มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
วช. จับมือ จ.ศรีสะเกษ และเครือข่ายวิจัยภูมิภาคฯ จัดตั้งศูนย์วิจัยชุมชน “ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ” มุ่งพัฒนาทุเรียนภูเขาไฟด้วยวิจัยและนวัตกรรม วันที่ 24 มิถุนายน 2566 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ จังหวัดศรีสะเกษ เครือข่ายวิจัยภูมิภาค : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ จัดตั้งศูนย์วิจัยชุมชน “ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ” เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัยและนวัตกรรมให้กับชุมชน โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธาน ซึ่งมี นายอนุรัตน์ ธรรมประจำจิต รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ คุณปาลลิน พวงมี ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร แห่งกรมส่งเสริมการเกษตร ศ.ดร.ไชยณรงค์ นาวานุเคราะห์ รองประธานเครือข่ายวิจัยภูมิภาค : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รศ.ดร.ประกาศิต อานุภาพแสนยากร อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ พร้อมด้วย ผู้บริหารหน่วยงานต่าง ๆ และเกษตรกรในพื้นที่ ให้การต้อนรับ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการ
คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มุ่งมั่นสนับสนุนการวิจัยและการสร้างนวัตกรรมที่ตอบสนอง การแก้ปัญหาและพัฒนาตามโจทย์สำคัญระดับจังหวัดในมิติเศรษฐกิจและอาชีพ และตอบสนองนโยบายการขับเคลื่อน Thailand 4.0 โดยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาผลงานวิจัยใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์เปลี่ยนจากการเกษตรแบบดั้งเดิม ไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ ที่เน้นการบริหารจัดการและเทคโนโลยี (Smart Farming) เปลี่ยนเกษตรกรเป็นผู้ประกอบการ Smart Enterprises และ Startups บริษัทเกิดใหม่ที่มีศักยภาพสูง ซึ่งผลิตภัณฑ์ “ชาหอมแดง” จากผลงานวิจัยของ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (มรภ.ศก.) โดย อาจารย์จิรายุ มุสิกา และคณาจารย์สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เป็นหนึ่งในตัวอย่างผลงานวิจัยที่เข้าไปช่วยเปลี่ยนเกษตรกรเป็นผู้ประกอบการ Smart Enterprises และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับ “หอมแดง” ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของจังหวัดศรีสะเกษ “หอมแดงยางชุมน้อย” ดีที่สุดในโลก หอมแดง เป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัดศรีสะเกษ โดยเฉพาะอำเภอยางชุมน้อย มีพื้นที่ปลูกหอมแดงมากที่สุดในประเทศไทย ปัจจุบัน อำเภอยางชุมน้อย มีพื้นที่ปลูกหอมแดง ประมาณ 14,000 ไร่ ให้ผลผลิ
หนึ่งในปัญหาท็อปเท็น ของมนุษย์ยุคนี้ คือ ความรุ่มรวยคอเลสเตอรอล เป็นโรคอ้วน ตามมาด้วยความดัน เบาหวาน และผองเพื่อน กำลังจะบอกว่า “หอมแดง” ช่วยได้ นอกจากแก้หวัดคัดจมูก ยังช่วยขับลม แก้ท้องอืด ช่วยย่อย ทำให้เจริญอาหาร แก้บวมน้ำ แก้อาการอักเสบต่างๆ และอื่นๆ อีกมากมาย รวมทั้งลดคอเลสเตอรอลได้อีก นั่นเพราะสารฟลาโวนอยด์ในหอมแดง ก็มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ กินเป็นประจำช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ที่ศรีสะเกษ ถือเป็นเมืองหลวงของหอมแดงก็ว่าได้ วิธีหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหาสินค้าล้นตลาดคือ การแปรรูป มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ จึงนำมาแปรรูปเป็น “ชาหอมแดง” ใครอยากลองทำชาเองก็ย่อมได้ เพราะวัตถุดิบไม่มีอะไรมาก แค่หอมแดง ใบต้นหอม ใบเตย อย่างละ 500 กรัม ล้างให้สะอาด หั่นบางขนาด 2-3 มม. นึ่งในน้ำเดือด 1-2 นาที แล้วจุ่มลงในน้ำเย็นทันที ก่อนจะนำขึ้นผึ่งลมให้แห้งหมาดๆ จากนั้นนำมาคั่วในกระทะด้วยไฟอ่อนๆ 20-30 นาที จนแห้ง แล้วนำไปอบด้วยความร้อนที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที นำส่วนผสมทั้งหมดมาบดละเอียด ผสมให้เข้ากันด้วยอัตราส่วน หอมแดง 30% ใบหอม 20% ใบเตย 50% ถ้าอยากให้หวานห