มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
วันนี้ (25 กุมภาพันธ์ 2565) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นำสื่อมวลชน ลงพื้นที่ วิสาหกิจชุมชน อำเภอรัตภูมิ และอำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา ดูความสำเร็จโครงการวิจัย “การพัฒนาชุมชนเพาะเลี้ยงชันโรงสู่การเป็นชุมชนนวัตกรรมอย่างยั่งยืนจังหวัดสงขลา” เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งชันโรง การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ การตลาด ตลอดจนผลักดันจากอาชีพเสริมสู่อาชีพหลัก สร้างรายได้มั่นคง ผศ.ดร.ปกรณ์ ลิ้มโยธิน คณบดีคณะรัฐศาสตร์ ในฐานะผู้อำนวยการแผนโครงการฯ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ มีองค์ความรู้ด้านการเลี้ยงผึ้งชันโรงอยู่แล้ว ผนวกกับความอุดมสมบูรณ์ของป่าชายเลนในพื้นที่ต่างๆ จากการทำงานวิจัย จึงได้นำองค์ความรู้ที่เรามีมาถ่ายทอดแก่เกษตรกร ตั้งแต่การเริ่มต้นเลี้ยง การเก็บผลผลิต การสร้างผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ชุมชนสามารถสร้างอาชีพและรายได้ พร้อมผลักดันให้จังหวัดสงขลาเป็นเมืองแห่งชันโรง โดยพยายามจะลดความเหลื่อมล้ำของสังคมเมืองและสังคมชนบทให้ได้ ผศ.ดร.นุกูล ชิ้นฟัก ผู้ช่วยคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ในฐานะหัวหน้าโครงการย่อย เล่าว่า จากความสำเร็จ ภายใต้โครงการกา
เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นำสื่อมวลชน ลงพื้นที่ ตำบลชะแล้ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ดูผลสำเร็จโครงการ “การจัดการความรู้ข้อเสนอเชิงนโยบายสู่การปฏิบัติในการฟื้นฟูการปลูกป่าชายเลนในบริเวณลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาแบบประชารัฐ” ของนักวิจัย มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ช่วยชุมชนดำรงชีวิตและประกอบอาชีพ โดยพึ่งพิงธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน ผศ.ดร.นุกูล ชิ้นฟัก ผู้ช่วยคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ในฐานะหัวหน้าโครงการ เล่าว่า ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา มีขนาดครอบคลุมพื้นที่กว่า 3 จังหวัด ได้แก่ สงขลา พัทลุง และนครศรีธรรมราช ครอบคลุมพื้นที่ 8,729 ตารางกิโลเมตร โดยแบ่งเป็นทะเลสาบ พื้นที่ 1,042 ตารางกิโลเมตร ถือเป็นแหล่งต้นน้ำของลุ่มน้ำแห่งเดียวของประเทศไทยที่มีระบบนิเวศลักษณะเฉพาะตัวแบบ 3 น้ำ คือ น้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม จึงอุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์น้ำและความหลากหลายทางชีวภาพสูง แต่เนื่องจากการเติบโตและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคมโลกในปัจจุบัน ทะเลสาบสงขลาจึงถูกคุกคามอย่างรุนแรง มีการใช้ประโยชน์โดยไม่คำนึงถึงความยั่งยืน นักวิ
วันที่ 15 ตุลาคม 2564 ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ส่งมอบแพลตฟอร์มการจัดการโลจิสติกส์ท่องเที่ยว “มาตะ เมืองลุง” ผลงานจากการจัดการความรู้การจัดการโลจิสติกส์ท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนท่องเที่ยวจังหวัดพัทลุงเพื่อการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน แก่นายกู้เกียรติ วงศ์กระพันธุ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ZOOM Cloud Meeting ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ได้วางเป้าหมายการวิจัยและพัฒนา ให้ตอบโจทย์ตามแผนพัฒนาประเทศที่ตอบโจทย์ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และเพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจ วช. ใช้องค์ความรู้จากงานวิจัย เป็นเครื่องมือสนับสนุนเศรษฐกิจได้เดินหน้า ไปสู่ “นวัตกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจ” โดยมีหลักคิด คือ เปลี่ยนจากการผลิตสินค้า ไปสู่ “นวัตกรรม” เปลี่ยนจากภาคอุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และ เปลี่ยนจากภาคการผลิตสินค้า ไปสู่การเน้นภาคบริการมากขึ้น ซึ่งแพลตฟอร์มการจัดการโลจิสตกิส์ท่องเที่ยว “มาตะ เมืองลุง” เป็นผลงานของโครงการเรื่อง “การจัดการความรู้การจัดการโลจิสต