มะขามเปรี้ยวยักษ์
มะขาม เป็นไม้ยืนต้นที่มีขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ เปลือกต้นขรุขระ มีสีน้ำตาล ใบมีขนาดเล็ก ออกตามกิ่งก้านเป็นคู่ ดอก ออกตามปลายกิ่ง มีขนาดเล็ก ผลของมะขาม หรือทุกคนรู้จักกันดี คือ ฝัก ที่มีลักษณะยาวหรือโค้งยาว ประมาณ 3-20 เซนติเมตร ด้านการขยายพันธุ์ของมะขาม จะนิยมทาบกิ่ง ติดตา หรือต่อกิ่ง เพื่อให้ผลผลิตที่ได้ไม่เกิดการกลายพันธุ์ มีคุณสมบัติเหมือนต้นแม่ทุกประการ และที่สำคัญต้นมะขามสามารถเจริญเติบโตได้ดีกับดินทุกชนิด แม้สภาพดินบริเวณนั้นจะไม่มีความอุดมสมบูรณ์ ด้านคติความเชื่อ ถือว่ามะขามเป็นไม้มงคล ควรปลูกทางทิศตะวันตกของบ้าน เพื่อป้องกันสิ่งไม่ดี ทั้งนี้ ต้นมะขามยังถือว่ามีชื่อที่เป็นมงคลนาม โดยเชื่อกันว่าเมื่อปลูกไว้ที่บ้านแล้วจะทำให้คนเกรงขาม นอกจากนี้ มะขาม ยังใช้ทำอาหารได้หลายส่วน ทั้งใบอ่อน ฝักอ่อน ฝักแก่ เรียกง่ายๆ ว่าอาหารไทยก็จะขาดมะขามเสียไม่ได้ ส่วนเมล็ดก็สามารถนำมาคั่วกินกันแทบฟันหักเลยทีเดียว ซึ่งสมัยผู้เขียนเป็นเด็ก จะให้ยายคั่วแล้วพกไปโรงเรียนเป็นของขบเคี้ยวเพลินๆ เพื่อกินเล่นกับเพื่อนๆ ปัจจุบัน มะขาม ในบ้านเราได้นำมาแปรรูปมากมายหลากหลาย เช่น มะขามแช่อิ่ม มะขามแก้ว มะขามคลุก ฯลฯ
ความเปรี้ยวที่เป็นจุดเด่นของมะขามถูกนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆ นานา ทั้งด้านการปรุงอาหาร เป็นยาสมุนไพร เป็นเครื่องดื่ม หรือล่าสุดได้รับความนิยมมากในวงการความงาม ด้วยเหตุนี้มะขามเปรี้ยวจึงถูกมองว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่ซุ่มเงียบอีกชนิดที่มีความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศเป็นอย่างมาก มะขามเปรี้ยว จัดเป็นไม้พื้นถิ่นที่เกิดและเติบโตได้ในทุกสถานที่ เจริญเติบโตได้เกือบทุกสภาพดิน เป็นไม้ผลที่ขึ้นง่ายไม่ต้องดูแลมาก มีความทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศ เนื้อไม้แข็งแรงจนมีการนำมาใช้ทำเป็นเขียง ฉะนั้น ไม่ว่าภูมิภาคใดของประเทศก็สามารถปลูกมะขามเปรี้ยวได้ จึงทำให้ชาวบ้านหันมาปลูกมะขามเปรี้ยวกันเพิ่มขึ้น ส่วนพันธุ์มะขามเปรี้ยวเดิมๆ ที่คุ้นเคยกัน มี 2 ชนิด ได้แก่ มะขามขี้แมว ที่มีเปลือกค่อนข้างหนา เมล็ดมีขนาดใหญ่ ทรงกลม เนื้อผลมีน้อย มีปริมาณเนื้อประมาณ 25-30 เปอร์เซ็นต์ จากทั้งฝัก ซึ่งพันธุ์นี้พบมากในภาคอีสาน กับอีกชนิด มะขามกระดาน เป็นพันธุ์ที่พบมากในภาคใต้ ภาคกลาง และภาคตะวันออก มีเนื้อหนาและมาก มีปริมาณเนื้อประมาณ 40-45 เปอร์เซ็นต์ จากฝักทั้งหมด ดังนั้น ในปัจจุบันมะขามเปรี้ยวพันธุ์นี้จึงได้รับความนิยมปลูกกัน
นางอัญชนา ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดน่าน ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวเหนียวนาปี และลำไย ซึ่งแนวทางบริหารจัดการพื้นที่ตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map) พบว่า ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีพื้นที่เหมาะสมมาก (S1) และ เหมาะสมปานกลาง (S2) สำหรับการผลิต จำนวน 60,764 ไร่ และพื้นที่เหมาะสมน้อย (S3) และไม่เหมาะสม (N) จำนวน 460,069 ไร่ ข้าวเหนียวนาปี พื้นที่เหมาะสมมากและเหมาะสมปานกลาง จำนวน 97,624 ไร่ พื้นที่เหมาะสมน้อย และไม่เหมาะสม จำนวน 99,832 ไร่ และลำไย พื้นที่เหมาะสมมากและเหมาะสมปานกลาง จำนวน 24,236 ไร่ ในขณะที่พื้นที่เหมาะสมน้อย และไม่เหมาะสม จำนวน 22,406 ไร่ สำหรับพื้นที่เหมาะสมมาก และเหมาะสมปานกลาง ทางจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมส่งเสริมและพัฒนาโดยมุ่งเน้นให้เกษตรกรเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เพิ่มผลผลิตต่อไร่ ลดต้นทุนการผลิตด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ยกระดับคุณภาพสินค้าสู่มาตรฐาน ควบคู่กับการสร้างกลุ่มที่เข้มแข็งและพัฒนาระบบการบริหารจัดการกลุ่มที่มีประสิทธิภาพ ในขณะที่การผลิตในพื้นที่เ
นางสาวทัศนีย์ เมืองแก้ว รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่าจากการวิเคราะห์เศรษฐกิจสินค้าเกษตรพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู ตามโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning by Agri – Map) พบว่า ปีเพาะปลูก 2560/61 จังหวัด หนองบัวลำภู มีพื้นที่ปลูกข้าวจำนวน 647,685 ไร่ โดยเป็นพื้นที่เหมาะสมมาก (S1) จำนวน 2,436 ไร่ เหมาะสมปานกลาง (S2) จำนวน 356,239 ไร่ และพื้นที่เหมาะสมน้อย (S3) จำนวน 125,084 ไร่ และไม่เหมาะสม (N) จำนวน 163,926 ไร่ สำหรับต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตข้าวในพื้นที่เหมาะสมน้อยและไม่เหมาะสม (S3/N) จังหวัด หนองบัวลำภู พบว่า เกษตรกรมีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 4,469 บาท/ไร่ ขาดทุนสุทธิเฉลี่ย 1,004 บาท/ไร่ และจากการวิเคราะห์การผลิตสินค้าเกษตรทางเลือกอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการผลิตข้าวในพื้นที่ไม่เหมาะสม พบว่า มะขามเปรี้ยวเป็นอีกหนึ่งสินค้าเกษตรทางเลือกที่น่าสนใจ ซึ่งพันธุ์ที่เป็นที่นิยมปลูก คือ มะขามเปรี้ยวพันธุ์ฝักยักษ์ หรือ มะขามเปรี้ยวยักษ์ พื้นที่ปลูกส่วนใหญ่อยู่ในอำเภอนาวัง อำเภอศรีบุญเรือง และอำเภอนากลาง โดยการผลิตมะขามเปรี้ยวยักษ์ในรูป
ความเปรี้ยวที่เป็นจุดเด่นของมะขามถูกนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆ นานา ทั้งด้านการปรุงอาหาร เป็นยาสมุนไพร เป็นเครื่องดื่ม หรือล่าสุดได้รับความนิยมมากในวงการความงาม ด้วยเหตุนี้มะขามเปรี้ยวจึงถูกมองว่าเป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดที่มีความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศเป็นอย่างมาก “มะขามเปรี้ยว” จัดเป็นไม้พื้นถิ่นที่เกิดและเติบโตได้ในทุกสถานที่ เจริญเติบโตได้เกือบทุกสภาพดิน เป็นไม้ผลที่ขึ้นง่าย ไม่ต้องดูแลมาก มีความทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศ เนื้อไม้แข็งแรงจนมีการนำมาใช้ทำเป็นเขียง หรือใช้ไม้ในการทำเฟอร์นิเจอร์ หรือปลูกสร้างบ้านเรือน ทุกพื้นที่ของประเทศก็สามารถปลูกมะขามเปรี้ยวได้ จึงทำให้ชาวบ้านหันมาปลูกมะขามเปรี้ยวกันเพิ่มขึ้น ทั้งที่ปลูกไว้ตามบ้าน หัวไร่ปลายนา หรือแม้แต่ปลูกเป็นสวนเชิงการค้า ผลผลิตของมะขามเปรี้ยวสามารถเก็บขายได้หลายแบบหลายช่วง เช่น เก็บยอดอ่อน เก็บมะขามฝักเปรี้ยวได้รับความนิยมปลูกกันมากขึ้น โดยพันธุ์ที่ได้รับความสนใจแล้วกำลังมาแรง คือ “มะขามเปรี้ยวยักษ์” อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นคือ มะขามเปรี้ยว เป็นพืชที่สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง มีการใช้ประโยชน์ตั้งแต่ยอดอ่อนจนถึงฝักแก่ ส่วนข