มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.) สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ปริญญาและสาขาวิชา ชื่อเต็ม (ไทย) : เทคโนโลยีบัณฑิต (เทคโนโลยีการเกษตร) ชื่อย่อ (ไทย) : ทล.บ. (เทคโนโลยีการเกษตร) ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Bachelor of Technology (Agricultural Technology) ชื่อย่อ (อังกฤษ) : B.Tech. (Agricultural Technology จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 132 หน่วยกิต อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ผู้ที่สำเร็จการศึกษาสามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน 8.1 งานราชการ : ได้แก่ เจ้าหน้าที่ของรัฐและรัฐวิสาหกิจ นักวิชาการและนักวิจัย เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ ในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม ตลอดจนองค์กรระดับท้องถิ่น เป็นผู้สอน หรือผู้ฝึกอบรมในสถาบันที่มีการสอนทางด้านเกษตร ฯลฯ 8.2 งานเอกชน : ได้แก่ เป็นนักวิชาการ เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ ผู้ควบคุมการผลิตหรือพนักงานขายในบริษัท รวมถึงงานทุกประเภทที่ต้องการพนักงานด้านการเกษตร บริษัทที่ผลิตและจำหน่ายพืชผลทาง
มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ เป็นมหาวิทยาลัยที่มีภารกิจในการสร้างความรู้เพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น มีการปรับตัวเพื่อให้สามารถพัฒนาศักยภาพกำลังคนในพื้นที่ได้เกิดการเรียนรู้ที่เท่าทันกับยุคสมัย จึงได้ทำความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา และบริเวณภาคตะวันออก ทั้งภาครัฐ เอกชน และองค์กรเอกชน ไม่ว่าจะเป็น สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA และ กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (DOW) โดยการทำงานร่วมกับ กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (DOW) มีการเปิดพื้นที่ในการเพิ่มทักษะสำคัญสำหรับการทำงาน (Upskill/Reskill) ในประเด็นที่สอดคล้องกับยุคสมัย เช่น เกษตรกรยุคใหม่ (smart farmer) ทักษะดิจิทัลสำหรับสถานประกอบการ การจัดการขยะเพื่อเศรษฐกิจสีเขียว เป็นต้น ซึ่งเป็นการปรับตัวของ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ในครั้งนี้ ต้องการจะพัฒนาสังคมและสร้างเสริมเศรษฐกิจชุมชนด้วยงานวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทางด้าน รศ.ดร. ดวงพร ภู่ผะกา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ กล่าวว่า พันธกิจของมหาวิทยาลัยตอนนี้นอกจากการ
มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ เป็นมหาวิทยาลัยที่มีภารกิจในการสร้างความรู้เพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น แต่ด้วยสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงทั้งจากโรคระบาดโควิด-19 และกระแสความเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีที่ทำให้ต้องมีการปรับตัวเพื่อให้สามารถพัฒนาศักยภาพกำลังคนในพื้นที่ได้เกิดการเรียนรู้ที่เท่าทันกับยุคสมัย จึงได้ทำความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา และบริเวณภาคตะวันออก ทั้งภาครัฐ เอกชน และองค์กรเอกชน ไม่ว่าจะเป็น สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA และ กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dao) โดยการทำงานร่วมกับ กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dao) มีการเปิดพื้นที่ในการเพิ่มทักษะสำคัญสำหรับการทำงาน (Upskill/Reskill) ในประเด็นที่สอดคล้องกับยุคสมัย เช่น เกษตรกรยุคใหม่ (smart farmer) ทักษะดิจิทัลสำหรับสถานประกอบการ การจัดการขยะเพื่อเศรษฐกิจสีเขียว เป็นต้น ซึ่งเป็นการปรับตัวของ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ในครั้งนี้ ต้องการจะพัฒนาสังคมและสร้างเสริมเศรษฐกิจชุมชนด้วยงานวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รศ.
ปัจจุบัน ทั่วโลกเผชิญโรคอุบัติใหม่ เช่น โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั้งเผชิญหน้ากับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรง ทำให้เกิดการว่างงานเป็นจำนวนมาก การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทำให้ประเทศไทยต้องปรับแนวคิดการดำเนินชีวิตให้เข้ากับยุควิถีใหม่ (New Normal) “ศาสตร์พระราชา” ภายใต้แนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นับเป็นกลไกสำคัญที่ภาครัฐบาลนำมาใช้เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่คนไทยในระยะยาวเช่นเดียวกับ ยุทธศาสตร์การพัฒนานวัตกรรมงานวิจัย เพื่อใช้ฐานความรู้จากงานวิจัยมาช่วยยกระดับภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม การผลิตและการบริการของประเทศไทย ให้เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของสินค้าไทยบนเวทีตลาดโลก ในศตวรรษที่ 21 อย่างมั่งคั่งและยั่งยืน สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และหน่วยงานเครือข่ายในระบบวิจัย ได้ร่วมกันจัดงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2563 (Thailand Research Expo 2020)” ภายใต้แนวคิด “วิจัยเพื่อพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” ในช่วงต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โดย ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์สิริฤกษ์ ทร