้อากาศ น้ำหมักจากกระบวนการผลิตไฮโดรเจนถูกส่งไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตมีเทนในถังหมักมีเทนต่อไป ก๊าซไฮโดรเจนและมีเทนที่ผลิตได้ถูกนำมาผสมกัน ได้ก๊าซผสมระหว่างไฮโดรเจนและมีเทนที่เรียกว่า “ไฮเทน” โดยไฮเทนที่ผลิตได้ถูกนำไปทดลองผลิตกระแสไฟฟ้าในเครื่องปั่นไฟขนาดเล็ก พบว่าใช้เป็นเชื้อเพลิงได้เป็น อย่างดี มีประสิทธิภาพการทำงานที่ใกล้เคียงกับการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงปกติ และค่าการสึกหรอของเครื่องปั่นไฟที่ใช้ไฮเทนก็ไม่แตกต่างกับเครื่องปั่นไฟที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงปกติ ไฮเทนมีค่าพลังงานสูงกว่าก๊าซธรรมชาติ หรือ CNG การใช้ไฮเทน
รศ.ดร. กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) กล่าวในการเป็นประธานเปิดโครงการเครือข่ายชุมชน มข. ว่า โครงการดังกล่าวสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้วยความห่วงใยและดูแลชุมชนในมิติต่างๆ ทั้งชุมชนภายในและนอกมหาวิทยาลัย โดยพัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นองค์กรที่นำเสนอทางเลือกที่ดีและมีความรับผิดชอบต่อสังคมชุมชนรอบข้าง “มข.ตระหนักถึงการนำความรู้ข่าวสารมานำเสนอเพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ทั้งพยายามเชื่อมความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างชุมชนกับมหาวิทยาลัย เพราะนักศึกษาล้วนเป็นบุตรหลานและต่างได้รับการปลูกฝังให้นำความรู้กลับไปช่วยเหลือชุมชนของตนเอง ยกตัวอย่าง มข.ได้เปิดพื้นที่ให้ชุมชนได้ร่วมทำกิจกรรม เปิดให้บริการสวนสาธารณะเพื่อสุขภาพประชาชน และการกระจายข่าวสารผ่านช่องทางวิทยุ กระจายเสียง และให้ผู้นำชุมชนมาจัดรายการร่วมกันเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ให้นักศึกษาบุคลากรได้รับทราบความเคลื่อนไหวของชุมชนเพื่อสร้างสรรค์สังคมน่าอยู่” อธิการบดี มข.กล่าว ด้าน รศ.ดร. เกรียงไกร กิจเจริญ รองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและชุมชนสัมพันธ์ เปิดเผยว่า