มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (มวล.)
เกษตรกรในจังหวัดนครศรีธรรมราชส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนยางพารา ปาล์มน้ำมัน สวนผลไม้ และประมง แต่อาชีพเหล่านี้มีความผันผวนทางรายได้เนื่องจากมีปัจจัยเสี่ยงภายนอก เช่น ฤดูกาล ราคาตลาด ปริมาณผลผลิต ทำให้เกษตรกรขาดรายได้บางช่วง ขณะที่ราคาไก่พื้นเมืองมีชีวิตมีความผันผวนต่ำ โดยราคาไก่พื้นเมืองน้ำหนัก 1.5 กิโลกรัม ประมาณ 70-120 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนราคาขายไก่เนื้อประมาณ 35-40 บาทต่อกิโลกรัม “ไก่” นับเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย มีแนวโน้มอัตราเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากปริมาณความต้องการบริโภคไก่ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในและต่างประเทศ “ไก่พื้นเมือง” หรือ “ไก่พื้นบ้าน” จึงเป็นสัตว์เศรษฐกิจสำคัญ ที่สร้างความมั่นคงทางอาหารให้ชุมชนและท้องถิ่นมาโดยตลอด โดยครัวเรือนส่วนใหญ่จะเลี้ยงไก่พื้นเมืองไว้เนื่องจากใช้เงินทุนน้อย ดูแลจัดการง่าย ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและทนต่อการเป็นโรคได้ดี ซึ่งการเลี้ยงไก่ไว้ทำให้ครัวเรือนมีความคล่องตัวในการขายหรือนำมาประกอบอาหารตามจังหวะโอกาสที่เหมาะสม ดังนั้น หากส่งเสริมให้มีการเลี้ยงไก่พื้นเมือง จะช่วยให้เกษตรกรภาคใต้มีรายได้ตลอดปี เพราะไก่พื้นเมือ
วันที่ 31 กรกฎาคม 2566 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมโดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ พร้อมด้วย คณะผู้ทรงคุณวุฒิจาก วช. ลงพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อเยี่ยมชมผลสำเร็จของการดำเนินงาน โครงการวิจัย เรื่อง “การประยุกต์ใช้ธนาคารปูม้าเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรชายฝั่งและยกระดับรายได้ให้กับชาวประมงในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชและสุราษฎร์ธานี”ที่ วช.ให้การสนับสนุนทุนวิจัยโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร. อมรศักดิ์ สวัสดี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ หัวหน้าโครงการวิจัยฯและนายคนอง อินทรัตน์ รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลวัง นายภานุวัฒน์ อินสุวรรณ รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลวัง นายชัยชนะ ทิพย์มณี ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 3 ตำบลวัง นายปิยะ แซ่เอีย ประธานธนาคารปูม้าบ้านหาดสมบูรณ์ และชาวบ้านในพื้นที่ ให้การต้อนรับ ณ ตำบลวัง อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า ปูม้าเป็นทรัพยากรทางทะเลที่มีค่าทางเศรษฐกิจของไทย แต่ด้วยปัจจัยผลกระทบหลายอย่าง ส่งผลให้ปูม้าลดจำนวนลงเรื่อย ๆ เช่น ปัญหาสิ่งแวดล
ทีมนักวิจัยของศูนย์ความเป็นเลิศด้านไม้และวัสดุชีวภาพ มหาวิยาลัยวลัยลักษณ์ ค้นพบกระบวนการ Pre-treatment เพื่อการอบไม้ปาล์มน้ำมันได้อย่างรวดเร็วโดยไม่แตกและไม่ยุบตัว ช่วยแก้ปัญหาการอบไม้ปาล์มน้ำมันที่มีมานานในอุตสาหกรรมกว่า 20 ปี สำเร็จเป็นครั้งแรกของโลก พร้อมยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญาแล้วใน 3 ประเทศ รองศาสตราจารย์ ดร.นิรันดร มาแทน หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านไม้และวัสดุชีวภาพ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (มวล.) เปิดเผยว่า ปาล์มน้ำมัน เป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจของไทย มีพื้นที่ปลูกส่วนใหญ่ในภาคใต้ซึ่งคิดเป็น 4 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ปลูกทั่วโลก ในแต่ละปีประเทศไทยจะมีต้นปาล์มน้ำมันอายุมากที่ต้องกำจัดทิ้งในปริมาณมาก สูงถึง 4 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นมูลค่าไม้แปรรูปอบแห้งเบื้องต้นประมาณ 30,000 ล้านบาทต่อปี ทั้งนี้ ยังไม่นับรวมเศษต้นปาล์มน้ำมันอีกจำนวนมากที่เหลือทิ้งในประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย ด้วยวิธีการแปรรูปอบแห้งไม้ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในโรงงานอุตสาหกรรม ไม้ปาล์มน้ำมันจะเกิดความเสียหาย เนื่องจากการยุบตัวอย่างรุนแรงในระหว่างการอบ โดยมีสัดส่วนการแปรรูปแค่ 20-30 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น อีกทั้งใช้ระยะเวลาและพลัง
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้ความสำคัญกับการนำองค์ความรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีรวมถึงงานวิจัยและนวัตกรรม ไปช่วยแก้ไขปัญหาให้กับผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อให้สามารถลดต้นทุนและแข่งขันได้ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ อย่างเช่น ในอุตสาหกรรมไม้ยางพาราแปรรูป ที่ รองศาสตราจารย์ ดร.นิรันดร มาแทน และคณะ จากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้มีการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ที่เรียกว่า “ImPregWooD” ระบบควบคุมความเข้มข้นน้ำยาอัดไม้แปรรูปอุตสาหกรรม ซึ่งช่วยให้ผู้ประกอบการโรงงานไม้ยางพาราแปรรูปสามารถลดการใช้สารเคมีได้กว่า 1.4 ล้านบาท ต่อปี โดยผลงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ การพัฒนาระบบออกแบบรูปแบบการเลื่อย ระบบควบคุมการอัดน้ำยา ระบบควบคุมการอบ และเตาอบไม้ต้นแบบ สำหรับการผลิตไม้ยางพาราแปรรูปในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนการทำวิจัยอย่างต่อเนื่องจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) รองศาสตราจารย์ ดร.นิรันดร มาแทน จากศูนย์ความเป็นเลิศด้านไม้และวัสดุชีวภาพ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กล่าวว่า ในกระบวนก
“ส้มโอทับทิมสยาม” ไม้ผลเศรษฐกิจสำคัญของอำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นสินค้าขายดีที่ได้รับความนิยมสูงในกลุ่มคนไทยและต่างชาติ โดยเฉพาะคนจีน ที่ชื่นชอบส้มโอจากประเทศไทยมากเป็นพิเศษ เนื่องจากส้มโอทับทิมสยาม มีเนื้อแดง รสหวานฉ่ำ อร่อย น่ารับประทาน แถมยังเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพที่มีสรรพคุณทางยา มีวิตามินซีสูง สาวจีนจึงนิยมรับประทานเพื่อควบคุมน้ำหนัก ดังนั้น ส้มโอทับทิมสยาม จึงมีโอกาสส่งออกไปขายในประเทศจีนเพิ่มขึ้นทุกปี ในปี 2561 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้สนับสนุนทุนกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยภายใต้โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยและนวัตกรรมสู่กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่เพื่อการใช้ประโยชน์โดยเครือข่ายวิจัยภูมิภาค ประจำปีงบประมาณ 2560 ให้กับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (มวล.) ให้ดำเนินโครงการพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรแม่นยำสำหรับสวนส้มโอทับทิมสยาม ที่อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อจัดการองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการสวนส้มโอทับทิมสยามและจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับองค์ความรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมายในระดับผู้นำในพื้นที่ รศ.ดร. กฤษณะเดช เจริญสุธาสินี และ รศ.ดร. มัลลิกา เจริญสุธาสินี แ
การใช้ชีวิตในศตวรรษที่ 21 ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ มากมาย ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยีการสื่อสาร ฯลฯ ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ดังนั้น ทักษะการเรียนรู้นวัตกรรม ทักษะสารสนเทศ สื่อ เทคโนโลยี ทักษะชีวิตและอาชีพ จึงกลายเป็นประเด็นสำคัญของการใช้ชีวิตและทำงานในศตวรรษที่ 21 ที่ทุกคนจำเป็นต้องมีติดตัวเพื่อความอยู่รอด UCC Network สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เล็งเห็นปัญหาที่เกิดขึ้น จึงสร้าง “UCC Network” ศูนย์กลางกระจายเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยร่วมมือกับเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษา 9 แห่ง ดำเนินโครงการ Innovation Hubs เพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานนวัตกรรมของประเทศ ตอบโจทย์ Thailand 4.0 ของรัฐบาล โดยมุ่งสร้างงานวิจัยให้เป็นระบบที่เข้มแข็ง ทั้งโครงสร้างการจัดการ และกำลังคน เกิดการบูรณาการนวัตกรรมงานวิจัย ต่อยอดต้นทุนเดิม (ภูมิปัญญาชาวบ้าน ทรัพยากรธรรมชาติ) สู่เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์เกิดเป็นนวัตกรรมสินค้าหรือบริการ ที่สร้างรายได้ต่อชุมชนท้องถิ่น สร้างวิสาหกิจเพื่อสังคม ตอบโจทย์รายได้ทางธุรกิจ ควบคู่กับการรับใช้ช